เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิ เวเรน เป็นต้น ความว่า
เหมือนอย่างว่า บุคคล แม้เมื่อล้างที่ซึ่งเปื้อนแล้วด้วยของไม่สะอาดมี
น้ำลายและน้ำมูกเป็นต้น ด้วยของไม่สะอาดเหล่านั้นแล ย่อมไม่อาจทำ
ให้เป็นที่หมดจด หายกลิ่นเหม็นได้, โดยที่แท้ ที่นั้นกลับเป็นที่ไม่หมด
จดและมีกลิ่นเหม็นยิ่งกว่าเก่าอีก ฉันใด. บุคคลเมื่อด่าตอบชนผู้ด่าอยู่
ประหารตอบชนผู้ประหารอยู่ ย่อมไม่อาจยังเวรให้ระงับด้วยเวรได้, โดย
ที่แท้ เขาชื่อว่าทำเวรนั่นเองให้ยิ่งขึ้น ฉันนั้นนั่นเทียว. แม้ในกาลไหน ๆ
ขึ้นชื่อว่าเวรทั้งหลาย ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวร, โดยที่แท้ ชื่อว่าย่อม
เจริญอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้.
สองบทว่า อเวเรน จ สมฺมนฺติ ความว่า เหมือนอย่างว่าของ
ไม่สะอาด มีน้ำลายเป็นต้นเหล่านั้น อันบุคคลล้างด้วยน้ำที่ใสย่อมหาย
หมดได้, ที่นั้นย่อมเป็นที่หมดจด ไม่มีกลิ่นเหม็น ฉันใด, เวรทั้งหลาย
ย่อมระงับ คือย่อมสงบ ได้แก่ ย่อมถึงความไม่มีด้วยความไม่มีเวร
คือด้วยน้ำคือขันติและเมตตา ด้วยการทำไว้ในใจโดยแยบคาย [และ]
ด้วยการพิจารณา ฉันนั้นนั่นเทียว.
บาทพระคาถาว่า เอส ธมฺโม สนฺนตโน ความว่า ธรรมนี้
คือที่นับว่า ความสงบเวร ด้วยความไม่มีเวร เป็นของเก่า คือเป็น
มรรคาแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพทั้งหลาย
ทุก ๆ พระองค์ ดำเนินไปแล้ว.
ในกาลจบพระคาถา นางยักษิณีนั้น ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล
แล้ว. เทศนาได้เป็นกถามีประโยชน์ แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว.