เมนู

พระธรรมกถึกนั้น ได้เป็นผู้มีความเห็นอาบัตินั้นว่ามิใช่อาบัติ.
ฝ่ายพระวินัยธร ได้บอกแก่พวกนิสิตของตนว่า "พระธรรมกถึก
รูปนี้ แต่ต้องอาบัติก็ไม่รู้." พวกนิสิตพระวินัยธรนั้น เห็นพวกนิสิต
ของพระธรรมกถึกนั้นแล้ว ได้กล่าวว่า "พระอุปัชฌาย์ของพวกท่าน
แม้ต้องอาบัติแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ." พวกนิสิตของพระธรรมกถึกนั้น
ไปแจ้งแก่พระอุปัชฌาย์ของตนแล้ว. พระธรรมกถึกนั้น พูดอย่างนี้ว่า
"พระวินัยธรรูปนี้ เมื่อก่อนพูดว่า 'ไม่เป็นอาบัติ,' เดี๋ยวนี้พูดว่า
' เป็นอาบัติ,' พระวินัยธรนั้น พูดมุสา;" พวกนิสิตของพระธรรมกถึก
นั้นไปกล่าวว่า "พระอุปัชฌาย์ของพวกท่าน พูดมุสา." พวกนิสิตของ
พระวินัยธรและพระธรรมกถึกนั้น ทำความทะเลาะกันและกันให้เจริญ
แล้ว ด้วยประการอย่างนี้.
ภายหลัง พระวินัยธรได้โอกาสแล้ว จึงได้ทำอุกเขปนียกรรมแก่1
พระธรรมกถึก เพราะโทษที่ไม่เห็นอาบัติ. จำเดิมแต่กาลนั้น แม้พวก
อุปัฏฐากผู้ถวายปัจจัยของภิกษุ 2 รูปนั้น ก็ได้เป็น 2 ฝ่าย. พวก
ภิกษุณีผู้รับโอวาทก็ดี พวกอารักขเทวดาก็ดี2 ของภิกษุ 2 รูปนั้น พวก
อากาสัฏฐเทวดา3 ผู้เพื่อนเห็น เพื่อนคบ ของพวกอารักขเทวดาเหล่านั้น
ก็ดี พวกปุถุชนทั้งปวงก็ดี ได้เป็น 2 ฝ่าย ตลอดจนพรหมโลกก็โกลาหล
กึกก้องเป็นเสียงเดียว ได้ขึ้นไปจนถึงอกนิฏฐภพ.

พระศาสดาตรัสสอนให้สามัคคีกัน


ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระตถาคตเจ้า กราบทูลการ
1. กรรมที่สงฆ์จะพึงทำแก่ภิกษุที่สงฆ์สมควรจะยกเสีย. 2. เทวดาผู้คุ้มครองรักษา 3. เทวดา
ผู้สถิตอยู่ในอากาศ.

