เมนู

อนูปลิตฺโต ได้แก่ ไม่ติดอยู่เพราะสิ้นกิเลสในธรรมอันไปในภูมิ 3 ทั้งหมด.
บทว่า สพฺพญฺชโห ได้แก่ ละธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ทั้งหมดตั้งอยู่. บทว่า
ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต ได้แก่ พ้นจากอารมณ์ในพระนิพพาน เป็นที่สิ้นตัณหา.
บทว่า สยํ อภิญฺญาย ได้แก่ รู้ธรรมที่เป็นไปในภูมิ 4 ทั้งหมดด้วยตนเอง.
บทว่า กมุทฺทิเสยฺยํ ความว่า เราจะพึงยกใครอื่นว่า ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา.
บทว่า น เม อาจริโย อตฺถิ ความว่า เราไม่มีอาจารย์ในโลกุตตรธรรม. บทว่า
นตฺถิ เม ปฏิปุคฺคโล ความว่า ไม่มีบุคคลที่จะเทียบเรา. บทว่า สมฺมา-
สมฺพุทฺโธ
ได้แก่ ตรัสรู้เองซึ่งสัจจะ 4 โดยชอบ โดยเหตุ โดยนัยทีเดียว.
บทว่า สีติภูโต ชื่อว่า เป็นผู้เย็นเพราะดับไฟคือกิเลสหมดสิ้น ชื่อว่า ดับ
เพราะกิเกสทั้งหลายดับไป. บทว่า กาสีนํ ปุรํ ได้แก่ นครในแคว้นกาสี.
บทว่า อาหญฺญึ อมตทุนฺทุภึ ความว่า เดินทางหมายจะตีอมตเภรี เพื่อให้
สัตว์ได้ดวงตาเห็นธรรม. บทว่า อรหสิ อนนฺตชิโน ได้แก่. ท่านควรจะ
เป็นอนันตชินหรือ. บทว่า หุเวยฺยาวุโส ความว่า อุปกาชีวกกล่าวว่า ผู้มี
อายุ จะพึงมีชื่ออย่างนั้นหรือ. บทว่า ปกฺกามิ ได้แก่ ได้ไปยังชนบทชื่อว่า
วังกหาร.

เรื่องอุปกาชีวก


ในชนบทนั้น อุปกาชีวกอาศัยหมู่บ้านพรานล่าเนื้ออยู่. หัวหน้าพราน
บำรุงเขาไว้. ในชนบทนั้น มีชาวประมงดุร้าย ให้เขาอยู่ด้วยภาชนะใบเดียว.
พรานล่าเนื้อ จะไปล่าเนื้อในที่ไกล จึงสั่งธิดาชื่อ นาวา ว่าอย่าประมาทใน
พระอรหันต์ของพวกเรา แล้วไปกับเหล่าบุตรผู้เป็นพี่ ๆ. ก็ธิดาของพรานนั้น
มีรูปโฉมน่าชม สมบูรณ์ด้วยส่วนสัด. วันรุ่งขึ้น อุปกะมาเรือนพบหญิงรุ่นนั้น
เข้ามาเลี้ยงดูทำการปรนนิบัติทุกอย่าง เกิดรักอย่างแรง ไม่อาจแม้แต่จะกินถือ

