เมนู

อรรถกถาปาสราสิสูตร


ปาสราสิสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในปาสราสิสูตรนั้น บทว่า สาธุ มยํ อาวุโส ได้แก่
กล่าวขอร้อง. เล่ากันมาว่า ภิกษุชาวชนบทประมาณ 500 เหล่านั้น คิดจะ
เฝ้าพระทศพล จึงไปถึงเมืองสาวัตถี. ก็ภิกษุเหล่านั้นได้เฝ้าพระศาสดาแล้ว
ยังมิได้ฟังธรรมีกถาก่อน. ด้วยความเคารพในพระศาสดา ภิกษุเหล่านั้นจึงไม่
สามารถจะกราบทูลว่า พระเจ้าข้าขอพระองค์โปรดแสดงธรรมีกถาแก่พวก
ข้าพระองค์เถิด. เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นครู ยากที่จะเข้าพบ เหมือน
พญาราชสีห์ ตัวเที่ยวไปตามลำพัง เหมือนกุญชรที่ตกมัน เหมือนอสรพิษที่แผ่
พังพาน เหมือนกองไฟใหญ่. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เข้าถึงได้ยาก
เหมือนงูพิษ เหมือนไกรสรราชสีห์
เหมือนพญาช้าง.

ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจจะวิงวอนพระศาสดาผู้ที่เข้าพบได้ยาก อย่างนี้ด้วยตนเอง
จึงขอร้องท่านพระอานนท์ว่า สาธุ มยํ อาวุโส ดังนี้. บทว่า อปฺเปว นาม
ได้แก่ ไฉนหนอ พวกเราจะพึงได้.
ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า พวกเธอพึงเข้า
ไปยังอาศรมของรัมมกพราหมณ์. เพราะมีกิริยาปรากฏ. เพราะกิริยาของพระ-
ทศพลย่อมปรากฏแก่พระเถระ. พระเถระทราบว่า วันนี้พระศาสดาประทับอยู่
ที่พระเชตวัน ทรงพักผ่อนกลางวันในปุพพาราม วันนี้เสด็จเข้าบิณฑบาต

ลำพังพระองค์ วันนี้แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ เวลานี้เสด็จจาริกไปในชนบท.
ถามว่า ก็เจโตปริยญาณ ย่อมมีเพื่อให้ท่านรู้อย่างนี้ได้อย่างไร. ตอบว่าไม่มี.
ท่านรู้โดยถือนัยตามกิริยาที่ทำไว้โดยรู้ตามคาดคะเน. จริงอยู่ วันนั้นพระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน มีพระพุทธประสงค์จะทรงพักผ่อน
กลางวันในปุพพาราม ในเวลาใด ในเวลานั้น ทรงแสดงอาการ คือการ
เก็บงำเสนาสนะและเครื่องบริขาร. พระเถระเก็บงำไม้กวาดและสักการะที่เขา
ทิ้งไว้เป็นต้น. แม้ในเวลาที่ประทับอยู่ในปุพพารามแล้วเสด็จมาพระเชตวัน
พักกลางวันก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็คราวใดมีพระพุทธประสงค์จะเสด็จเที่ยวไป
บิณฑบาตตามลำพัง คราวนั้นก็จะทรงปฏิบัติสรีรกิจแต่เช้า เข้าพระคันธกุฏี
ปิดพระทวารเข้าผลสมาบัติ. พระเถระทราบด้วยสัญญานั้นว่า วันนี้พระผู้มี
พระภาคเจ้าประทับนั่งตรวจเหล่าสัตว์ที่ควรตรัสรู้ แล้วจึงให้สัญญาแก่ภิกษุ
ทั้งหลายว่า อาวุโสทั้งหลาย วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะเข้าไปตาม
ลำพัง พวกท่านจงเตรียมภิกษาจาร. ก็คราวใดมีพระประสงค์จะมีภิกษุเป็น
บริวารเสด็จเข้าไป คราวนั้นจะทรงแง้มทวารพระคันธกุฏี ประทับนั่งเข้าผล
สมาบัติ. พระเถระทราบด้วยสัญญานั้น จึงให้สัญญาแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อรับ
บาตรจีวร. แต่คราวใด มีพระพุทธประสงค์จะเสด็จจาริกไปในชนบท คราวนั้น
จะเสวยเกินคำสองคำ และเสด็จจงกรมไป ๆ มา ๆ ทุกเวลา. พระเถระทราบ
ด้วยสัญญานั้น จึงให้สัญญาแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มี
พระภาคเจ้ามีพระพุทธประสงค์จะเสด็จจาริกไปในชนบท พวกท่านจงทำกิจที่
ควรทำของท่านเสีย. พระผู้มีพระภาคเจ้าในปฐมโพธิกาลประทับอยู่ไม่ประจำ
20 พรรษา ภายหลังประทับประจำกรุงสาวัตถี 25 พรรษาเลียด วันหนึ่ง ๆ
ทรงใช้สองสถาน. กลางคืนประทับอยู่ในพระเชตวัน รุ่งขึ้นแวดล้อมด้วย
ภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าบิณฑบาตกรุงสาวัตถีทางประตูทิศใต้ เสด็จออกทางประตู

ทิศตะวันออก ทรงพักผ่อนกลางวันในปุพพาราม. กลางคืนประทับอยู่ใน
ปุพพาราม รุ่งขึ้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตยังเมืองสาวัตถี ทางประตูด้านทิศ
ตะวันออก แล้วเสด็จออกทางประตูด้านทิศใต้ ทรงพักผ่อนกลางวันในพระ-
เชตวัน. เพราะเหตุไร. เพราะจะทรงอนุเคราะห์แก่ 2 ตระกูล. จริงอยู่ ธรรมดา
ว่า คนใดคนหนึ่งผู้ตั้งอยู่ในความเป็นมนุษย์ เหมือนท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี
และหญิงคนอื่นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นมาตุคาม เหมือนนางวิสาขามหาอุบาสิกาที่
จะทำบริจาคทรัพย์อุทิศพระตถาคตย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงใช้ฐานะ 2 เหล่านั้น ในวันเดียวกัน เพราะอนุเคราะห์แก่ตระกูลนั้น.
ก็ในวันนั้น พระองค์ประทับอยู่ในพระเชตวัน. เพราะฉะนั้น เถระจึงคิดว่า วันนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมืองสาวัตถี ในเวลาเย็น จักเสด็จ
ไปยังซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก เพื่อจะทรงสรงสนานพระองค์ เมื่อเป็นเช่นนี้
เราจึงทูลวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับยืนสรงสนานพระองค์แล้วไปยึด
อาศรมของรัมมกพราหมณ์ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุเหล่านี้จึงจักได้ฟังธรรมีกถา
เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล้ว จึงได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้น
อย่างนี้.
บทว่า มิคารมาตุปาสาโท ได้แก่ ปราสาท ของนางวิสาขาอุบาสิกา.
จริงอยู่ นางวิสาขานั้น ท่านเรียกว่า มิคารมาตา เพราะมิคารเศรษฐี สถาปนาไว้
ในฐานเป็นมารดา. บทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺฐิโต ความว่า เขาว่า ใน
ปราสาทนั้น ได้มีห้องอันทรงศิริสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรงกลางห้องอัน
ทรงศิริสำหรับพระมหาสาวกทั้ง 2. พระเถระเปิดทวาร กวาดภายในห้อง
นำซากมาลาออก จัดเตียงและตั่งแล้วได้ถวายสัญญาแด่พระศาสดา. พระศาสดา
เสด็จเข้าสู่ห้องอันทรงศิริ มีสติสัมปชัญญะทรงบรรทมสีหไสยาสน์โดยประปรัศว์
เบื้องขวา ทรงระงับความกระวนกระวาย ลุกขึ้นประทับ นั่งเข้าผลสมาบัติ

