เมนู

ฉะนั้น, ควรเผาสังโยชน์เหล่านั้นด้วยไฟคือญาณเสียแล้ว ทำให้เป็นของ
ไม่ควรเกิดอีก" ดังนี้แล้ว ทรงเปล่งพระรัศมี ปรากฏประหนึ่งว่า
ประทับนั่ง ณ ที่จำเพาะหน้าของภิกษุนั้น ตรัสพระคาถานี้ว่า
8. อปฺปนาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํอณุํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ.
" ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท หรือมีปกติ
เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์ ทั้ง
ละเอียดและหยาบไป ดุจไฟเผาเชื้อมากและน้อย
ไปฉะนั้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาทรโต ความว่า ยินดีคืออภิรมย์
แล้วในความไม่ประมาท ได้แก่ ยังกาลให้ล่วงไปด้วยความไม่ประมาท.
บาทพระคาถาว่า ปมาเท ภยทสฺสิ วา ความว่า ผู้เห็นภัยใน
ความประมาท มีการเข้าถึงนรกเป็นต้น, อีกประการหนึ่ง ชื่อว่าผู้เห็น
ความประมาทโดยความเป็นภัย เพราะความประมาทนั้นเป็นรากเหง้าแห่ง
ความอุบัติเหล่านั้น.
บทว่า สญฺโญชนํ ความว่า สังโยชน์ 10 อย่าง1 เป็นเครื่อง
ประกอบ เครื่องผูก ( หมู่สัตว์) ไว้กับทุกข์ในวัฏฏะ สามารถยังสัตว์
ให้จมลงในวัฏฏะได้.

1. สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน 1 วิจิกิจฉา ความลังเล ไม่แน่ใจ 1 สีลัพพต-
ปรามาส ความลูบคลำศีลและพรต 1 กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม 1 ปฏิฆะ
ความกระทบกระทั่งแห่งจิต 1 รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม 1 อรูปราคะ ความติดใจในอรูป-
ธรรม 1 มานะ ความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ 1 อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน 1 อวิชชา ความหลงเป็น
เหตุไม่รู้จริง 1.

บทว่า อณุํ ถูลํ คือมากและน้อย.
บาทพระคาถาว่า ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ ความว่า ภิกษุนั้นยินดี
แล้วในความไม่ประมาท ย่อมเผาสังโยชน์นั่นด้วยไฟคือญาณ ซึ่งตน
บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท คือทำให้เป็นของไม่ควรเกิดขึ้นอีกต่อไป
ดุจไฟเผาเชื้อมากและน้อยนั้นแลไปฉะนั้น.
ในกาลจบคาถา ภิกษุนั้น นั่งอย่างเดิมเทียว เผาสังโยชน์ทั้งหมด
แล้ว บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย มาทางอากาศ
(เหาะมา) ชมเชยสรรเสริญพระสรีระของพระตถาคต ซึ่งมีพรรณะดุจ
ทองคำแล้ว ถวายบังคม หลีกไป ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จบ.

9. เรื่องพระติสสเถระผู้มีปกติอยู่ในนิคม [23]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระ
ผู้มีปกติอยู่ในนิคม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปมาทรโต" เป็น
ต้น.

พระเถระเที่ยวรับบิณฑบาตแต่ในบ้านญาติ


ความพิสดารว่า กุลบุตรคนหนึ่ง เกิดเติบโตในบ้านที่ตั้งอยู่ในนิคม
แห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี บรรพชาแล้วได้อุปสมบทในศาสนา
ของพระศาสดาแล้ว ปรากฏว่า " ชื่อว่า พระนิคมติสสเถระเป็นผู้มักน้อย
สันโดษ สงัด ปรารภความเพียร." ท่านเที่ยวบิณฑบาตเฉพาะในบ้าน
ของญาติเป็นนิตย์. เมื่อคนทั้งหลายมีอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น ทำ
มหาทานอยู่ก็ดี, เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงบำเพ็ญอสทิสทานอยู่ก็ดี,*
ก็ไม่มากรุงสาวัตถี.
พวกภิกษุจึงสนทนากันว่า " พระนิคมติสสะนี้ ลุกขึ้นเสร็จสรรพ
แล้ว ก็คลุกคลีด้วยญาติอยู่ เมื่อชนทั้งหลายมีอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น
ทำมหาทานอยู่ก็ดี, เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงบำเพ็ญอสทิสทานอยู่ก็ดี,
เธอไม่มาเลย ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลแด่พระศาสดา.

พระเถระได้รับสาธุการจากพระศาสดา


พระศาสดา รับสั่งให้เรียกท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุ

1. ทานอันไม่มีทานอื่นเสมอ.