เมนู

บวช 7 ครั้ง." พระศาสดาทรงสดับประวัติกถาของภิกษุเหล่านั้น จึง
เสด็จไปสู่ธรรมสภา ด้วยการไปอันสมควรแก่ขณะนั้น ประทับบนพุทธ-
อาสน์แล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมกัน ด้วยถ้อย
คำอะไรหนอ ? " เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยเรื่องชื่อนี้ " แล้ว
จึงตรัสว่า " อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสทั้งหลาย
ย่อมเป็นสภาพหยาบ, ถ้ากิเลสเหล่านี้ มีรูปร่าง อันใคร ๆ พึงสามารถ
จะเก็บไว้ได้ในที่บางแห่ง, จักรวาลก็แคบเกินไป, พรหมโลกก็ต่ำ
เกินไป, โอกาสของกิเลสเหล่านั้นไม่พึงมี (บรรจุ) เลย, อันกิเลส
เหล่านี้ ย่อมทำบุรุษอาชาไนยที่ถึงพร้อมด้วยปัญญา แม้เช่นกับเราให้มัว
หมองได้ จะกล่าวอะไรในเหล่าชนที่เหลือ; จริงอยู่ เราเคยอาศัยข้าวฟ่าง
และลูกเดือยเพียงครึ่งทะนาน และจอบเหี้ยน บวชสึกแล้ว 6 ครั้ง."
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลถามว่า " ในกาลไร ? พระเจ้าข้า."
พระศาสดาตรัสว่า " จักฟังหรือ ? ภิกษุทั้งหลาย."
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า."
พระศาสดาตรัสว่า " ถ้ากระนั้น พวกเธอจงฟัง" ดังนี้แล้วทรง
นำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า) :-

เรื่องบัณฑิตจอบเหี้ยน


ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี
บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อกุททาลบัณฑิต บวชเป็นนักบวชภายนอกอยู่ในป่าหิมวันต์
8 เดือน เมื่อภูมิภาคชุ่มชื้น ในสมัยที่ฝนตกชุก1คิดว่า " ในเรือนของเรา

1. วสฺสารตฺตสมเย.

ยังมีข้าวฟ่างและลูกเดือยประมาณครึ่งทะนาน และจอบเหี้ยน (อีกอัน
หนึ่ง), พืชคือข้าวฟ่างและลูกเดือยอย่าเสียไป" จึงสึกเอาจอบเหี้ยนฟื้น
ที่แห่งหนึ่ง หว่านพืชนั้น ทำรั้วไว้ ในเวลาที่เมล็ดพืชแก่ก็เหี่ยว เก็บพืช
ไว้ประมาณทะนานหนึ่ง เคี้ยวกินพืชที่เหลือ. ท่านคิดว่า " บัดนี้ ประ-
โยชน์อะไรด้วยเรือนของเรา, เราจักบวชอีก 8 เดือน" จึงออกบวชแล้ว.
ท่านอาศัยข้าวฟ่างและลูกเดือยเพียงหนึ่งทะนานและจอบเหี้ยน เป็นคฤหัสถ์
7 ครั้ง บวช 7 ครั้ง โดยทำนองนี้แล แต่ในครั้งที่ 7 คิดว่า " เรา
อาศัยจอบเหี้ยนอันนี้ เป็นคฤหัสถ์แล้วบวชถึง 7 ครั้ง, เราจักทิ้งมันในที่
ไหน ๆ สักแห่งหนึ่ง." ท่านไปยังฝั่งแม่น้ำคงคา คิดว่า " เราเมื่อเห็น
ที่ตก คงต้องลงงมเอา; เราจักทิ้งมัน โดยอาการที่เราจะไม่เห็นที่ซึ่ง
มันตก" จึงเอาผ้าเก่าห่อพืชประมาณทะนานหนึ่ง แล้วผูกผ้าเก่าที่แผ่นจอบ
จับจอบที่ปลายด้าม ยืนที่ฝั่งแห่งแม่น้ำ หลับตาแกว่งเวียนเหนือศีรษะ
3 ครั้ง ขว้างไปในแม่น้ำคงคา หันไปดู ไม่เห็นที่ตกได้เปล่งเสียงว่า
" เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว" ดังนี้ 2 ครั้ง. ในขณะนั้น พระเจ้า
กรุงพาราณสี ทรงปราบปัจจันตชนบทให้สงบราบคาบแล้วเสด็จมา โปรด
ให้ตั้งค่ายพัก1 ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เสด็จลงสู่แม่น้ำ เพื่อทรงประสงค์จะสรง-
สนาน ได้ทรงสดับเสียงนั้น. ก็ธรรมดาว่า เสียงที่ว่า " เราชนะแล้ว
เราชนะแล้ว" ย่อมไม่พอพระหฤทัยของพระราชาทั้งหลาย. พระองค์จึง
เสด็จไปยังสำนักของกุททาลบัณฑิตนั้น ตรัสถามว่า " เราทำการย่ำยี
อมิตรมาเดี๋ยวนี้ ก็ด้วยคิดว่า ' เราชนะ' ส่วนเธอร้องว่า ' เราชนะแล้ว
เราชนะแล้ว,' นี้ชื่อเป็นอย่างไร ?" กุททาลบัณฑิต จึงทูลว่า "พระ-

1. ขนฺธาวารํ ประเทศเป็นที่กั้นด้วยท่อนไม้.