ออกจากผลสมาบัติในเวลาเย็น. ท่านหมายเอาคำนั้นจึงกล่าวว่า ปฏิสลฺลานา
วุฏฺฐิโต.
บทว่า ปริสิญฺจิตุํ ความว่า กู้ผู้ใดขัดสีตัวด้วยผงดินเป็นต้น หรือ
ขัดสีด้วยหินขัดเป็นต้น จึงอาบ ผู้นั้น ท่านเรียกว่า ย่อมอาบ. ผู้ใดไม่กระทำ
อย่างนั้น. อาบตามปกตินั่นเอง ผู้นั้นท่านเรียกว่า ย่อมรด. ขึ้นชื่อว่าน้ำอันเจือ
ด้วยธุลีที่จะพึงนำไปเช่นนั้น ไม่ติดอยู่ในพระสรีระแม้ของพระตถาคต แต่เพื่อ
จะถือตามฤดูกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมลงสรงน้ำอย่างเดียว. ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า คตฺตานิ ปริสิญฺจิตุํ ทรงรดพระกาย. บทว่า ปุพฺพโกฏฺฐโก
แปลว่า ซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก.
เล่าว่า ในกรุงสาวัตถี บางคราววิหารก็ใหญ่ บางคราวก็เล็ก. ครั้ง
นั้นแล วิหารนั้น ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี มีขนาดโยชน์
1 ครั้งพระสิขีพุทธเจ้า ขนาด 3 คาวุต ครั้งพระเวสสภูพุทธเจ้า ขนาดกึ่งโยชน์
ครั้งพระกกุสันธพุทธเจ้า ขนาด 1 คาวุต ครั้งพระโกนาคมนพุทธเจ้าขนาดครึ่ง
คาวุต ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้า ขนาด 20 อุสภะ. ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าของ
เราทั้งหลาย มีขนาด 8 กรีส. แม้นครนั้น บางครั้งก็อยู่ทิศตะวันออกของ
วิหารนั้น บางครั้งก็ทิศใต้ บางครั้งก็ทิศตะวันตก บางครั้งก็ทิศเหนือ. ก็ใน
พระคันธกุฎีเชตวันวิหาร สถานที่ประดิษฐ์เท้าพระแท่นสี่เท้าแน่นสนิท. จริงอยู่
ขึ้นชื่อว่า เจตียสถานอันติดแน่น 4 แห่ง คือ สถานที่ตั้งมหาโพธิบัลลังก์ 1
สถานที่ประกาศพระธรรมจักรในป่าอิสิปตนะ 1 สถานที่เป็นที่ประดิษฐานบันได
ครั้งเสด็จลงจากเทวโลก ณ สังกัสสนคร 1 สถานที่ตั้งพระแท่น (ปรินิพพาน)
1. ก็ซุ้มประตูด้านหน้านี้เป็นซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก ครั้งพระวิหาร 20
อสุภของพระกัสสปทศพล. แม้บัดนี้วิหารนั้นก็ยังปรากฏว่า ซุ้มประตูด้านหน้า
อยู่นั้นเอง. ครั้งพระกัสสปทศพล แม่น้ำอจีรวดี ไหลล้อมนคร ถึงซุ้มประตู
ด้านหน้า ถูกน้ำเซาะทำให้เกิดสระน้ำใหญ่มีท่าเรียบลึกไปตามลำดับ. ณ ที่นั้น

มีท่าน้ำน่ารื่นรมย์ มีทรายเสมือนแผ่นเงินหล่นเกลื่อนแยกกันเป็นส่วน ๆ
อย่างนี้คือ ท่าน้ำสำหรับพระราชาท่า 1 สำหรับชาวพระนครท่า 1 สำหรับ
ภิกษุสงฆ์ท่า 1 สำหรับ พระพุทธเจ้าทั้งหลายท่า 1. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
กับท่านพระอานนท์ จึงเสด็จเข้าไปยังที่ซุ้มประตูด้านหน้าอันนี้ตั้งอยู่ เพื่อ
สรงสนาน พระองค์. ครั้งนั้นท่านพระอานนท์น้อมผ้าสรงน้ำเข้าไปถวาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปลื้องผ้าแดง 2 ชั้น ทรงนุ่งผ้าอาบน้ำ. พระเถระ
รับจีวรผืนใหญ่กับผ้า 2 ชั้น ไว้ในมือของตน. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลง
สรงน้ำ. ฝูงปลาและเต่าในน้ำก็มีสีเหมือนทองไปหมด พร้อมกับที่พระองค์
เสด็จลงสรงน้ำ. กาลนั้นได้เป็นเหมือนเวลาเอาทะนานยนต์รดสายน้ำทอง และ
เหมือนเวลาแผ่แผ่นทอง. ครั้งเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมเนียม
การสรงน้ำ ทรงสรงน้ำเสด็จขึ้นแล้ว พระเถระก็น้อมผ้าผืนแดง 2 ชั้นถวาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งผ้านั้น ทรงคาดประคดเอวเสมือนสายฟ้า ทรงจับ
จีวรผืนใหญ่ที่ชายทั้งสองรวบชายน้อมเข้ามาทำให้เป็นเหมือนกลีบปทุมประทับ
ยืนอยู่. ด้วยเหตุนั้น ท่านจงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรงพระองค์ที่
ซุ้มประตูด้านหน้า เสด็จขึ้นประทับยืนมีจีวรผืนเดียว. ก็พระสรีระของพระผู้มี
พระภาคเจ้าผู้ประทับยืนอย่างนี้ รุ่งโรจน์เหมือนสระที่เต็มไปด้วยดอกบัว เเละ
อุบลกำลังแย้ม เหมือนต้นปาริฉัตตกะที่มีดอกบานสะพรั่ง และเหมือนท้องฟ้า
ที่ระยิบระยับไปด้วยดาวและพยับแดด เหมือนจะเรียกร้องเอามิ่งขวัญ แลกลุ่ม
ลักษณะอันประเสริฐ 32 ของพระองค์ ซึ่งงดงามแวดล้อมด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง
ไพโรจน์อย่างยิ่งเหมือนดวงจันทร์ 32 ดวง ดวงอาทิตย์ 32 ดวงที่ร้อยวางไว้
เหมือนพระเจ้าจักพรรดิ 32 องค์ เทวราช 32 องค์ และมหาพรหม 32 องค์
ที่สถิตอยู่ตามลำดับ. นี้ชื่อว่าวรรณภูมิ พึงทราบกำลังของพระธรรมกถึกใน
ฐานะเห็นปานนี้ว่า พระธรรมกถึกผู้สามารถควรจะนำเนื้อความอุปมาและเหตุ

มากล่าวสรรเสริญพระสรีระและพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายในฐานะเห็น
ปานนี้ ด้วยจุณณิยบท หรือ คาถาทั้งหลายให้บริบูรณ์.
บทว่า คตฺตานิ ปุพฺพาปยมาโน ความว่า รอความเป็นปกติ
กระทำให้พระกายหมดน้ำ อธิบายว่า ทำให้แห้ง. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้ามี. พระวรกายชุ่มด้วยน้ำ ทรงห่มจีวรก็เกิดเป็นดอก. เครื่องบริขารก็เสีย.
แต่น้ำที่เจือธุลีย่อมไม่ติดในพระสรีระของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย น้ำก็กลิ้งกลับ
ไปเหมือนหยาดน้ำที่ใส่บนใบบัว. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะความเคารพใน
สิกขา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงจับจีวรผืนใหญ่ทั้งสองมุม ด้วยทรงพระดำริ
ว่า นี่ ชื่อว่าธรรมเนียมของบรรพชิตประทับยืนปิดพระกายเบื้องหน้า. ขณะนั้น
พระเถระคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห่มจีวรใหญ่ จักกลับพระองค์ลำบาก
ตั้งแต่เริ่มเสด็จสู่มิคารมาตุปราสาท ชื่อว่าเปลี่ยนพุทธประสงค์ย่อมหนัก เหมือน
เหยียดมือจับราชสีห์ ที่เที่ยวตัวเดียว เหมือนจับงวงช้างตกมันและเหมือนจับ
คออสูรพิษที่กำลังแผ่แม่เบี้ย จึงพรรณนาคุณอาศรมของรัมมกพราหมณ์ ทูล
วอนพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อเสด็จไป ณ ที่นั้น. พระเถระได้กระทำอย่างนั้น.
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข อายสฺมา อานนฺโท ฯเปฯ อนุกมฺปํ
อุปาทาย
ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุกมฺปํ อุปาทาย ได้แก่
อาศัยความอนุเคราะห์ภิกษุ 500 รูป ผู้ไปสู่อาศรมนั้นด้วยตั้งใจจักฟังธรรมีกถา
เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า อธิบายว่า กระทำความกรุณาในภิกษุ
ทั้งหลาย. บทว่า ธมฺมิยา กถาย ความว่า นั่งประชุมกันชมพระบารมี 10
ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง และมหาภิเนษกรมณ์. บทว่า อาคยมาโน ได้แก่
ชะเง้อดู อธิบายว่า ไม่ผลุนพลันเสด็จเข้าไปด้วยถือพระองค์ว่า เราเป็น
พระพุทธเจ้าประทับยืนอยู่จนกว่าเขาจะพูดกันจบ บทว่า อคฺคฬํ อาโกเฏสิ
ได้แก่ เคาะประตู. บทว่า วิวรึสุ ความว่า ทันใดนั้นนั่นเอง ภิกษุทั้งหลายก็มา

