เมนู

โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์
ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มี
ผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง
จักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบ
ด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฐิ ยึด
ถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้า
ถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต
วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฐิ ยึดถือการกระทำ
ด้วยอำนาจสัมมาทิฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ ดังนี้ ภิกษุนั้น ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต
มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง
จักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อน
พราหมณ์ แม้ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวีตะบ้าง ถ้าคตา-
รัญชิตะบ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผ้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้ .

อาสวักขยาญาณ


[338] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส
ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้ม
น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนีโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ชัดตามความเป็น
จริงว่า เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา
ดูก่อนพราหมณ์ แม่ข้อนี้เรากล่าวว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง
ตถาคตารัญชิตะบ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อน อริยสาวกนั้น

ย่อมจะถึงความตกลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
เมื่อภิกษุนั้นรู้เห็นอย่างนั้น จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้
จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่าพ้นแล้ว
ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมณ์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จ
แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ดูก่อนพราหมณ์ แม้ข้อนี้ เราเรียกว่าตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะ
บ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง ดังนี้ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ดูก่อนพราหมณ์
อริยสาวก ย่อมตกลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธ-
เจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ดูก่อนพราหมณ์
ข้อความเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง เป็นอันบริบูรณ์แล้วโดยพิสดาร ดังนี้.
[339] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ พระธรรม
เทศนาแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคลพึงหงายของที่คว่ำ พึงเปิด
ของที่ปกปิด พึงบอกทางแก่คนหลงทาง หรือพึงส่องประทีปในที่มืด ด้วยคิดว่า
ผู้มีจักษุจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ได้ทรงประกาศพระ
ธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงท่านพระโคดม
พระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่านพระโคดมจงทรงจำข้าพเจ้าว่าเป็น
อุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไปเถิด
จบ จูฬหัตถิปโทปมสูตรที่ 7

อรรถกถาจุลลหัตถิปโทปมสูตร


จุลลหัตตถิปโทปมสูตร เริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในจุลลหัตถิปโทปมสูตรนั้นดังต่อไปนี้ บทว่า สพฺ-
พเสเตน วฬวาภิรเถน
ความว่า รถที่เทียมด้วยลา 4 จำพวก ขาวสิ้นที่
ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า ม้าขาว มีเครื่องประดับขาวที่เทียมแล้ว รถขาว
มีเครื่องประดับขาว มีบริวารขาว รัศมีขาว แส้ขาว ฉัตรขาว อุณหิสขาว
ผ้าขาว รองเท้าขาว พัดด้วยพัดวาลวิชนีขาว. ก็ธรรมดาว่ารถนี้มี 2 อย่าง
คือ รถรบกับรถประดับ. บรรดารถทั้ง 2 นั้น รถรบมีทรง 4 เหลี่ยม ไม่
ใหญ่นัก สามารถจุคนได้ 2-3 คน รถประดับคันใหญ่ทั้งยาวทั้งกว้าง. ในรถ
ประดับ คน 8 คน หรือ 10 คน คือคนกั้นร่ม คนถือพัดวีชนี คนถือพัดใบตาล
สามารถจะยืน นั่ง หรือนอนได้ตามสะดวก แม้รถนี้ชื่อว่ารถประดับอย่างเดียว.
รถนั้นทั้งหมด พร้อมด้วยล้อ หน้าต่างและธูปรถ ขลิบด้วยเงิน. ลาตามปกติ
ก็สีขาว แม้เครื่องประดับลาเหล่านั้น ก็ทำด้วยเงิน แม้เชือกที่ชุบน้ำประสาน
เงิน แม้แส้ก็ขลิบด้วยเงิน แม้พราหมณ์ก็นุ่งผ้าขาวห่มผ้าขาว ลูบไล้เครื่อง
ไล้ขาว ประดับมาลัยขาว สรวมแหวนทั้ง 10 นิ้ว ติดตุ้มหูทั้ง 2 ข้าง รวม
ความดังกล่าวมานี้เป็นต้น แม้เครื่องประดับของรถนั้น ก็เป็นเงินทั้งนั้น. แม้
พราหมณ์ผู้เป็นบริวารของพราหมณ์นั้น ก็ประดับด้วยผ้าเครื่องลูบไล้ของหอม
และมาลัยขาวอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สพฺพเสเตน
วฬวาภิรเถน.

บทว่า สาวตฺถิยา นิยฺยาติ ความว่า ได้ยินว่า ทุก 6 เดือน
พราหมณ์นั้น จะทำประทักษิณพระนครครั้งหนึ่ง. จะมีการโฆษณาล่วงหน้าไว้ว่า