เมนู

อาโปปุปผิยเถราปทานที่ 2 (62)

2

ว่าด้วยผลแห่งการโปรยดอกไม้บูชา


[64] พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี เสด็จออกจากวิหาร
แล้วขึ้นไปในที่จงกรม ทรงประกาศสัจจะ 4 ทรงแสดง
อมฤตบท ณ ที่จงกรมนั้น.

ข้าพระองค์รู้ (ได้ฟัง) พระสุรเสียงของพระพุทธเจ้า ผู้
ประเสริฐสุด พระนามว่าสิขี ผู้คงที่แล้ว จับดอกไม้ต่าง ๆ
โยนขึ้นไปในอากาศ.

ข้าแด่พระองค์ผู้เป็นจอมสัตว์ เชษฐบุรุษของโลก ผู้นราสภ
ด้วยกรรมนั้น ข้าพระองค์ผู้ละความชนะและแพ้แล้ว ได้
บรรลุถึงฐานะอันไม่ไหวหวั่น.

ในกัปที่ 3 แต่กัปนี้ ข้าพระองค์โปรยดอกไม้ใด ด้วย
กรรมนั้น ข้าพระองค์ไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชา
ด้วยดอกไม้ ในกัปที่ 20 แต่กัปนี้ ได้เป็นกษัตริย์พระนามว่า
สุเมธะ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ 7 ประการ
ทรงมีพละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทา 4 วิโมกข์ 8 และ
อภิญญา 6 ข้าพระองค์ทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระ-
พุทธเจ้า ข้าพระองค์ได้ทำเสร็จแล้ว
ดังนี้.
ทราบว่า ท่านพระอาโปปุปผิยเถระได้กล่าวคาถาเหล่านั้น ด้วยประการ
ฉะนี้แล.
จบอาโปปุปผิยเถราปทาน
1. อรรถกถาว่า อโวปุปผิยเถราปทาน.

62. อรรถกถาอโวปุปผิยเถราปทาน

1

อปทานของท่านพระอโวปุปผิยเถระ มีคำเริ่มต้นว่า วิหารา อภินิกฺ-
ขมฺม
ดังนี้.
พระเถระแม้นี้ ผู้ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าพระองค์
ก่อนๆ สั่งสมบุญอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพานในภพนั้น ๆ ในกาลแห่ง
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิขี บังเกิดในเรือนมีตระกูล บรรลุเดียงสา
แล้วเพียบพร้อมด้วยศรัทธา ฟังพระธรรมเกิดความเลื่อมใส ถือเอาดอกไม้
ต่างๆ ด้วยมือทั้งสอง เกลี่ยไว้เบื้องบนพระพุทธเจ้า.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
เสวยสวรรค์สมบัติและจักรพรรดิสมบัติ อันเขาบูชาในที่ทุกสถาน ใน
พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วเลื่อมใส
ในพระศาสนา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์. ชื่อว่า อากาศ
เพราะอรรถว่า ว่างเปล่าคือโล่งแจ้งไปโดยรอบ. เพราะท่านได้โปรยดอกไม้
บนอากาศนั้น ท่านจึงปรากฏนามว่า อโวปุปผิยเถระ ดังนี้.
ท่านบรรลุสันติบทอย่างนี้แล้ว ระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิด
โสมนัส เมื่อจะประกาศปุพพริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิหาร-
อภินิกฺขมฺม
ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิหารา ความว่า ชื่อว่า วิหาร เพราะ
เป็นที่นำมาโดยพิเศษ คือเป็นที่นำมา ได้แก่ยังอัตภาพอันไม่ตกไปให้
เป็นไปด้วยอิริยาบถ 4 ในวิหารนั้น. ออกจากวิหารนั้นโดยพิเศษยิ่ง. บทว่า
อพฺภุฏฐาสิ จ จงฺกเม ความว่า ได้ยืน คือขึ้นไปในที่จงกรม เพื่อจะจงกรม
โดยพิเศษ. บทว่า จตุสจฺจํ ปกาเสนฺโต เชื่อมความว่า เมื่อกำลังจงกรม
1. บาลี อาโปปุปผิยเถรปาทาน.