เมนู

แก่นาง. ได้ยินว่า ชื่อว่าสถานที่อื่น อันน่าปลื้มใจกว่านั้น ย่อมไม่มี.
ในวันอัฏฐมี (ดิถีที่ 8) แห่งเดือน มีการฟังธรรม ในที่นั้นนั่นเอง.
จนกระทั่งทุกวันนี้ ชนทั้งหลาย เห็นสถานที่อันน่าปลื้มใจแห่งใดแห่งหนึ่ง
เข้า ก็ยังกล่าวกันอยู่ว่า "เหมือนเทวสภาชื่อสุธรรมา."
แม้นางสุนันทา ถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเกิดในภพดาวดึงส์นั้น
เหมือนกัน. สระโบกขรณีชื่อสุนันทา มีประมาณ 500 โยชน์ เกิดแล้ว
แก่นาง.
แม้นางสุจิตรา ถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเกิดในภพดาวดึงส์นั้น
เหมือนกัน. สวนชื่อจิตรลดา มีประมาณ 500 โยชน์ ที่พวกเทพดา
พาเหล่าเทพบุตรผู้มีบุรพนิมิตเกิดแล้วให้หลงเที่ยวไปอยู่ เกิดแล้วแม้แก่
นาง.

ท้าวสักกะโอวาทนางสุชาดาผู้เป็นนางนกยาง


ส่วนนางสุชาดา ถึงแก่กรรมแล้ว เกิดเป็นนางนกยางในซอกเขา
แห่งหนึ่ง. ท้าวสักกะทรงตรวจดูบริจาริกาของพระองค์ ทรงทราบว่า
" นางสุธรรมาเกิดแล้วในที่นี้เหมือนกัน. นางสุนันทาและนางสุจิตรา
ก็อย่างนั้น," พลางทรงดำริ (ต่อไป) ว่า "นางสุชาดาเกิดที่ไหนหนอ ?"
เห็นนางเกิดในซอกเขานั้นแล้ว ทรงดำริว่า " นางสุชาดานี้เขลา ไม่ทำ
บุญอะไร ๆ บัดนี้เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน, แม้บัดนี้ ควรที่เราจะให้นาง
ทำบุญแล้วนำมาไว้เสียที่นี้" ดังนี้แล้ว จึงทรงจำแลงอัตภาพ เสด็จไป
ยังสำนักของนางด้วยเพศที่เขาไม่รู้จัก ตรัสถามว่า "เจ้าเที่ยวทำอะไรอยู่
ที่นี้ ?"