เมนู

โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุํ สทฺธํ อารทฺธวีริยํ
ตํ เว นปฺปสหติ มาโร วาโต เสลํว ปพฺพตํ.
"ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่างาม ไม่สำรวมในอินทรีย์
ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เกียจคร้าน
มีความเพียรเลวทรามอยู่ ผู้นั้นแล มารย่อมรังควาน
ได้, เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกำลังไม่แข็งแรง ลม
รังควานได้ฉะนั้น. (ส่วน) ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่า
ไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณใน
โภชนะ มีศรัทธาและปรารภความเพียรอยู่ ผู้นั้นแล
มารย่อมรังควานไม่ได้, เปรียบเหมือนภูเขาหิน ลม
รังควานไม่ได้ ฉะนั้น."


แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภานุปสฺสึ ได้แก่ ผู้ตามเห็นอารมณ์
ว่างาม. อธิบายว่า ผู้ปล่อยใจไปในอารมณ์ที่น่าปรารถนาอยู่. ก็บุคคล
ใด เมื่อถือโดยนิมิต1 โดย2อนุพยัญชนะ ย่อมถือว่า "เล็บทั้งหลายงาม."
ถือว่า "นิ้วทั้งหลายงาม." ถือว่า "มือทั้งสอง เท้าทั้งสอง แข้งทั้งสอง
ขาทั้งสอง สะเอว ท้อง ถันทั้งสอง คอ ริมฝีปาก ฟันทั้งหลาย ปาก จมูก
ตาทั้งสอง หูทั้งสอง คิ้วทั้งสอง หน้าผาก ผมทั้งหลาย งาม." ถือว่า "ผม
ขน เล็บ ฟัน หนัง งาม." (หรือ) ถือว่า "สีงาม ทรวดทรง

1. ได้แก่รวบถือทั้งหมด. 2. ได้แก่แยกถือเป็นส่วน ๆ เช่น ผมงาม เล็บงาม เป็นต้น.

งาม." บุคคลนี้ชื่อว่าตามเห็นอารมณ์ว่างาม. ผู้นั้นคือผู้ตามเห็น
อารมณ์ว่างามอย่างนั้นอยู่.
บทว่า อินฺทฺริเยสุ ได้แก่ ในอินทรีย์1 6 มีจักษุเป็นต้น.
บทว่า อสํวุตํ ได้แก่ ผู้ไม่รักษาทวารทั้งหลาย มีจักษุทวาร
เป็นต้น.
บทว่า อมตฺตญญุํ ความว่า ชื่อว่าผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ
เพราะไม่รู้ประมาณนี้ คือประมาณในการแสวงหา ประมาณในการรับ
ประมาณในการบริโภค. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าผู้ไม่รู้จักประมาณเพราะไม่รู้
ประมาณแม้นี้ คือ ประมาณในการพิจารณา ประมาณในการสละ คือ
ไม่ทราบแม้ว่า "โภชนะนี้ประกอบด้วยธรรม นี้ไม่ประกอบด้วยธรรม."
บทว่า กุสีตํ ความว่า ชื่อว่าผู้เกียจคร้าน เพราะความเป็นผู้เป็น
ไปในอำนาจของกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก.
บทว่า หีนวีริยํ ความว่า ผู้ไม่มีความเพียร คือผู้เว้นจากการ
ทำความเพียรในอิริยาบถทั้งสี่.
บทว่า ปสหติ แปลว่า ย่อมครอบงำ คือ ย่ำยี.
บาทพระคาถาว่า วาโต รุกฺขํว ทุพฺพลํ ความว่า เหมือนลม
มีกำลังแรง รังควานต้นไม้ที่มีกำลังไม่แข็งแรง ซึ่งเกิดริมเขาขาด.
อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ลมนั้น ยังส่วนต่าง ๆ มี ดอก ผล ใบอ่อน
เป็นต้น แห่งต้นไม้นั้นให้ร่วงลงบ้าง หักกิ่งน้อยบ้าง หักกิ่งใหญ่บ้าง
พัดถอนต้นไม้นั้นพร้อมทั้งราก ทำให้รากขึ้นเบื้องบน กิ่งลงเบื้องล่าง
ฉันใด; มารคือกิเลส อันเกิดในภายใน ย่อมรังควานบุคคลผู้เห็นปาน

1. อินทรีย์ 6 คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์.