เปิดประตู. เพราะนั่งคอยเงี่ยหูฟังอยู่แล้ว. บทว่า ปญฺญตฺเต อาสเน ความว่า
ได้ยินว่า ครั้งพุทธกาล ภิกษุถึงอยู่รูปเดียวในที่ใด ๆ ก็จัดพุทธอาสน์ไว้ในที่
นั้นๆ ทั้งนั้น.
เพราะเหตุใด. เขาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงใส่พระทัยถึงภิกษุที่
เรียนกรรมฐานในสำนักของพระองค์แล้วอยู่ในที่ผาสุกว่า ภิกษุรูปโน้น รับ
กรรมฐานในสำนักของเราไปแล้ว สามารถทำคุณวิเศษให้บังเกิดขึ้นหรือไม่หนอ.
ลำดับนั้น ทรงเห็นภิกษุนั้นละเลยกรรมฐาน กำลังตรึกอกุศลวิตก แต่นั้นก็ทรง
พระดำริว่า อย่างไรเล่า อกุศลวิตกทั้งหลายจึงครอบงำกุลบุตรผู้นี้ซึ่งเรียน
กรรมฐานในสำนักของศาสดาเช่นเรา ให้จมลงในวัฏฏทุกข์ ซึ่งติดตามไปรู้ไม่
ได้ จึงทรงแสดงพระองค์ในที่นั้นนั่นแหละ เพื่ออนุเคราะห์กุลบุตรนั้น ทรง
โอวาทกุลบุตรนั้นแล้ว เสด็จเหาะกลับไปที่ประทับของพระองค์. ลำดับนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายได้รับโอวาทอย่างนั้น จึงคิดว่า พระศาสดาทรงทราบใจของพวกเรา
จึงเสด็จมาแสดงพระองค์ประทับยืนอยู่ใกล้ ๆ พวกเรา ในขณะนั้น ชื่อว่าการ
แสวงหาอาสนะเป็นภาระด้วยกราบทูลว่า พระเจ้าข้า โปรดประทับนั่งในที่นี้
โปรดประทับนั่งที่นี้ จึงจัดอาสนะไว้อยู่. ภิกษุใดมีตั่ง ภิกษุนั้นก็จัดตั่ง ภิกษุใด
ไม่มี ภิกษุนั้นก็จัดเตียง หรือแผ่นกระดาน ไม้หินหรือกองทราย. เมื่อไม่ได้
ก็ดึงเอาใบไม้เก่า ๆ มาลาดตั้งเป็นกองไว้ในที่นั้น. แต่ในเรื่องนี้มีอาสนะที่จัด
ไว้ตามปกติทั้งนั้น. ท่านหมายเอาอาสนะนั้น จึงกล่าวว่า ปญฺญตฺเต อาสเน
นิสีทิ
ดังนี้.
บทว่า กายนุตฺถ ความว่า ท่านทั้งหลายนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร
หนอ. บาลีว่า กายเนตฺถ ดังนี้ ก็มี. แม้บาลีนั้นก็มีเนื้อความว่า พวกเธอนั่ง
ประชุมกันในที่นี้ด้วยเรื่องอะไรหนอ. บาลีว่า กายโนตฺถ ได้แก่ เรื่องอื่นอย่างหนึ่ง
เนื้อความอย่างข้อนี้เหมือนกัน. บทว่า อนฺตรากถา ได้แก่ เรื่องอื่นอย่างหนึ่ง
ระหว่างการใส่ใจการเรียน การสอบถามกรรมฐานเป็นต้น. บทว่า วิปฺปกตา

ได้แก่ ยังไม่จบ คือยังไม่ถึงที่สุดเพราะการมาของเราเป็นปัจจัย. บทว่า
อถ ภควา อนุปฺปตฺโต ความว่า ครั้งนั้น คือกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จมา. บทว่า ธมฺมี กถา วา ได้แก่ หรือธรรมีกถาที่อิงกถาวัตถุ 10.
ก็ในคำว่า อริโย วา ตุณฺหีภาโว นี้ ทั้งทุติยฌาน ทั้งมูลกรรมฐาน พึง
ทราบว่า อริยดุษณีภาพ เพราะฉะนั้น ภิกษุนั่งเข้าฌานนั้นก็ดี นั่งกำหนด
มูลกรรมฐานเป็นอารมณ์ก็ดี พึงทราบว่านั่งโดยอริยดุษณีภาพ. คำว่า เทฺวมา
ภิกฺขเว ปริเยสนา
มีอนุสนธิเป็นอันเดียวกัน. ภิกษุเหล่านั้นได้กระทำให้
เป็นภาระของพระเถระด้วยตั้งใจจักฟังธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์. พระเถระได้
กระทำที่ไปอาศรมของภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้นนั่งในที่นั้น มิใช่สนทนา
กันด้วยเรื่องดิรัจฉานกถา หากนั่งสนทนากันด้วยเรื่องธรรมะ. ครั้งนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มเทศนานี้ เพื่อแสดงว่า การแสวงหาของพวกเธอนี้ ชื่อว่า
อริยปริเยสนา.
บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า กตมา จ ภิกฺขเว อนริยปริเยสนา
นี้ ความว่า บุรุษผู้ฉลาดในหนทาง เมื่อแสดงทางอุบายที่ควรเว้นก่อน จึงกล่าว
ว่า จงละทางซ้าย ถือเอาทางขวา ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น เพราะ
ความที่ทรงเป็นผู้ฉลาดเทศนา จึงทรงบอกการแสวงหาอันมิใช่อริยะที่พึงละเว้น
เสียก่อน ตอนหลังจึงทรงแยกลำดับอุทเทสก่อนว่า เราจักบอกการแสวงหา
นอกนี้ ดังนี้แล้วจึงตรัสอย่างนี้.
บทว่า ชาติธมฺโม แปลว่า มีการเกิดเป็นสภาวะ.
บทว่า ชราธมฺโม แปลว่า มีความแก่เป็นสภาวะ.
บทว่า พฺยาธิธมฺโม แปลว่า มีความเจ็บไข้เป็นสภาวะ.
บทว่า มรณธมฺโม แปลว่า มีความตายเป็นสภาวะ.
บทว่า โสกธมฺโม แปลว่า มีความโศกเป็นสภาวะ.