ภาชนะอาหารไปที่อยู่ วางอาหารไว้ข้างหนึ่ง คิดว่า ถ้าเราได้แม่นาวา จึงจะ
มีชีวิต ถ้าไม่ได้ก็จะตายเสีย แล้วนอนอดอาหาร. วันที่ 7 นายพรานกลับมา
ถามเรื่องอุปกะกับธิดา. ธิดาบอกว่า เขามาวันเดียวเท่านั้น แล้วไม่เคยมาอีกจ้ะ.
โดยขุดที่มาจากป่านั่นแหละ. นายพรานบอกธิดาว่า พ่อจักเข้าไปถามเขาเอง
แล้วไปทันที จับเท้าถามว่า ท่านเจ้าข้า ไม่สบายเป็นอะไรไป. อุปกะถอนใจ
กลิ้งเกลือก็ไป. นายพรานกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า บอกสิ ข้าอาจทำได้ก็จักทำทุก
อย่าง. อุปกะจึงบอกว่า ถ้าเราได้แม่นาวา ก็จะมีชีวิตอยู่ ถ้าไม่ได้ก็จะตายใน
ที่นี่แหละประเสริฐกว่า. นายพรานถามว่า ท่านเจ้าข้า ท่านรู้ศิลปะอะไรบ้างละ.
อุปกะตอบว่าเราไม่รู้เลย. นายพรานกล่าวว่า เมื่อไม่รู้ศิลปะอะไรๆ จะอยู่ครอง
เรือนได้หรือ. อุปกะนั้นจึงกล่าวว่า เราไม่รู้ศิลปะจริง ๆ แต่เราจักเป็นคนแบก
เนื้อของท่านมาขายได้นะ. นายพรานคิดว่า เขาชอบกิจการนี่ของเรา จึงให้
ผ้านุ่งผืนหนึ่ง นำไปเรือนมอบธิดาให้. อาศัยการสมสู่ของคนทั้งสองนั้น ก็เกิด
บุตรขึ้นมาคนหนึ่ง. ทั้งสองสามีภรรยาจึงตั้งชื่อบุตรว่า สุภัททะ. เวลาบุตรร้อง
นางจะพูดว่า เจ้าลูกคนแบกเนื้อ เจ้าลูกพรานเนื้อ อย่าร้องดังนี้เป็นต้น เย้ย
หยันอุปกะ ด้วยเพลงกล่อมลูก. อุปกะกล่าวว่า แม่งาม จักเข้าใจว่าข้าไม่มีที่พึ่ง
อยู่หรือ ข้ามีสหายคนหนึ่ง ชื่ออนันตชินะ ข้าจะไปยังสำนักเขา. นางนาวา
รู้ว่า สามีอึดอัดใจด้วยอาการอย่างนี้ จึงกล่าวบ่อย ๆ. วันหนึ่ง อุปกะนั้นไม่
บอกกล่าวก็มุ่งหน้าไปยังมัชฌิมประเทศ.
ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร กรุง
สาวัตถี ทรงสั่งภิกษุทั้งหลายไว้ก่อนว่า ภิกษุทั้งหลาย ผู้ใด มาถามหา
อนันตชินะ พวกท่านจงชี้แจงแก่เขา. แม้ชีวกก็ถามเรื่อย ๆ ไปว่า อนันตชินะ
อยู่ไหนมาถึงกรุงสาวัตถีตามลำดับ ยืนอยู่กลางพระวิหาร ถามว่า อนันตชินะอยู่
ไหน. ภิกษุทั้งหลายก็พาเขาไปยังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า. อุปกะนั้นเห็นพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทูลถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจำข้าได้ไหม. ตรัสว่า เออ อุปกะ
จำได้ซิ ก็ท่านอยู่ไหนละ. ทูลว่า วังกหารชนบท เจ้าข้า. ตรัสว่า อุปกะ. ท่าน
แก่แล้วนะ บวชได้หรือ. ทูลว่า พอจะบวชได้เจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าให้บวช
ประทานกรรมฐานแก่เขา. อุปกะนั้นกระทำกิจในกรรมฐาน ตั้งอยู่ในอนาคามิผล
กระทำกาละแล้ว บังเกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหา แล้วบรรลุพระอรหัตในขณะที่เกิด
นั่นเอง. จริงอยู่ ชน 7 คน พอเกิดในสุทธาวาสชั้นอวิหา ก็บรรลุพระอรหัต.
ในจำนวน 7 คนนั้น อุปกะก็เป็นคนหนึ่ง. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า
ภิกษุ 7 รูปพ้นแล้ว สิ้นราคะโทสะ
แล้ว ข้ามกิเลสที่ซ่านไปในโลก เข้าถึง
สุทธาวาสพรหมชั้นอวิหา คือ คน 3 คน
ได้แก่ อุปกะ ปลคัณฑะ ปุกกุสาติ 4
คนคือ ภัททิยะ ขัณฑเทวะ พาหุทัตติ
และปิงคิยะ ทั่ง 7 คนนั้น ละกายมนุษย์
แล้ว เข้าถึงกายทิพย์.