ที่พวกภิกษุผู้ยกวัตรถือว่า1 "พระธรรมถึกรูปนี้ สงฆ์ยกเสียแล้วด้วยกรรม
ที่ประกอบด้วยธรรมแท้," และการที่พวกภิกษุผู้ประพฤติตามพระธรรม-
กถึกผู้ที่สงฆ์ยกเสียแล้วถือว่า "พระอุปัชฌาย์ของพวกเรา สงฆ์ยกเสียแล้ว
ด้วยกรรมซึ่งมิได้ประกอบด้วยธรรม," และการที่พวกภิกษุผู้ประพฤติตาม
พระธรรมกถึก ผู้ที่สงฆ์ยกวัตรเหล่านั้น แม้อันพวกภิกษุผู้ยกวัตรห้ามอยู่
ก็ยังขืนเที่ยวตามห้อมล้อมพระธรรมกถึกนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
ส่งโอวาทไปว่า "นัยว่า ภิกษุทั้งหลายจงพร้อมเพรียงกัน" ถึง 2 ครั้ง
ทรงสดับว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาจะเป็นผู้
พร้อมเพรียงกัน," ครั้นหนที่ 3 ทรงสดับว่า "ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว
ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว" ดังนี้ จึงเสด็จไปสู่สำนักของเธอทั้งหลายแล้ว
ตรัสโทษในการยกวัตรของพวกภิกษุผู้ยกวัตร และโทษในการไม่เห็น
อาบัติของพวกภิกษุนอกนี้แล้ว ทรงอนุญาตสังฆกรรมทั้งหลายมีอุโบสถ
เป็นต้น ในสีมาเดียวกันที่โฆสิตารามนั่นเอง แก่เธอทั้งหลายอีกแล้ว
ทรงบัญญัติวัตรในโรงฉันว่า "ภิกษุทั้งหลาย พึงนั่งในแถวมีอาสนะหนึ่ง ๆ
ในระหว่าง2 ๆ" ดังนี้เป็นต้น แก่เธอทั้งหลาย ผู้เกิดการแตกร้าวใน
สถานที่ทั้งหลาย มีโรงฉันเป็นต้น แล้วทรงสดับว่า "ถึงเดี๋ยว นี้ ภิกษุ
ทั้งหลาย ก็ยังเกิดการแตกร้าวกันอยู่" จึงเสด็จไปที่โฆสิตารามนั้นแล้ว
ตรัสห้ามว่า "อย่าเลย ภิกษุทั้งหลาย พวกท่านอย่าได้ทำการแตกร้าวกัน"
ดังนี้เป็นต้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการแตกร้าว การ
ทะเลาะ การแก่งแย่งและการวิวาทนั่น ทำความฉิบทายให้. แท้จริง

1. ลทฺธึ. 2. ได้แก่นั่งเป็นแถว เว้นช่องว่างไว้ให้ภิกษุอื่นเข้าแทรกนั่งได้รูปหนึ่ง ๆใน
ระหว่าง.

แม้นางนกลฏุกิกา1 อาศัยการทะเลาะกัน ยังอาจทำพระยาช้างให้ถึงความ
สิ้นชีวิต" ดังนี้แล้ว ตรัสลฏุกิกชาดก2แล้ว ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย
ขอพวกท่านจงพร้อมเพรียงกันเถิด อย่าวิวาทกันเลย, เพราะว่า แม้นก
กระจาบดังหลายพัน อาศัยความวิวาทกัน ได้ถึงความสิ้นชีวิต" ดังนี้แล้ว
ตรัสวัฏฏกชาดก.3

ตรัสสอนเท่าไรก็ไม่เชื่อ


แม้อย่างนี้ พวกภิกษุนั้นก็ไม่เธอถือถ้อยคำ, เมื่อภิกษุผู้เป็น
ธรรมวาทีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่พอใจให้พระตถาคตเจ้าทรงลำบาก กราบ
ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เจ้าของแห่งธรรม
ทรงรอก่อน, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีความ
ขวนขวายน้อย หมั่นประกอบธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่เถิด;
พวกข้าพระองค์จักปรากฏ เพราะการแตกร้าว การทะเลาะ การแก่งแย่ง
และการวิวาทนั่นเอง; พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าถึงความที่พระเจ้าทีฆีติ-
โกศลราช ถูกพระเจ้าพรหมทัต ชิงเอาราชสมบัติ ปลอมเพศไม่ให้ใคร
รู้จัก เสด็จอยู่ (ในเมืองพาราณสี) ถูกจับปลงพระชนม์เสีย และความ
ที่พระเจ้าพรหมทัต และทีฆาวุกุมารเหล่านั้นพร้อมเพรียงกัน จำเดิมแต่
เมื่อทีฆาวุกุมารยกพระชนม์ของพระองค์ถวายว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้
ได้เคยมีแล้ว ในเมืองพาราณสี ได้มีพระเจ้ากรุงกาสี (พระองค์หนึ่ง)
ทรงพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัต" ดังนี้เป็นต้น แม้ตรัสสอนว่า "ภิกษุ

1. นกไส้. 2. ขุ. ชา. ปัญจก. 27/170. อรรถกถา. 4/446. 3. ขุ ชา. เอก. 27/38.
อรรถกถา. 2/297.