นั้นได้ฉันนั้นเหมือนกัน; คือกิเลสมารทำให้ต้องอาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ
เหมือนลมมีกำลังแรง พัดส่วนต่าง ๆ มี ดอก ผล ใบอ่อนเป็นต้น
แห่งต้นไม้ที่ไม่แข็งแรงให้ร่วงลงบ้าง, ทำให้ต้องอาบัติมีนิสสัคคียะเป็นต้น
เหมือนลมมีกำลังแรง ทำการหักกิ่งไม้เล็ก ๆ บ้าง, ทำให้ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส 13 เหมือนลมมีกำลังแรง ทำการหักกิ่งไม้ใหญ่บ้าง, ทำให้
ต้องอาบัติปาราชิก นำออกจากศาสนา อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว
ให้ถึงความเป็นคฤหัสถ์โดย 2-3 วันเท่านั้น เหมือนลมมีกำลังแรงถอน
(ต้นไม้) ทำให้โค่นลง มีรากขึ้นเบื้องบน มีกิ่งลงเบื้องล่างบ้าง. กิเลส-
มารย่อมยังบุคคลเห็นปานนั้นให้เป็นไปในอำนาจของตน.
บทว่า อสุภานุปสฺสึ ความว่า ผู้เห็นอารมณ์ไม่งาม110 อย่าง อย่างใด
อย่างหนึ่งว่าไม่งาม. คือประกอบในมนสิการ โดยความเป็นของปฏิกูล
ได้แก่เห็นผมทั้งหลาย โดยความไม่งาม เห็นขน เล็บ ฟัน หนัง
สี ทรวดทรง โดยความไม่งาม.
บทว่า อินฺทฺริเยสุ ได้แก่ ในอินทรีย์ 6. บทว่า สุสํวุตํ ได้แก่
ผู้เว้นจากการถือ มีถือโดยนิมิตเป็นต้น คือผู้มีทวารอันปิดแล้ว.
บทว่า มตฺตญฺญุํ ความว่า ผู้รู้จักประมาณในโภชนะ โดยตรงกัน
ข้ามกับความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ.
1. อสุภ อารมณ์อันไม่งาม มี 10 คือ 1. อุทธุมาตกอสุก อสุภที่ขึ้นพอง 2. วินีลกอสุภ
อสุภที่มีสีเขียว 3. วิปุพพกอสุภ อสุภที่มีหนองไหลออก 4. วิจฺฉิททกอสุภ อสุภที่เขาสับฟัน
เป็นท่อน ๆ 5. วิกฺขายิตกอสุภ อสุภที่สัตว์ยื้อแย่งกิน 6. วิกฺขิตฺตกอสุภ อสุภี่ขาดกลาง
7. หตวิกฺขิตฺตกอสุภ อสุภที่ขาดกระจักกระจาย 8. โลหิตกอสุภ อสุภที่เปื้อนเลือด
9. ปุฬุวกกุสุภ อสุภที่มีหมู่หนอน 10. อฏฺฐิกอสุภ อสุภที่มีแต่ร่างกระดูก



บทว่า สทฺธึ ความว่า ผู้ประกอบด้วยโลกิยสัทธา มีอันเชื่อกรรม
และผลเป็นลักษณะอย่างหนึ่ง และประกอบด้วยโลกุตรสัทธา กล่าวคือ
ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในวัตถุ1 3 อย่างหนึ่ง.
บทว่า อารทฺธวีริยํ ได้แก่ ผู้ประคองความเพียร คือผู้มีความ
เพียรเต็มที่.
บทว่า ตํ เว ได้แก่ บุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น.
อธิบายว่า ลมมีกำลังอ่อน พัดเบา ๆ ย่อมไม่อาจให้ศิลาแต่ง
ทึบหวั่นไหวได้ ฉันใด; กิเลสมารที่มีกำลังทราม แม้เกิดขึ้นในภายใน
ย่อมรังควาน (บุคคลนั้น) ไม่ได้ คือไม่อาจให้หวั่นไหว สะเทือน
คลอนแคลนได้ ฉันนั้น.

พระมหากาลเหาะหนีภรรยา


พวกหญิงแม้เหล่านั้นแล ที่เป็นภรรยาเก่าของพระมหากาลนั้น
ล้อมพระเถระเเล้ว กล่าวคำเป็นต้นว่า "ท่านลาใครบวช บัดนี้ท่านจัก
เป็นคฤหัสถ์หรือจักไม่เป็นเล่า ?" ดังนี้แล้ว ได้เป็นผู้ใคร่เพื่อจะเปลื้อง
ผู้กาสายะทั้งหลาย (ของพระเถระ) ออก.
พระเถระกำหนดลาการของหญิงเหล่านั้นได้แล้ว ลุกจากอาสนะ
ที่นั่งแล้วเหาะไปด้วยฤทธิ์ ทำลายช่อฟ้าเรือนยอด ไปทางอากาศ. เมื่อ
พระศาสดา พอตรัสพระคาถาจบลง, ชมเชยพระสรีระของพระศาสดา
ซึ่งมีวรรณะดังทองคำ ลงมาถวายบังคมพระบาทยุคลของพระตถาคตแล้ว
1. วัตถุ 3 คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.