เมนู

แต่ในบทว่า อนนฺวาหตเจตโส นี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า
" ผู้มีจิตอันโทสะไม่กระทบ."
บทว่า ปุญฺญปาปปหีนสฺส ความว่า ผู้ละบุญและบาปได้ด้วย
มรรคที่ 4 คือผู้สิ้นอาสวะแล้ว.
บาทพระคาถาว่า นตฺถิ ชาครโต ภยํ ความว่า ความไม่มีภัย
ดูเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้สำหรับท่านผู้สิ้นอาสวะ ตื่นอยู่แล, ก็
ท่านผู้สิ้นอาสวะนั้น ชื่อว่า ตื่นแล้ว เพราะประกอบด้ายธรรมเป็นเหตุตื่น
ทั้งหลาย มีศรัทธาเป็นอาทิ, เพราะฉะนั้น ท่านตื่นอยู่ (ตื่นนอน)
ก็ตาม ยังไม่ตื่น (ยังนอนหลับ) ก็ตาม ภัยคือกิเลสชื่อว่าย่อมไม่มี
เพราะกิเลสทั้งหลายไม่มีการหวนกลับมา, จริงอยู่ กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า
ย่อมไม่ติดตามท่าน เพราะกิเลสทั้งหลายที่ท่านละได้แล้วด้วยมรรคนั้น ๆ
ไม่มีการเข้าไปหา (ท่าน) อีก, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสว่า " กิเลสเหล่าใด อันอริยบุคคลละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค,
เธอย่อมไม่มาหา คือไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก; กิเลสเหล่าใด อันอริย-
บุคคลละได้แล้วด้วยสกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค,
เธอย่อมไม่มาหา คือไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก " ดังนี้.
เทศนาได้มีประโยชน์ มีผล แก่มหาชนแล้ว.

กิเลสทำผู้มีอุปนิสัยแห่งพระอรหัตให้เศร้าหมองได้


ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย
ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้ หยาบนัก, กุลบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระ-
อรหัตเห็นปานนี้ ยังถูกกิเลสให้มัวหมองได้ (ต้อง) เป็นคฤหัสถ์ 7 ครั้ง