เมนู

13. เรื่องนางสุมนาเทวี [13]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนาง
สุมนาเทวี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ"
เป็นต้น.

อบรมลูกหลานให้รับหน้าที่ของตน


ความพิสดารว่า ภิกษุสองพันรูป ย่อมฉันในเรือนของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐีในกรุงสาวัตถีทุกวัน, ในเรือนของนางวิสาขามหาอุบาสิกาก็เช่นนั้น.
บุคคลใด ๆ ในกรุงสาวัตถี เป็นผู้ประสงค์จะถวายทาน, บุคคลนั้น ๆ
ต้องได้โอกาสของท่านทั้งสองนั้นก่อนแล้ว จึงทำได้.
ถามว่า "เพราะเหตุไร ?"
ตอบว่า " เพราะคนอื่น ๆ ถามว่า ' ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
หรือนางวิสาขา มาสู่โรงทานของท่านแล้วหรือ" เมื่อเขาตอบว่า
" ไม่ได้มา," ย่อมติเตียน แม้ทานอันบุคคลสละทรัพย์ตั้งแสนแล้วทำ
ว่า "นี่ชื่อว่าทานอะไร ?" เพราะท่านทั้งสองนั้น ย่อมรู้จักความ
ชอบใจของภิกษุสงฆ์และกิจอันสมควรแก่ภิกษุสงฆ์. เมื่อท่านทั้งสองนั้น
อยู่, พวกภิกษุย่อมฉันได้ตามพอใจทีเดียว. เพราะฉะนั้น ทุก ๆ คนที่
ประสงค์จะถวายทาน จึงเชิญท่านทั้งสองนั้นไป. ท่านทั้งสองนั้นย่อม
ไม่ได้เพื่อจะอังคาสภิกษุทั้งหลายในเรือนของตนด้วยเหตุนี้ เพราะเหตุนั้น
นางวิสาขา เมื่อใคร่ครวญว่า "ใครหนอแล ? จักดำรงในหน้าที่ของเรา

เลี้ยงภิกษุสงฆ์." เห็นธิดาของบุตรแล้ว จึงตั้งเขาไว้ในหน้าที่ของตน.
นางอังคาสภิกษุสงฆ์ในเรือนของนางวิสาขานั้น.
ถึงท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็ตั้งธิดาคนใหญ่ ชื่อมหาสุภัททาไว้.
ก็นางมหาสุภัททานั้น ทำการขวนขวายแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ (และ)
ฟังธรรมอยู่ เป็นพระโสดาบันแล้ว ได้ไปสู่สกุลแห่งสามี.
แต่นั้น ท่านอนาถบิณฑิกะ ก็ตั้งนางจุลสุภัททา (แทน). แม้
นางจุลสุภัททานั้น ก็ทำอยู่อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นพระโสดาบันแล้ว
ก็ไปสู่สกุลแห่งสามี. ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกะ จึงตั้งธิดาคนเล็ก
นามว่าสุมนาเทวี (แทน).

นางสุมนาป่วยเรียกบิดาว่าน้องชาย


ก็นางสุมนาเทวีนั้น ฟังธรรมแล้ว บรรลุสกทาคามิผล ยังเป็น
กุมาริกา (รุ่นสาว) อยู่เทียว, กระสับกระส่ายด้วยความไม่ผาสุก
เห็นปานนั้น ตัดอาหาร1 มีความประสงค์จะเห็นบิดา จึงให้เชิญมา.
ท่านเศรษฐีนั้น พอได้ยินข่าวของธิดาในโรงทานแห่งหนึ่ง ก็มาหาแล้ว
พูดว่า "เป็นอะไรหรือ ? แม่สุมนา." ธิดานั้น ตอบบิดาว่า "อะไรเล่า ?
น้องชาย"
บ. เจ้าเพ้อไปหรือ ? แม่.
ธ. ไม่เพ้อ น้องชาย.
บ. เจ้ากลัวหรือ ? แม่.
ธ. ไม่กลัว น้องชาย.
น.
1. อาหารุปจฺเฉทํ กตฺวา ทำการเข้าไปตัดซึ่งอาหาร.