บทว่า สณฺฐเปสุํ ได้แก่ กระทำกติกา. บทว่า พาหุลฺลิโก ได้แก่
ปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่ความมักมากในจีวรเป็นต้น. บทว่า ปธานวิพฺภนฺโต
ได้แก่ พรากเสื่อมจากความเพียร. บทว่า อาวตฺโต พาหุลฺลาย ได้แก่
เวียนมาเพื่อต้องการจีวรเป็นต้นมาก ๆ. บทว่า อปิจ โข อาสนํ ฐเปตพฺพํ
ความว่า ปัญจวัคคีย์กล่าวว่า พึงวางเพียงอาสนะไว้สำหรับ ท่านผู้เกิดในตระกูล
สูง. บทว่า นาสกฺขึสุ ความว่า ปัญจวัคคีย์ถูกอานุภาพอำนาจของพระพุทธ
เจ้าครอบงำไว้ จึงตั้งอยู่ในกติกาของตนไม่ได้. บทว่า นาเมน จ อาวุโส

วาเทน จ สมุทาจรนฺติ ความว่า เรียกว่า โคตมะ เรียกว่า อาวุโส
อธิบายว่า กล่าวคำเห็นปานนี้ว่า อาวุโสโคดม เวลาที่ท่านบำเพ็ญเพียร ณ
อุรุเวลา พวกเราช่วยกันถือบาตรจีวรเที่ยวไป ถวายน้ำบ้วนโอษฐ์และไม้ชำระ
ฟัน กวาดบริเวณที่อยู่ ภายหลังใครทำวัตรปฏิบัติแก่ท่าน ครั้นพวกเรา
หนีไปแล้ว ท่านไม่คิดบ้างหรือ. บทว่า อิริยาย ได้แก่ ด้วยการ
ดำเนินไปที่ท่าได้ยาก. บทว่า ปฏิปทาย ได้แก่ ด้วยการปฏิบัติที่ทำ
ได้ยาก. บทว่า ทุกฺกรการิกาย ได้แก่ ด้วยการกระทำที่ทำได้ยาก มีทำ
อาหารด้วยถั่วเขียวถั่วพูฟายมือหนึ่ง หรือกึ่งฟายมือเป็นต้น. บทว่า อภิชานาถ
เม โน
ได้แก่ พวกท่านเคยรู้ถึงคำที่เรากล่าวน หรือ. บทว่า เอวรูปํ จ
ภาสิตเมตํ
ความว่า การเปล่งถ้อยคำเห็นปานนี้. อธิบายว่า ผู้มีอายุ เรามา
กลางคืนหรือกลางวันเพื่อสงเคราะห์อนุเคราะห์ท่าน อย่าวิตกไปเลยในการ
บำเพ็ญเพียร ณ อุรฺเวลา โอภาส หรือนิมิตปรากฏแก่เราอยู่ เพราะฉะนั้น
จึงได้กล่าวคำบางคำเห็นปานนี้. พวกใครได้สติด้วยพระดำรัสบทเดียวเท่านั้น
เกิดความเคารพเชื่อว่า เอาเถิด ท่านผู้นี้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แล้ว แล้วกล่าวว่า
โน เหตํ ภนฺเต คำนั้นไม่เคยได้ฟังพระเจ้าข้า. บทว่า อสกฺขึ โข อหํ
ภิกฺขเว ปญฺจวคฺคิเย ภิกฺขู สญฺญาเปตุํ
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา
สามารถทำให้ภิกษุปัจวัคคีย์รู้ว่าเราเป็นพระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์. ก็ครั้ง
นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาในวันอุโบสถ ทรงทำให้ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้รู้
ความที่พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า ตรัสธัมมจักกัปปวัตตนสูตรทำพระโกณฑัญญะ
ให้เป็นกายสักขี. เวลาจบพระสูตร พระเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลพร้อมด้วย
พรหม 18 โกฏิ. พระอาทิตย์ยังไม่ทันอัสดงคตเทศนาจบลงแล้ว. พระผู้มี
พระภาคเจ้าเสด็จเข้าจำพรรษาในป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั่นเอง. คำว่า เทฺวปิ- .
สุทํ ภิกฺขเว ภิกฺขู โอวทามิ
เป็นต้น ตรัสเพื่อแสดงการไม่เสด็จเข้าบ้าน
แม้เพื่อบิณฑบาต ตั้งแต่วันปาฏิบทแรมค่ำหนึ่ง. เพื่อจะทรงชำระมลทินที่เกิด

