เมนู

ของเรา ปรารภความเพียรแล้ว ย่อมเป็นเจ้าของแห่งโลกุตรธรรมได้เที่ยว"
ดังนี้แล้ว ตรัสคาถานี้ว่า
3. อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน สญฺญเมน ทเมน จ
ทีปํ กยิราถ เมธาวี ยํ โอโฆ นาภิกีรติ.
" ผู้มีปัญญา พึงทำเกาะ (ที่พึ่ง) ที่ห้วงน้ำ
ท่วมทับไม่ได้ ด้วยความหมั่น ด้วยความไม่
ประมาท ด้วยความระวัง และด้วยความฝึก. "


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ทีปํ กยิราถ ความว่า ผู้มีปัญญา
ประกอบพร้อมแล้วด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม พึงทำ คือพึงกระทำ
ได้แก่อาจทำ เกาะ คืออรหัตผล อันเป็นที่พึ่งพำนักของตนในสาครคือ
สงสารอันลึกยิ่ง โดยความเป็นที่พึ่งอันได้ยากยิ่งนี้ ด้วยธรรมอันเป็นเหตุ
4 ประการเหล่านี้ คือ; ด้วยความหมั่น กล่าวคือ ความเพียร 1 ด้วย
ความไม่ประมาท กล่าวคือการไม่อยู่ปราศจากสติ 1 ด้วยความระวัง กล่าว
คือปาริสุทธิศีลสี่ 1 ด้วยความฝึกอินทรีย์ 1.
ถามว่า "พึงทำเกาะเช่นไร ?"
แก้ว่า "พึงทำเกาะที่ห้วงน้ำท่วมทับไม่ได้." อธิบายว่า พึงทำ
เกาะที่ห้วงน้ำ คือ กิเลสทั้ง 4 อย่าง ไม่สามารถจะท่วมพัดคือกำจัดได้;
แท้จริง พระอรหัต อันโอฆะไม่สามารถจะท่วมทับได้เลย.

ในเวลาจบคาถา ชนเป็นอันมาก ได้เป็นพระอริยบุคคล มีพระ-
โสดาบันเป็นต้นแล้ว. เทศนามีประโยชน์แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว
ดังนี้แล.
เรื่องพระจูฬปันถกเถระ จบ.

4. เรื่องพาลนักษัตร [18]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนักษัตร
ของคนพาล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปมาทมนุยุญฺชนฺติ" เป็นต้น.

คนพาลชาวเมืองสาวัตถีเล่นนักษัตร


ความพิสดารว่า ดังได้สดับมา ในสมัยหนึ่ง เขาป่าวประกาศชื่อ
พาลนักษัตร1 ในพระนครสาวัตถี. ในนักษัตรนั้น พวกชนพาลผู้มีปัญญา
ทราม เอาเถ้าและโคมัย (มูลโค) ทาร่างกาย เที่ยวกล่าววาจาของ
อสัตบุรุษไปตลอด 7 วัน, เห็นใคร ๆ เป็นญาติก็ตาม เป็นสหายก็ตาม
เป็นบรรพชิตก็ตาม ชื่อว่าละอายอยู่ ไม่มี, ยืนกล่าววาจาของอสัตบุรุษ
อยู่ที่ประตูทุก ๆ ประตู. มนุษย์ทั้งหลายไม่อาจฟังอสัปปุริสวาทของพวก
เขาได้ จึงส่งทรัพย์ให้กึ่งบาทบ้าง บาทหนึ่งบ้าง กหาปณะหนึ่งบ้าง
ตามกำลัง, พวกเขาถือเอาทรัพย์ที่ได้แล้ว ๆ ที่ประตูเรือนของมนุษย์เหล่า
นั้น ๆ แล้วก็หลีกไป.
ก็ในกาลนั้น พระนครสาวัตถี มีอริยสาวกประมาณ 5 โกฏิ. ท่าน
เหล่านั้นส่งข่าวไปถวายพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ อย่าเสด็จเข้าไปสู่พระนคร จงประทับอยู่แต่
ในพระวิหารสิ้น 7 วัน," ก็แลตลอด 7 วันนั้น (ท่านเหล่านั้น) จัด
ข้าวยาคูและภัตเป็นต้น (ส่งไป) ในพระวิหารนั่นแลเพื่อภิกษุสงฆ์ แม้
ตนเองก็ไม่ออกจากเรือน.

1. การรื่นเริงของคนพาล.