บทว่า สงฺกิเลสธมฺโม แปลว่า มีความเศร้าหมองเป็นสภาวะ. บทว่า
ปุตฺตภริยํ ได้แก่ บุตรและภรรยา. ในบททั้งปวงก็นัยนี้. ก็ในคำว่า ชาตรู-
ปรชฏํ
นี้ ชาตรูปํ ได้แก่ ทอง. รชฏํ ได้แก่ มาสกโลหะเป็นต้นอย่างใด
อย่างหนึ่งที่เขาสมมติกัน. ด้วยบทว่า ชาติธมฺมา เหเต ภิกฺขเว อุปธโย
ทรงแสดงว่า กามคุณ 5 เหล่านั้น ชื่อ อุปธิ อุปธิทั้งหมดนั้นมีความเกิดเป็น
ธรรม. ทองและเงินท่านไม่ถือเอาใน พฺยาธิธมฺมวาร เป็นต้น เพราะทอง
และเงินนั้นไม่มีพยาธิมีโรคศีรษะเป็นต้น ไม่มีมรณะกล่าวคือจุติเหมือนสัตว์
ทั้งหลาย ไม่เกิดความโศก แต่ย่อมเศร้าหมองด้วยสังกิเลสมีชราเป็นต้น เพราะ
ฉะนั้น ท่านจึงถือเอาในสังกิเลสสิกธรรมวาระ ทั้งถือเอาในชาติธรรมวาระ
ด้วย เพราะมีฤดูเป็นสมุฏฐาน ทั้งถือเอาในชราธรรมวาระด้วย เพราะสนิมจับ
จึงคร่ำคร่า. บทว่า อยํ ภิกฺขเว อริยปริเยสนา ความว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย การแสวงหานี้ พึงทราบว่า การแสวงหาของพระอริยะ เพราะไม่มี
โทษในตัวเองบ้าง เพราะพระอริยะพึงแสวงหาบ้าง.
ถามว่าเพราะเหตุไร จึงเริ่มคำว่า อหํปิ สุทํ ภิกขเว. แก้ว่า เพื่อ
แสดงการเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ตั้งแต่เดิม. ได้ยินว่า พระองค์มีพระดำริ
อย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็เสาะแสวงสิ่งที่ไม่ใช่อริยะมาแต่ก่อน เรานั้นละ
การแสวงหาอันไม่ใช่อริยะนั้นแล้วแสวงหาสิ่งที่เป็นอริยะจึงบรรลุสัพพัญญุตญาณ
แม้พระปัญจวัคคีย์ก็แสวงหาสิ่งที่ไม่ใช่อริยะพวกเธอก็ละสิ่งที่ไม่ใช่อริยะนั้นแสวง
หาสิ่งที่เป็นอริยะ บรรลุขีณาสวภูมิ แม้พวกท่าน ก็ดำเนินตามทางเราและของ
พระปัญจวัคคีย์ การแสวงหาอันเป็นอริยะจึงจัดเป็นการแสวงหาของพวกท่าน
เพราะฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงการออกมหาภิเนษกรมณ์ของพระองค์ตั้งแต่
เดิมมา. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทหโรว สมาโน แปลว่า กำลังรุ่นหนุ่ม.
บทว่า สุสุกาฬเกโส ได้แก่ ผมดำสนิท อธิบายว่ามีผมสีดังดอกอัญชัน.

บทว่า ภทฺเรน แปลว่างาม. บทว่า ปฐเมน วยสา ได้แก่ตั้งอยู่โดยปฐมวัย
บรรดาวัยทั้ง 3. บทว่า อกามกานํ ได้แก่เมื่อไม่ปรารถนา. บทว่า อกาม-
กานํ
นี้เป็น ฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่ง อนาทร. ชื่อว่า อัสสุมุขา
เพราะมีน้ำเนตรนองพระพักตร์แห่งพระมารดาและบิดา ผู้มีพระพักตร์นองด้วย
น้ำพระเนตร อธิบายว่า ผู้มีพระพักตร์ชุ่มด้วยน้ำพระเนตร. บทว่า รุทนฺตานํ
ได้แก่ ร้องไห้คร่ำครวญอยู่. บทว่า กึกุสลํ คเวสี ได้แก่แสวงหากุศลอะไร.
บทว่า อนุตฺตรํ สนฺติวรปทํ ความว่า แสวงหาบทอันประเสริฐ กล่าวคือ
ความสงบอันสูงสุด ได้แก่พระนิพพาน. บทว่า อาฬาโร ในคำว่า เยน
อาฬาโร นี้เป็นชื่อของดาบสนั้น. ได้ยินว่า ดาบสนั้น ชื่อว่า ทีฆปิงคละ.
ด้วยเหตุนั้นเขาจึงมีนามว่า อาฬาระ. บทว่า กาลาโม เป็นโคตร. บทว่า
วิหารตายสฺมา แปลว่าขอท่านผู้มีอายุเชิญอยู่ก่อน. บทว่า ยตฺถ วิญฺญูปุริโส
ได้แก่ บุรุษผู้เป็นบัณฑิตในธรรมใด. บทว่า สกํ อาจริยกํ ได้แก่ ลัทธิ-
อาจารย์ของตน. บทว่า อุปสมฺปชฺช วิหเรยฺย ได้แก่ พึงเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุ
เท่านี้เป็นอันเขาได้ทำโอกาสแล้ว. บทว่า ตํ ธมฺมํ ได้แก่แบบแผนลัทธิของ
เขาเหล่านั้น. บทว่า ปริยาปุณึ ได้แก่ พอได้ฟังเรียนเอา. บทว่า โอฏฺ-
ฐปหตมตฺเตน
ความว่า ด้วยเหตุเพียงหุบปาก เพื่อรับคำที่เขากล่าว อธิบาย
ว่าเพียงเจรจาปราศรัยกลับ ไปกลับมา. บทว่า ลปิตลาปนมตฺเตน ได้แก่
ด้วยเหตุเพียงถือเอาถ้อยคำที่เขาบ่นเพ้อ. บทว่า ญาณวาทํ ได้วาทะว่าเราจะ
รู้ชัด. บทว่า เถรวาทํ ได้แก่ วาทะว่ามั่นคง. คำนี้หมายความว่าข้าพเจ้า
เป็นผู้มั่นคงในข้อนี้. บทว่า อหญฺเจว อญฺเญ จ ความว่า ไม่ใช่แต่เราจะ
กล่าวเพียงคนเดียวเท่านั้น แม้คนอื่นเป็นอันมากก็กล่าวอย่างนี้. บทว่า เกวลํ
สทฺธามตฺตเกน
ความว่า ด้วยเหตุเพียงศรัทธา อันบริสุทธิ์เท่านั้น มิใช่
กระทำให้แจ้งด้วยปัญญา. ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์ เรียนธรรมด้วยวาจาเท่านั้น

ได้รู้ว่า ท่านกาลามะได้เพียงปริยัติ ด้วยวาจาเพียงอย่างเดียวในธรรมนี้ก็หาไม่
ท่านยังได้สมาบัติ 7 อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนั้นท่านจึงมีความคิดอย่างนี้. บทว่า
อากิญฺจญฺญายตนํ ปเวเทสิ ความว่า ได้ให้เรารู้สมาบัติ 7 อันมีอากิญ-
จัญญายตนสมาบัติเป็นที่สุด. บทว่า สทฺธา ได้แก่ ศรัทธาเพื่อให้เกิดสมาบัติ
7 เหล่านี้. แม้ในความเพียรเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า ปทเหยฺยํ
ได้แก่พึงการทำความพยายาม. บทว่า น จิรสฺเสว ตํ ธมฺมํ สยํ อภิญฺญา
สจฺฉิกตฺวา อุปสมฺปชฺช วิหาสึ
ได้แก่นัยว่าพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญความ
เพียรทำสมาบัติ 7 ให้เกิดขึ้นเพียงเวลา 2-3 วันเท่านั้น เหมือนคลี่ม่านทอง
7 ชั้น เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนั้น.
บทว่า ลาภา โน อาวุโส ความว่า ได้ยินว่า ท่านกาลามะนี้
เป็นคนไม่ริษยา เพราะฉะนั้น ท่านคิดว่าผู้นี้เพิ่งมาทำอะไรทำธรรมนี้ให้บังเกิด
ได้ดังนี้แล้ว ก็ไม่ริษยา กลับเลื่อมใส เมื่อจะประกาศความเลื่อมใสจึงกล่าว
อย่างนี้. บทว่า อุโภ วสนฺตา อิมํ คณํ ปริหราม ความว่า ท่านกล่าวว่า
คณะนี้เป็นคณะใหญ่ เราสองคนมาช่วยกันบริหารเถิด แล้วได้ให้สัญญาแก่คณะ
ท่านกล่าวว่า แม้เราก็ได้สมาบัติ 7 พระมหาบุรุษก็ได้สมาบัติ 7 เหมือนกัน
คนจำนวนเท่านี้เรียนบริกรรมในสำนักของพระมหาบุรุษ จำนวนเท่านี้เรียนใน
สำนักของเรา ดังนี้แล้วได้แบ่งให้ครั้งหนึ่ง. บทว่า อุฬาราย แปลว่า สูงสุด.
บทว่า ปูชาย ได้แก่ เขาว่า ทั้งหญิงทั้งชายที่เป็นอุปัฏฐากของท่านกาลามะ
ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นมา. ท่านกาลามะบอกว่า ท่านทั้งหลายจงไปบูชา
พระมหาบุรุษเถิด. คนเหล่านั้นบูชาพระมหาบุรุษแล้วบูชาท่านกาลามะด้วยของ
ที่เหลือ. คนทั้งหลายนำเตียงตั่งเป็นต้นที่มีค่ามากมาให้เเม้ของเหล่านั้นแก่พระ-
มหาบุรุษ ถ้ามีเหลือ ตนเองจึงรับ. ในที่ที่ไปด้วยกัน ท่านกาลามะสั่งให้จัด
เสนาสนะะอย่างดีแก่พระโพธิสัตว์ ตนเองรับส่วนที่เหลือ. ในคำว่า นายํ
ธมฺโมนิพฺพิทาย
เป็นต้น ความว่า ธรรมคือสมาบัติ 7 นี้ ไม่เป็นไปเพื่อ