ขึ้นในพระกรรมฐานของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ประ-
ทับอยู่ภายในพระวิหารเท่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นได้ไปยังสำนักของพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าแล้วทูลถามถึงมลทินของพระกรรมฐานที่เกิดขึ้น ๆ. ฝ่ายพระผู้มีพระ
ภาคเจ้าเสด็จไปยังที่ที่ภิกษุเหล่านั้นนั่ง ทรงบรรเทามลทิน. ลำดับนั้น บรรดา
ภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำภัตรออกไปอย่างนี้
โอวาทอยู่ พระวัปปเถระได้เป็นพระโสดาบันในวันปาฏิบท. แรม 2 ค่ำพระ-
ภัททิยะ แรม 3 ค่ำพระมหานามะ แรม 4 ค่ำพระอัสสชิ. ในวันแรม 5 ค่ำ
ของปักษ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าให้พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้นทั้งหมดประชุมรวมกัน
ตรัสอนัตตลักขณสูตร. เวลาจบพระสูตร ภิกษุทั้งหมดตั้งอยู่ในพระอรหัตผล.
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อถโข ภิกฺขเว ปญฺจวคฺคิยา
ภิกฺขู ฯเปฯ อนุตฺตรํ โยคกฺเขมํ นิพฺพานํ อชฺฌคมํสุ
ดังนี้. บทว่า
นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามมรรคใดไว้
ก่อน เมื่อทรงแสดงอนุสนธิเป็นอันเดียวกันดังนี้ว่า แม้พวกเธอก็ขึ้นสู่ทางของ
เราและของปัญจวัคคีย์ การแสวงหาของพวกเธอ ชื่อว่าอริยปริเยสนา ดังนี้
จึงทรงนำกถามรรคเพียงเท่านั้น.
บัดนี้ ก็เพราะเหตุที่การแสวงหากามคุณ 5 เป็นอนริยปริเยสนาของ
คฤหัสถ์ทั้งหลาย เป็นอนริยปริเยสนา แม้ของเหล่าบรรพชิตผู้ไม่พิจารณา
บริโภคปัจจัย 4 ด้วยโดยอำนาจกามคุณ 5 ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงข้อนั้น
จึงตรัสว่า ปญฺจิเม ภิกฺขเว กามคุณา เป็นต้น. ในกามคุณ 5 เหล่านั้น
กามคุณ 4 มีรูปที่พึงรู้ด้วยจักษุเป็นต้น ย่อมได้ในปัจจัย มีบาตรและจีวร
เป็นต้นที่ได้มาใหม่. ส่วนรสในกามคุณนั้น ก็คือรสในการบริโภค กามคุณ
แม้ทั้ง 5 ย่อมได้ในบิณฑบาตและเภสัชที่พอใจ. กามคุณ 4 ย่อมได้ในเสนา
สนบริขารเหมือนในจีวร. ส่วนรสในเสนาสนบริขารแม้นั้น ก็คือรสในการ

