เมนู

อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะ
ปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญ-
จายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า อากาศหาที่สุดมิได้ แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่า
และประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุย่อมบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุย่อมบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่าน้อยหนึ่งไม่มี แม้ธรรม
ข้อนี้ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง
ภิกษุย่อมบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและ
ประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประ-
การทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพื่อเห็นด้วยปัญญาของเธอ
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ
ดูก่อนพราหมณ์ ธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ.
เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการเเก่น แสวงหาแก่น เที่ยว
เสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป รู้อยู่
ว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา
ฉันใด ดูก่อนพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น.

ว่าด้วยที่สุดของพราหมณ์


[360] ดูก่อนพราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์นี้จึงมิใช่
มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีล

เป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็น
อานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น
เป็นที่สุด.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปิงคลโกจฉพราหมณ์ ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่ม
แจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีป
ในที่มืด ด้วยประสงค์ว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉันใด ธรรมที่พระองค์ทรง
ประกาศแล้วโดยอเนกปริยาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึง
พระองค์กับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้า
พระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้
เป็นต้นไป.
จบ จูฬสาโรปมสูตร ที่ 10
จบ โอปัมมวรรค ที่ 3

อรรถกถาจุลลสาโรปมสูตร


จุลลสาโรปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในจุลลสาโรปมสูตรนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า ปิงฺคล-
โกจฺโฉ
ได้แก่ พราหมณ์ผู้มีธาตุเหลือง ก็คำว่า โกจฺโฉ นี้ เป็นเชื่อของ
พราหมณ์นั้น เพราะฉะนั้น พราหมณ์นั้นท่านจึงเรียกว่า ปิงคลโกจฉะ. พึง
ทราบวินิจฉัยในคำว่า สํฆิโน เป็นต้น สมณะพราหมณ์ชื่อว่า สังฆฺโน
เพราะมีหมู่กล่าวคือประชุมแห่งนักบวช. ชื่อว่า คณิโน เพราะมีคณะนั้นแล.
ชื่อว่า คณาจริยา เพราะเป็นอาจารย์แห่งคณะด้วยอำนาจอาจารสิกขาบท.
บทว่า ญาตา ได้แก่ ผู้ที่รู้จักทั่วไป คือผู้ปรากฏ ได้แก่ ที่เขา
ย่องย่อง โดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้นักน้อย สันโดษ ไม่นุ่งห่มแม้กระทั่งผ้าเพราะ
เป็นผู้มักน้อย. ชื่อว่า ยสสฺสิโน เพราะเป็นผู้มียศ. บทว่า ติตฺถกรา
แปลว่า เจ้าลัทธิ. บทว่า สาธุสมฺมตา ได้แก่ ที่เขาสมมติอย่างนี้ว่า คน
เหล่านี้เป็นคนมีประโยชน์ เป็นคนดี เป็นสัตบุรุษ. บทว่า พหุชนสฺส ได้แก่
ผู้ไม่ได้สดับ ผู้เป็นปุถุชนคนอันธพาล.
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงคนเหล่านั้น จึงตรัสว่า เสยฺยถีทํ ปูรโณ
ดังนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปูรโณ เป็นชื่อของเจ้าลัทธินั้น
ผู้ปฏิญญาตนว่าเป็นศาสดา. คำว่า กสฺสโป เป็นโคตร. ได้ยินว่า เจ้าลัทธิ
ชื่อปุรณะนั้นเป็นคนครบร้อยพอดีของตระกูลหนึ่งซึ่งมีทาส 99 คน. ด้วยเหตุ
นั้น คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อว่า ปูรโต. ก็เพราะเขาเป็นทาสมงคล จึงไม่มีผู้
กล่าวว่าเขาทำกิจที่ทำได้ยาก หรือไม่ทำกิจที่ใครเขาไม่ทำ. เขาคิดว่าเราจะอยู่
ในที่นี้ไปทำไมแล้วก็หนีไป. ลำดับนั้น พวกโจรได้ชิงเอาผ้าของเขาไป. เขาไม่
รู้จักการปกปิดด้วยใบไม้หรือหญ้า ก็เข้าไปยังตำบลหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่เปลือย