เบื่อหน่ายในวัฏฏะ ไม่เป็นไปเพื่อคลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อดับราคะ
เป็นต้น ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ ไม่เป็นไปเพื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง
ไม่เป็นไปเพื่อตรัสรู้สัจจะ 4 ไม่เป็นไปเพื่อทำให้แจ้งพระนิพพาน. บทว่า
ยาวเทว อากิญฺจญฺญายตนูปปตฺติยา ความว่า เป็นไปเพียงเกิดในอากิญ-
จัญญายตนภพ ซึ่งมีอายุประมาณ 60,000 กัปป์ ไม่สูงไปกว่านั้น ธรรมนี้
เป็นธรรมเวียนมาอีก ทั้งให้ถึงฐานะอันใด ฐานะอันนั้น ก็ไม่พ้นจากชาติชรา-
มรณะไปได้เลย ถูกล้อมไว้ด้วยบ่วงมฤตยูทั้งนั้น. ก็แลบุรุษผู้หิวโหยได้โภชนะ
ที่น่าพอใจ บริโภคอิ่มหนำสำราญแล้วทิ้งด้วยอำนาจน้ำดีบ้าง เสลดบ้าง โดยหลง
ลืมเสียบ้าง ไม่เกิดความรู้ว่า เราจักบริโภคข้าวก้อนเดียวกันอีก เปรียบฉันใด
ตั้งแต่นั้นมา พระมหาสัตว์ ก็เปรียบฉันนั้นเหมือนกัน แม้ทำสมาบัติ 7 ให้
บังเกิดด้วยอุตสาหะอย่างมาก เห็นโทษต่างโดยการเวียนมาอีกเป็นต้นนี้ ใน
สมาบัติเหล่านั้น มิได้เกิดจิตคิดว่า เราจักคำนึง หรือจักเข้า จักตั้ง จักออก
หรือ จักพิจารณาธรรมนี้อีก. บทว่า อนลงฺกริตฺวา ได้แก่ ไม่พึงพอใจ
บ่อย ๆ ว่า จะพออะไรด้วยสิ่งนี้ จะพอใจอะไรด้วยสิ่งนี้. บทว่า นิพฺพิชฺช
เเปลว่าระอา. บทว่า อปกฺกมึ แปลว่าได้ไปแล้ว. บทว่า น โข ราโม
อิมํ ธมฺมํ
ความว่า พระโพธิสัตว์เรียนธรรมแม้ในที่นี้ รู้ทั่วแล้วว่า ธรรม
คือสมาบัติ 8 นี้ เป็นธรรมอันอุททกดาบสรามบุตรตั้งไว้เพียงเรียนด้วยวาจา
เท่านั้น แต่ที่แท้ อุททกดาบสฐานบุตร ผู้นี้เป็นผู้ได้สมาบัติ 8 ด้วยเหตุนั้น
พระโพธิสัตว์ จึงคิดอย่างนี้ว่า น โข ราโม ฯเปฯ ชานํ ปสฺสํ วิหาสิ.
คำที่เหลือในข้อนี้พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในวาระต้นนั่นแล. เขตใหญ่
อธิบายว่ากองทรายใหญ่ ชื่อว่า อุรุเวลา ในคำว่า เยน อุรุเวลา เสนา-
นิคโม
นี้. อีกนัยหนึ่ง ทรายท่านเรียกว่า อุรุ เขตแดนเรียกว่า เวลา.
พึงทราบในคำนี้อย่างนี้ว่า ทรายที่เขานำมา เหตุล่วงขอบเขตชื่อว่า อุรุเวลา.

ดังได้สดับมา ในอดีตกาล ครั้งพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติ กุลบุตรประมาณ
10,000 บวชเป็นดาบส อยู่ในประเทศนั้น วันหนึ่งประชุมกัน ตั้งกติกากัน
ไว้ว่า ขึ้นชื่อว่า กายกรรมและวจีกรรมปรากฏแก่ชนทั้งหลายเหล่าอื่น ส่วน
มโนกรรมไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น ผู้ใด ตรึกกามวิตก พยาบาทวิตก หรือ
วิหิงสาวิตก คนอื่นที่จะเตือนผืนนั้นไม่มี ผู้นั้นจงเตือนตนด้วยตนเอง จงเอา
ภาชนะใส่ทรายให้เต็มมาเกลี่ยไว้ในที่นี้ อันนี้เป็นการลงโทษผืนนี้. ตั้งแต่นั้นมา
ผู้ใดตรึกวิตกเช่นนั้น ผู้นั้นก็ต้องเอาภาชนะใส่ทรายมาเกลี่ยลงในที่นั้น กองทราย
ใหญ่เกิดขึ้นโดยลำดับในที่นั้นด้วยประการฉะนี้ ต่อแต่นั้นคนที่เกิดมาในภายหลัง
จึงล้อมกองทรายใหญ่นั้นไว้ทำเป็นเจดีย์สถาน ท่านหมายเอากองทรายใหญ่นั้น
จึงกล่าวว่า อุรุเวลาติ ฯเปฯ อตฺโถ ทฏฺฐพฺโพ.
บทว่า เสนานิคโม แปลว่า นิคมของเสนา. เล่าว่า เหล่าชนครั้ง
ปฐมกัปได้มีการพักกองทัพ อยู่ในที่นั้น เพราะฉะนั้น ที่นั้นเขาจึงเรียกว่า
เสนานิคม ก็มี. ปาฐะว่า เสนานิคาโม ก็มี. อธิบายว่า บิดาของนางสุชาดา
ชื่อว่าเสนานิ บ้านของนายเสนานีนั้น. บทว่า ตทวสรึ แปลว่า รวมลงใน
ที่นั้น. บทว่า รมฺมณียํ ภูมิภาคํ ได้แก่ ภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ ที่งดงามด้วย
ดอกไม้น้ำและบก มีประการต่าง ๆ ที่บานสะพรั่ง. บทว่า ปาสาทิกํ วนสณฺฑํ
ความว่า ได้เห็นไพรสณฑ์ที่ให้เกิดความเลื่อมใสเช่นกับกำหางนกยูง. บทว่า
นทิญฺจ สนฺทนฺตึ ความว่า ได้เห็นแม่น้ำเนรัญชรา มีน้ำใสสีเขียวเย็น เช่น
กับกองแก้วมณีกำลังไหลเอื่อย. บทว่า เสตกํ ได้แก่สะอาดปราศจากเปือกตม.
บทว่า สุปติตฺถํ ได้แก่ประกอบด้วยท่าอันดีที่ลุ่มลึกโดยลำดับ. บทว่า รมฺ-
มณียํ ได้แก่ มีทิวทัศน์น่ารื่นรมย์ มีทรายที่เกลี่ยไว้เสมือนแผ่นเงิน มีปลา
และเต่ามาก. บทว่า สมนฺตา จ โคจรคามํ ความว่า ได้เห็นโคจรคาม
ที่หาภิกษาได้ง่าย สำหรับบรรพชิตผู้มาถึงแล้วสมบูรณ์ไปด้วยคมนาคมในที่ไม่