บริโภคนั้นเอง. เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มว่า เย หิ เกจิ
ภิกฺขเว
ดังนี้. เพราะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงกามคุณ 5 อย่างนี้
แล้ว บัดนี้ เพื่อต้องการจะปฏิเสธพวกที่กล่าวอย่างนี้ว่า ชื่อว่าอนริยปริเยสนา
ตั้งแต่บวช จะเป็นอริยปริเยสนาของบรรพชิตได้ที่ไหน จึงทรงเริ่มเทศนานี้
เพื่อแสดงว่า การบริโภคด้วยการไม่พิจารณาในปัจจัย 4 เป็นอนริยปริเยสนา
แม้ของบรรพชิต. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คธิตา ได้แก่ กำหนัดด้วย
ความกำหนัดด้วยอำนาจตัณหา. บทว่า มุจฺฉิตา ได้แก่ สยบด้วยความสยบด้วย
อำนาจตัณหา. บทว่า อชฺฌาปนฺนา ได้แก่ ถูกตัณหาครอบงำแล้ว. บทว่า
อนาทีนวทสฺสาวิโน ได้แก่ ไม่เห็นโทษ. ปัจจเวกขณญาณ ท่านเรียกว่า
นิสสรณะ ในคำว่า อนิสฺสรณปฺปญฺญา เว้นปัจจเวกขณญาณนั้น.
บัดนี้ เมื่อทรงแสดงอุปมาที่จะสาธกเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ
ภิกฺขเว
เป็นอาทิ พึงทราบข้อเปรียบเทียบในคำนั้นดังนี้ . ความว่า สมณ-
พราหณ์เหมือนเนื้อในป่า ปัจจัย 4 เหมือนบ่วงที่พรานดักไว้ในป่า เวลาที่
สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่พิจารณาบริโภคปัจจัย 4 เหมือนเวลาที่พรานนั้นดัก
บ่วงแล้วนอน เวลาที่สมณพราหมณ์ทั้งหลายถูกมารกระทำตามชอบใจตกไปสู่
อำนาจมาร เหมือนเวลาที่เมื่อพรานมาเนื้อไปไม่ได้ตามชอบใจ. อนึ่ง การ
พิจารณาในปัจจัย 4 แล้วบริโภค ของสมณพราหมณ์ พึงเห็นเหมือนเวลาที่
เนื้อยังไม่ติดบ่วงนอนทับบ่วงเสีย การไม่ตกไปสู่อำนาจมารของสมณพราหมณ์
พึงทราบเหมือนเมื่อพรานมาเนื้อก็ไปได้ตามชอบใจ. บทว่า วิสฏฺโฐ ได้แก่
ปลอดความกลัว ปลอดความระแวง. บทที่เหลือในที่ทุกแห่งมีความง่ายทั้งนั้น .
จบอรรถกถาปาสราสิสูตร ที่ 6

7. จูฬหัตถิปโทปมสูตร


[329] ข้าพเจ้าได้ถึงมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ชาณุโสณีพราหมณ์ ออก
จากกรุงสาวัตถีด้วยรถที่เทียมด้วยลา มีเครื่องประดับขาวทุกอย่าง ในเวลา
เที่ยงวัน ได้เห็นปิโลติกปริพาชกเดินมาแต่ไกล แล้วได้กล่าวกะปิโลติกปริพาชก
ดังนี้ว่า เออแน่ะ ท่านวัจฉายนะมาจากไหนแต่เที่ยงวันเทียว. ปิโลติกปริพาชก
ตอบว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาในที่นี้จากสำนักของพระสมณโคดมนั่นแล.
ชาณุโสณีพราหมณ์ถามว่า ท่านผู้เจริญ บัณฑิตย่อมสำคัญความมีปัญญาและ
ความฉลาดของพระสมณโคดมเป็นอย่างไร. ปิโลติกปริพาชกตอบว่า ท่านผู้เจริญ
ก็ไฉนข้าพเจ้าจักรู้ความมีปัญญาและความฉลาดของพระสมณโคดมได้ แม้ผู้ที่
จะพึงรู้ความมีปัญญาและความฉลาดของท่านพระสมณโคดมได้ ก็ต้องเป็นเช่น
ท่านพระสมณโคดมแน่แท้ทีเดียว. ชาณุโสณีพราหมณ์กล่าวว่า ท่านวัจฉายนะ
สรรเสริญท่านพระสมณโคดมด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง. ปิโลติกปริพาชก
กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจักสรรเสริญท่านพระสมณโคดมได้อย่างไรเล่า
เพราะท่านพระสมณโคดมนั้น ใคร ๆ ก็สรรเสริญแล้วสรรเสริญเล่า ท่านเป็น
ผู้ประเสริฐกว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ชาณุโสณีพราหมณ์ถามว่า ท่าน
วัจฉายนะเห็นอำนาจประโยชน์อะไรเล่า จึงเป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในพระสมณโคดม
ถึงเพียงนี้.

รอยเท้า 4 อย่าง


[330] ปิโลติกปริพาชกตอบว่า ท่านผู้เจริญ ทำไมข้าพเจ้าจึงเป็นผู้
เลื่อมใสยิ่งในท่านพระสมณโคดมถึงอย่างนี้ ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือนคน