เมนู

ความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธิ
นั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึง
พร้อมแห่งสมาธิอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความ
ถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้
สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.
เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึง
ความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยัง
อสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจาก
อสมยวิมุตตินั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้.

ว่าด้วยที่สุดของพรหมจรรย์


[352] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์นี้
จึงมิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่ง
ศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณ-
ทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์
เป็นแก่น เป็นที่สุด.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชม
ยินดี พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
จบ มหาสาโรปมสูตรที่ 9

อรรถกถามหาสาโรปสูตร


มหาสาโรปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในมหาสาโรปมสูตรนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า อจิรปกฺ-
กนฺเต
ความว่า เมื่อพระเทวทัตทำลายสงฆ์ทำโลหิตุปาทกรรม ทำพระโลหิต
ให้ห้อ หลีกไปไม่นาน พาพรรคพวกแยกไปโดยเพศเดิมของตน. ในคำว่า
อิธ ภิกฺขเว เอกจฺโจ กุลปุตฺโต ท่านมิได้กำหนดว่ากุลบุตรชื่อโน้นก็จริง
ถึงอย่างนั้น คำนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเฉพาะพระเทวทัต
เท่านั้น. จริงอยู่ พระเทวทัต ชื่อว่า เป็นกุลบุตรโดยชาติ เพราะเกิดใน
วงศ์พระเจ้าโอกกากราช ตามเชื้อสายมหาสมบัติราชที่ไม่ระคนวงศ์อื่น. บทว่า
โอติญฺโณ ได้แก่ ชาติของผู้ใดอยู่ภายใน ผู้นั้นชื่อว่าผู้ถูกชาติครอบงำแล้ว.
แม้ในชราเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ปัจจัย 4 ชื่อว่าลาภในคำว่าลาภและ
สักการะเป็นต้น. บทว่า สกฺกาโร ได้แก่ ปัจจัย 4 เหล่านั้นที่เขาจัดไว้ดี
แล้ว. บทว่า สิโลโก ได้แก่ การพูดสรรเสริญ. บทว่า อภินิพฺพตฺเตติ
ได้แก่ ให้เกิด. บทว่า อปญฺญาตา ความว่า ไม่ปรากฏในสถานที่ชนทั้ง 2
ดำรงอยู่ ย่อมไม่ได้แม้เพียงอาหารและเครื่องนุ่งห่ม. บทว่า อปฺเปสกฺขา
ได้แก่ พวกที่ไม่มีบริวาร ไม่ได้คนแวดล้อมไปข้างหน้าหรือข้างหลัง. บทว่า
สาเรน สารกรณียํ ได้แก่ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีเพลา ล้อ แอกและไถเป็นต้น
ที่จะพึงทำด้วยไม้แก่น. บทว่า สาขาปลาสํ อคฺคเหสิ พฺรหฺมจริยสฺส
ความว่า ปัจจัย 4 ชื่อว่ากิ่งไม้ใบสด ของศาสนพรหมจรรย์อันมีมรรคผลเป็น
สาระ ได้ถือเอาแต่กิ่งไม้ใบสดนั้น. บทว่า เตน จ โวสานํ อาปาทิ ความว่า
ก็ด้วยเหตุนั้นแล พระเทวทัตนั้น จึงหยุดด้วยเข้าใจว่า พอแค่นี้ เราพบสาระ