องค์ทรงชนะพวกโจรภายนอก, ความชนะที่พระองค์ทรงชนะแล้ว ย่อม
กลับเป็นไม่ชนะอีกได้แท้; ส่วนโจรคือความโลภ ซึ่งมีในภายใน อัน
ข้าพระองค์ชนะแล้ว, โจรคือความโลภนั้น จักไม่กลับชนะข้าพระองค์อีก
ชนะโจรคือความโลภนั้นอย่างเดียวเป็นดี" ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า
"ความชนะใด กลับแพ้ได้ ความชนะนั้นมิใช่
ความชนะที่ดี, (ส่วน) ความชนะใด ไม่กลับแม้
ความชนะนั้นแลเป็นความชนะที่ดี.1"

ในขณะนั้นเอง ท่านแลดูแม่น้ำคงคา ยังกสิณมีน้ำเป็นอารมณ์
ให้บังเกิด บรรลุคุณพิเศษแล้ว นั่งในอากาศโดยบัลลังก์. พระราชา
ทรงสดับธรรมกถาของพระมหาบุรุษ ไหว้แล้ว ทรงขอบวช ทรงผนวช
พร้อมกับหมู่พล. ได้มีบริษัทประมาณโยชน์หนึ่งแล้ว. แม้กษัตริย์สามันต-
ราชอื่น2 ทรงสดับความที่พระเจ้ากรุงพาราณสีนั้นผนวชแล้วเสด็จมาด้วย
ประสงค์ว่า "เราจักยึดเอาพระราชสมบัติของพระเจ้ากรุงพาราณสีนั้น"
ทรงเห็นพระนครที่มั่งคั่งอย่างนั้นว่างเปล่า จึงทรงดำริว่า " พระราชา
เมื่อทรงทิ้งพระนครเห็นปานนี้ผนวช จักไม่ทรงผนวชในฐานะอันต่ำช้า,
ถึงเราผนวชก็ควร" ดังนี้แล้ว เสด็จไปในที่นั้น เข้าไปหาพระมหาบุรุษ
ทรงขอบวช ทรงผนวชพร้อมกับบริษัทแล้ว. พระราชา 7 พระองค์
ทรงผนวชโดยทำนองเดียวกันนี้. ได้มีอาศรมตั้งแผ่ไปถึง 7 โยชน์.
พระราชา 7 พระองค์ก็ทรงทิ้งโภคะทั้งหลาย พาชนมีประมาณเท่านี้บวช

1. ขุ. ชา. เอก. 27/22. อรรถกถา. 2/113.
2. สามนฺตราชา พระราชาผู้อยู่ในเมืองใกล้เคียงกัน พระราชาโดยรอบ พระราชาใกล้เคียง.

แล้ว. พระมหาบุรุษอยู่ประพฤติพรหมจรรย์1 เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก
แล้ว.
พระศาสดา ครั้นทรงนำธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย กุททาลบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็น2เรา, ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้
เป็นสภาพหยาบอย่างนั้น."
เรื่องพระจิตตหัตถเถระ จบ.

1. ความอยู่ในพรหมจรรย์ ความอยู่เพื่อพรหมจรรย์. 2. สี. ม. ยุ. อโหสึ.

6. เรื่องภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา [29]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพวกภิกษุ
ผู้ปรารภวิปัสสนา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "กุมฺภูปมํ" เป็นต้น

ภิกษุ 500 รูปอยู่ในไพรสณฑ์


ได้ยินว่า ภิกษุ 500 รูป ในกรุงสาวัตถี เรียนกัมมัฏฐานตราบ
เท่าพระอรหัตในสำนักพระศาสดาแล้ว คิดว่า "เราจักทำสมณธรรม"
ไปสิ้นทางประมาณ 100 โยชน์ ได้ถึงบ้านตำบลใหญ่ตำบลหนึ่ง. ลำดับ
นั้น พวกมนุษย์เห็นภิกษุเหล่านั้น จึงนิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่จัดไว้
อังคาสด้วยภัตตาหารทั้งหลายมีข้าวยาคูเป็นต้นอันประณีตแล้ว เรียนถามว่า
"พวกท่านจะไปทางไหน" ขอรับ," เมื่อภิกษุเหล่านั้น กล่าวว่า " พวกเรา
จักไปสถานตามผาสุก" จึงวิงวอนว่า " นิมนต์พวกท่านอยู่ในที่นี้
ตลอด 3 เดือนนี้เถิด ขอรับ, แม้พวกกระผมก็จักตั้งอยู่ในสรณะ รักษา
ศีลในสำนักของพวกท่าน." ทราบการรับนิมนต์ของภิกษุเหล่านั้นแล้ว
จึงเรียนว่า " ในที่ไม่ไกลมีไพรสณฑ์ใหญ่มาก, นิมนต์พวกท่านพักอยู่ที่
ไพรสณฑ์นั้นเถิดขอรับ" ดังนี้แล้ว ส่งไป. ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปสู่
ไพรสณฑ์นั้นแล้ว.