ไกลโดยรอบประเทศนั้น. บทว่า อลํ วต แปลว่า สามารถหนอ บทว่า
ตตฺเถว นิสีทึ ท่านกล่าวหมายเอาประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์. จริงอยู่
บทว่า ตตฺเถว ในพระสูตรก่อนท่านประสงค์เอาสถานที่ทรงบำเพ็ญทุกกร-
กิริยา ส่วนในพระสูตรนี้ ท่านประสงค์เอาโพธิบัลลังก์ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ตตฺเถว นิสีทึ ดังนี้. บทว่า อลมิทํ ปธานาย ความว่า ประ-
ทับนั่ง ทรงดำริอย่างนี้ว่า ที่นี้สามารถทำความเพียรได้. บทว่า อชฺฌคมึ
ได้แก่บรรลุคือได้เฉพาะแล้ว. บทว่า ญาณญฺจ ปน เม ทสฺสนํ ความว่า
ก็แลพระสัพพัญญุตญาณ ที่สามารถเห็นธรรมทั้งปวง เกิดขึ้นแก่เรา. บทว่า
อกุปฺปา เม วิมุตฺติ ความว่า วิมุตติอันประกอบด้วยพระอรหัตผลของเรา
ชื่อว่า อกุปปะ เพราะไม่กำเริบและเพราะมีอกุปปธรรมเป็นอารมณ์ วิมุตตินั้น
ไม่กำเริบด้วยราคะเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอกุปปะ แม้เพราะไม่
กำเริบ เป็นอกุปปธรรมที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า
อกุปปะ แม้เพราะมีอกุปปธรรมเป็นอารมณ์. บทว่า อยมนฺติมา ชาติ
แปลว่า นี้เป็นชาติสุดท้ายทั้งหมด. ด้วยบทว่า นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว
ท่านแสดงว่า แม้ปัจจเวกขณญาณก็เกิดขึ้นแก่เราอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราไม่มี
ปฏิสนธิอีก. บทว่า อธิคโต แปลว่า แทงตลอดแล้ว. บทว่า ธมฺโม ได้
แก่ธรรมคือสัจจะ 4. คำว่า คมฺภีโร นี้ เป็นคำปฏิเสธความตื้น. บทว่า
ทุทฺทโส ได้แก่ชื่อว่าเห็นยาก พึงเห็นได้โดยลำบาก ไม่อาจเห็นได้โดยง่าย
เพราะเป็นธรรมอันลึก ชื่อว่า รู้ตามได้ยาก รู้ได้โดยลำบาก ไม่อาจรู้ได้โดยง่าย
เพราะเป็นธรรมที่เห็นได้ยาก. บทว่า สนฺโต ได้แก่ดับ. บทว่า ปณีโต ได้แก่
ไม่เร่าร้อน. คำทั้งสองนี้ ท่านกล่าวหมายเอาโลกุตตรธรรมเท่านั้น. บทว่า
อตกฺกาวจโร ได้แก่ เป็นธรรมที่ไม่พึงสอดส่องหยั่งลงด้วยความตรึก คือ
พิจารณาด้วยญาณเท่านั้น.

บทว่า นิปุโณ แปลว่าละเอียด. บทว่า ปณฺฑิตเวทนีโย ได้แก่
อัน เหล่าบัณฑิตผู้ปฏิบัติสัมมาปฏิบัติพึงรู้.
บทว่า อาลยรามา ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมข้องกามคุณ 5 เพราะ
ฉะนั้นกามคุณ 5 นั้น เรียกว่าอาลัย. สัตว์ทั้งหลายย่อมข้องตัณหาวิปริต 108
เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอาลัย. สัตว์ทั้งหลายชื่อว่าอาลยรามา เพราะยินดีด้วย
กามคุณอันเป็นที่อาลัยนั้น. ชื่อว่า อาลยรตา เพราะยินดีในกามคุณอันเป็น
ที่อาลัย. ชื่อว่า อาลยสมฺมุทิตา เพราะยินดีด้วยดีในกามคุณอันเป็นที่อาลัย.
เหมือนอย่างว่า พระราชาเสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยานที่สมบูรณ์ด้วยต้นไม้อัน
เต็มไปด้วยดอกและผลเป็นต้นที่ตกแต่งไว้เป็นอย่างดี ทรงยินดีด้วยสมบัตินั้น ๆ.
ย่อมทรงบันเทิงรื่นเริงเบิกบานไม่เบื่อ แม้เย็นแล้วก็ไม่ปรารถนาจะออกไปฉันใด
สัตว์ทั้งหลายย่อมยินดีด้วยอาลัย คือกามและอาลัยคือตัณหาเหล่านี้ก็ฉันนั้น
ย่อมเบิกบานไม่เบื่ออยู่ในสังสารวัฏ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ
จะทรงแสดงอาลัย 2 อย่างแก่สัตว์เหล่านั้น ให้เหมือนอุทยานภูมิ จึงตรัสคำ
มีอาทิว่า อาลยรามา ดังนี้. บทว่า ยทิทํ เป็นนิบาต. หมายเอาฐานะ
แห่งอาลัยนั้น พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ยํ อิทํ หมายเอาปฏิจจสมุปบาท
พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า โย อยํ ดังนี้. บทว่า อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจ-
สมุปฺปาโท
ความว่า ปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยา. อิทปฺ-
ปจฺจยา
นั่นแล ชื่อว่า อิทปฺปจฺจยตา อิทปฺปจฺจยตา นั้นด้วย ปฏิจจ-
สมุปบาทด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาท. คำว่า
อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปปาโท นี้เป็นชื่อของปัจจัยมีสังขารเป็นต้น. บทว่า
สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นต้นทุกบทเป็นไวพจน์ของพระนิพพาน ทั้งนั้น.
ก็เพราะเหตุที่ความดิ้นรนแห่งสังขารทั้งหมด อาศัยพระนิพพานนั้น ย่อมสงบ
ระงับฉะนั้นนิพพานนั้นท่านจึงเรียกว่า สพฺพสงฺขารสมโถ เป็นที่สงบสังขาร

ทั้งปวง. อนึ่ง เพราะอุปธิทั้งหมดอาศัยพระนิพพานนั้น ย่อมสละคืน ตัณหา
ทั้งปวงย่อมสิ้นไป ราคะคือกิเลสทั้งปวงย่อมคลายไป ทุกข์ทั้งปวงย่อมดับไป.
ฉะนั้น นิพพานนั้นท่านจึงเรียกว่า สพฺพูปธิปฏินิสฺสคฺโค สละคืนอุปธิทั้งปวง
ตณฺหกฺขโย เป็นที่สิ้นตัณหา วิราโค ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส. นิโรโธ ความ
ดับ. ก็ตัณหาท่านเรียกวานะเพราะร้อยรัดเย็บภพกับภพ หรือกรรมกับผล. ชื่อว่า
นิพพานเพราะออกจากตัณหา คือ วานะนั้น.บทว่า โสมมสฺส กิลมโถ ความว่า
ชื่อว่า การแสดงธรรมแก่ผู้ไม่รู้เป็นความลำบากแก่เรา ความลำบากอันใดพึง
มีแก่เรา ความลำบากอันนั้นพึงเป็นความเบียดเบียนแก่เรา. ท่านอธิบายว่า พึง
เป็นความลำบากกายและเป็นการเบียดเบียนกาย ดังนี้. แต่ทั้ง 2 อย่างนั้น
ไม่มีในจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.
บทว่า อปิสฺสุ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าเพิ่มพูน. พระเถระนั้นย่อม
แสดงว่า มิได้มีคำนั้นเท่านั้น แม้คาถาเหล่านั้น ก็ปรากฏแล้ว. บทว่า มํ
แปลว่า แก่เรา. บทว่า อนจฺฉริยา เป็น อนุอจฺฉริยา เป็นอัศจรรย์เล็ก
น้อย. บทว่า ปฏิภํสุ ได้แก่ เป็นทางเดินของญาณกล่าวคือปฏิภาณ คือถึง
ความเป็นข้อที่จะพึงปริวิตก.
บทว่า กิจฺเฉน ได้แก่ ไม่ใช่เป็นทุกขาปฏิทา. จริงอยู่ มรรค 4
ย่อมเป็นสุขาปฏิปทาสำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเทียว. คำนี้ท่านกล่าวหมายเอา
อาคมนียปฏิปทา แห่งพระองค์ผู้ยังมีราคะยังมีโทสะและยังมีโมหะอยู่ทีเดียว
ในกาลทรงบำเพ็ญพระบารมี ทรงตัดศีรษะอันประดับแล้วตกแต่งแล้ว นำเลือด
ในลำพระศอออกควักนัยน์ตาอันหยอดยาตาดีแล้ว ให้ทานวัตถุอย่างอื่นมีอย่างนี้
เป็นต้น คือบุตรผู้เป็นประทีปแห่งตระกูลวงศ์ ภริยาผู้มีจรรยาน่าพอใจแก่ยาจก
ผู้มาแล้วมาเล่า และถึงความตัดถูกทำลายเป็นต้นในอัตตภาพทั้งหลายเช่นกับ
ขันติวาทีดาบส. อักษรในคำว่า หลํ นี้เป็นเพียงนิบาต ความว่าอย่าเลย.

บทว่า ปกาสิตุํ แปลว่า เพื่อแสดง คือ อย่าจำแนก อย่าแสดงสอนธรรม
ที่เราบรรลุแล้วโดยยากอย่างนี้เลย อธิบายว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว จะมี
ประโยชน์อะไร. บทว่า ราคโทสปเรเตหิ ได้แก่ ผู้อันราคะและโทสะ
ถูกต้องแล้ว หรืออันราคะและโทสะครอบงำแล้ว. บทว่า ปฏิโสตคามึ
ได้แก่สัจจธรรม 4 ที่ไปแล้วอย่างนี้ว่า อนิจฺจํ ทุกฺขํ อนตฺตา อสุภํ
(ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่งาม) อันทวนกระแสแห่งธรรมมี
ความเที่ยงเป็นต้น. บทว่า ราครตา ได้แก่ผู้ยินดีแล้วด้วยกามราคะ ภวราคะ
และทิฏฐิราคะ. บทว่า น ทกฺขนฺติ ความว่า ย่อมไม่เห็นโดยสภาวะนี้
ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่งาม ดังนี้. ใครแล จักอาจ
เพื่อทำบุคคลผู้ไม่เห็นเหล่านั้นให้ถือเอาอย่างนี้ได้. บทว่า ตโมกฺขนฺเธน
อาวุตา ความว่า ผู้อันกองอวิชชาท่วมทับแล้ว. บทว่า อปฺโปสฺสุกฺก
ตาย
ได้แก่เพื่อไม่มีความขวนขวาย อธิบายว่า เพื่อไม่ประสงค์จะเทศนา.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จิตของพระองค์จึงน้อมไปอย่างนี้ว่า เรานี้พ้น
แล้วจักทำผู้อื่นให้พ้น ข้ามแล้วก็จักทำผู้อื่นให้ข้ามมิใช่หรือ พระองค์ตั้ง
ความปรารถนาไว้ว่า
เราผู้มีเพศที่ไม่มีใครรู้จัก กระทำให้
แจ้งธรรมในโลกนี้ยังจะต้องการอะไร เรา
บรรลุสัพพัญญุตญาณแล้ว จักทำโลก
พร้อมทั้งเทวโลกให้ข้าม

ดังนี้แล้วบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย ก็บรรลุสัพพัญญุตญาณ. ตอบว่า
ข้อนี้เป็นความจริง จิตของพระองค์น้อมไปอย่างนี้ด้วยอานุภาพแห่ง
ปัจจเวกขณญาณ ก็พระองค์บรรลุสัพพัญุญุตญาณ พิจารณาถึงความที่สัตว์ยัง
ยึดกิเลส และความที่ธรรมเป็นสภาพลึกซึ่ง จึงปรากฏว่าสัตว์ยังยึดกิเลสและ
ธรรมเป็นสภาพลึกซึ่ง โดยอาการทั้งปวง เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ทรงพระดำริ

ว่า สัตว์เหล่านั้นเพียบไปด้วยกิเลสเศร้าหมองเหลือเกิน กำหนัดเพราะราคะ
โกรธเพราะโทสะ หลงเพราะโมหะ เหมือนน้ำเต้าเต็มด้วยน้ำข้าว เหมือน
ตุ่มเต็มด้วยเปรียง เหมือนผ้าเก่าชุ่มด้วยมันข้น และเหมือนมือเปื้อนยาหยอด
ตา สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นจักตรัสรู้ได้อย่างไรเล่า จึงทรงน้อมจิตไปอย่างนั้น
แม้ด้วยอานุภาพแห่งการพิจารณาถึงการยึดกิเลส ก็ธรรมนี้พึงทราบว่า
ลึกเหมือนลำน้ำที่รองแผ่นดิน เห็นได้ยาก เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดที่เอา
ภูเขามาวางปิด รู้ตามได้แสนยากเหมือนปลายแห่งขนทรายที่แบ่งออกเป็น
7 ส่วน ชื่อว่า ทานที่เราพยายามเพื่อแทงตลอดธรรมนี้ไม่ให้แล้วไม่มี ชื่อว่า
ศีลที่เราไม่ได้รักษาแล้วก็ไม่มี. ชื่อว่าบารมีไร ๆ ที่เรามิได้บำเพ็ญ ก็ไม่มี
เมื่อเรานั้น กำจัดกำลังของมารที่เหมือนไร้อุตสาหะ แผ่นดิน ก็ไม่ไหว เมื่อ
ระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณ ในปฐมยาม ก็ไม่ไหว เมื่อชำระทิพยจักษุในมัชฌิมยาม
ก็ไม่ไหว แต่เมื่อแทงตลอดปฏิจจสมุปบาท ในปัจฉิมยาม หมื่นโลกธาตุ
จึงไหว ดังนั้น ผู้ที่มีญาณกล้าแม้เช่นเรายังแทงตลอดธรรมนี้ได้โดยยากทีเดียว
โลกิยมหาชนจักแทงตลอดธรรมนั้นได้อย่างไร พึงทราบว่า ทรงน้อมจิตไป
อย่างนี้ แม้ด้วยอานุภาพแห่งการพิจารณาความลึกซึ้งแห่งพระธรรมด้วยประการ
ดังนี้.
อนึ่ง เมื่อสหัมบดีพรหมทูลอาราธนา พระองค์ก็ทรงน้อมจิตไปอย่างนี้
เพราะมีพุทธประสงค์จะทรงแสดงธรรม. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ
ว่า เมื่อเราน้อมจิตไปเพื่อความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ท้าวมหาพรหมก็
จักอาราธนาเราแสดงธรรม. ด้วยว่า สัตว์เหล่านี้เคารพพรหม สัตว์เหล่านั้น
สำคัญอยู่ว่า พระศาสดาไม่ประสงค์จะทรงแสดงธรรม แต่ท้าวมหาพรหม
อาราธนาให้เราแสดงธรรม ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ธรรมนี้สงบประณีตหนอ
จักตั้งใจฟังด้วยดี อาศัยเหตุนี้พึงทราบว่า พระองค์น้อมจิตไปเพื่อความเป็น
ผู้ขวนขวายน้อยมิได้น้อมไปเพื่อแสดงธรรม.

บทว่า สหมฺปติสฺส ความว่า ได้ยินว่า ท้าวสหัมบดีพรหมนั้น
ครั้งศาสนาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป เป็นพระเถระชื่อสหกะ ทำ
ปฐมฌานให้บังเกิดแล้วไปเกิดเป็นพรหมอายุกัปหนึ่งในภูมิแห่งปฐมฌาน. ชนทั้ง
หลายย่อมหมายถึงท้าวมหาพรหมนั้นว่า สหัมบดีพรหมในคำนั้น. ท่านหมาย
เอาสหัมบดีพรหมนั้น จึงกล่าวว่า พฺรหฺมุโน สหมฺปติสฺส. บทว่า นสฺสติ
วต โภ
ความว่า ได้ยินว่า สหัมบดีพรหมนั้น เปล่งเสียงนี้ออกโดยที่พรหมใน
หมื่นโลกธาตุ ได้ยินแล้วประชุมกันทั้งหมด. บทว่า ยตฺร หิ นาม แปลว่า
ในโลกใด. บทว่า ปุรโต ปาตุรโหสิ ปรากฏพร้อมกับพรหมพันหนึ่งนั้น.
บทว่า อปฺปรชกฺขชาติกา ได้แก่ ธุลี คือ ราคะโทสะและโมหะในนัยน์ตา
อันสำเร็จด้วยปัญญามีประมาณเล็กน้อยของสัตว์เหล่านี้ มีสภาวะอย่างนี้ เพราะ
ฉะนั้นสัตว์เหล่านี้ จึงชื่อว่า อปฺปรชกฺชาติกา มีธุลี คือกิเลสในนัยน์ตาน้อย.
บทว่า อสฺสวนตา แปลว่า เพราะไม่ได้สดับ. ด้วยบทว่า ภวิสฺสนฺติ ท่าน
แสดงว่า สัตว์ทั้งหลายผู้กระทำบุญโดยบุญกิริยาวัตถุ 10 ในพระพุทธเจ้าองค์
ก่อน ๆ หวังการแสดงธรรมประหนึ่งดอกปทุมที่แก่ต้องแสงอาทิตย์ ควรจะ
หยั่งลงในอริยภูมิเมื่อจบคาถา 4 บท ไม่ใช่คนเดียว ไม่ใช่สองคน แต่หลาย
แสน ที่จักตรัสรู้ธรรม.
บทว่า ปาตุรโหสิ แปลว่า ปรากฏ. บทว่า สมเลหิ จินฺติโต
ได้แก่ ที่พวกศาสดาทั้ง 6 ผู้มีมลทินคิด. จริงอยู่ ศาสดาเหล่านั้น เกิดขึ้น
ก่อน พากันแสดงธรรมคือมิจฉาทิฏฐิที่มีมลทินเหมือนลาดหนามไว้ และเหมือน
ราดยาพิษไว้ทั่วชมพูทวีป. บทว่า อปาปุเรตํ ได้แก่เปิดประตูอมตะนั้น.
บทว่า อมตสฺส ทฺวารํ ได้แก่อริยมรรคอันเป็นประตูอมตนิพพาน. บทว่า
สุณนฺตุ ธมฺมํ วิมเลนานุพุทฺธํ ความว่า ทูลวอนว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า ก่อนอื่นขอสัตว์เหล่านี้จงสดับธรรมคืออริยสัจจ์ 4 ที่พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีมลทิน เพราะไม่มีมลทินมีราคะเป็นต้น ตรัสรู้แล้ว. บทว่า
เสเล ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺฐิโต ความว่า อุปมาเหมือนบุคคลผู้ยืนอยู่บน
ภูเขาอันเป็นแท่งทึบล้วนศิลา ไม่จำเป็นที่จะต้องชูเหยียดคอ เพื่อจะดูคนที่ยืน
อยู่บนยอดภูเขา ที่เป็นเท่งทึบล้วนศิลา. บทว่า ตถูปมํ เทียบอย่างนั้น หรือ
อุปมาด้วยภูเขาหิน.
ก็ความย่อในข้อนี้มีดังนี้ บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดเขาหินพึงเห็นหมู่
ชนได้โดยรอบฉันใด ดูก่อนสุเมธผู้มีปัญญาดี พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีสมันตจักษุ
ด้วยสัพพัญญุตญาณ แม้พระองค์ โปรดขึ้นปราสาทธรรมคือปัญญาไม่เศร้าโศก
ด้วยพระองค์เอง โปรดใคร่ครวญพิจารณาตรวจตราหมู่ชนผู้ระงมด้วยความโศก
และถูกชาติชราครอบงำ ก็ฉันนั้น. ในข้อนี้มีอธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ชน
ทั้งหลายทำนามากรอบเชิงเขา ปลูกกะท่อมไว้ที่เขตคันนา ในที่นั้น กลางคืน
ตามไฟไว้ ก็ความมืดมิดที่ประกอบด้วยองค์ 4 พึงมี เมื่อเป็นดังนั้น บุรุษผู้มี
จักษุ ยืนบนยอดเขานั้น มองดูพื้นดิน ไร่นาก็ไม่ปรากฏ เขตคันนาก็ไม่ปรากฏ
กะท่อมก็ไม่ปรากฏ ผู้คนที่นอนอยู่ในที่นั้นก็ไม่ปรากฏ ปรากฏก็แต่เพียงแสง
ไฟที่กระท่อมเท่านั้นฉันใด เมื่อพระตถาคตขึ้นธรรมปราสาทตรวจดูหมู่สัตว์ หมู่
สัตว์ผู้ไม่ได้ทำกรรมดีแม้จะนั่งอยู่ใกล้พระชาณุเบื้องขวาในวิหารเดียวกัน ก็ไม่
ปรากฏแก่พระพุทธจักษุ เหมือนยิงธนู ในเวลากลางคืน ส่วนเวไนยบุคคล
ผู้กระทำกรรมดีแม้จะอยู่ในที่ไกล ก็มาปรากฏแก่พระองค์เปรียบเหมือนไฟ และ
เหมือนหิมวันตบรรพตฉันนั้น. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ว่า
ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต
อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺตึ ขิตฺตา ยถา สรา.

สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือน
หิมวันตบรรพต อสัตบุรุษอยู่ในที่นั้นเอง ก็
ไม่ปรากฏ เหมือนลูกธนูที่ยิงไปในเวลา
กลางคืนฉะนั้น.

บทว่า อุฏฺเฐหิ พรหมทูลวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จจาริกแสดง
ธรรม. ในคำว่า วีรเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าวีระ เพราะทรงมีความ
เพียร. ชื่อว่า ผู้ชนะสงคราม เพราะทรงชำนะเทวบุตมาร มัจจุมาร และกิเลสมาร
ผู้เป็นดังนายกองเกวียน เพราะเป็นผู้สามารถในอันนำหมู่เวไนยสัตว์ ให้ข้าม
ชาติกันดารเป็นต้น พึงทราบว่า ผู้ไม่เป็นหนี้ เพราะไม่มีหนี้ คือกามฉันท์.
บทว่า อชฺเฌสนํ แปลว่า ทูลวอน. บทว่า พุทฺธจกฺขุนา ได้
แก่ รู้อินทรีย์ของสัตว์อ่อนแก่ และรู้อัธยาศัยและกิเลส ก็คำว่าพุทธจักษุเป็น
ชื่อของญาณ 2 เหล่านี้ สมันตจักษุ เป็นชื่อของ สัพพัญญุตญาณ ธรรม
จักษุเป็นชื่อของมรรคญาณ 3. ในคำว่า อปฺปรชกฺเข เป็นต้น กิเลสธุลีมีราคะ
เป็นต้น ในปัญญาจักษุของสัตว์เหล่าใด มีน้อย โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล
สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า อัปปรชักขะ สัตว์เหล่าใดมีกิเลสธุลีนั้นมาก สัตว์เหล่านั้น
ชื่อว่า มหารชักขะ สัตว์เหล่าใดมีอินทรีย์ต่อศรัทธาเป็นต้นกล้า สัตว์เหล่านั้น
ชื่อว่า คิกขินทริยะะ สัตว์เหล่าใดมีอินทรีย์เหล่านั้นอ่อน สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า
มุทินทริยะ สัตว์เหล่าใดมีอาการคือศรัทธา เป็นต้นเหล่านั้น ดี สัตว์เหล่านั้น
ชื่อว่า สวาการะ สัตว์เหล่าใด กำหนดรู้เหตุที่ตรัส สามารถรู้ได้ง่าย สัตว์
เหล่านั้น ชื่อว่า สุวิญญาปยะ สัตว์เหล่าใดเห็นปรโลกและโทษโดยเป็นภัย
สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าเห็นปรโลกและโทษว่าเป็นภัย.
ก็ในที่นั้นมีบาลีดังต่อไปนี้ บุคคลผู้มีศรัทธา ชื่อว่า มีกิเลสธุลีใน
ปัญญาจักษุน้อย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่า ผู้มีกิเลสธุลีในปัญญาจักษุมาก
ผู้ปรารภความเพียรชื่อว่า อัปปรชักขะ ผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า มหารชักขะ

ผู้มีสติมั่นคง ชื่อว่า อัปปรชักขะ ผู้มีสติหลงลืม ชื่อว่ามหารชักขะ ผู้มีจิต
ตั้งมั่นชื่อว่า อัปปรชักขะ ผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ชื่อว่ามหารชักขะ ผู้มีปัญญา ชื่อ
ว่า อัปปรชักขะ ผู้มีปัญญาทรามชื่อว่า มหารชักขะ บุคคลผู้มีศรัทธาอย่าง
นั้น ชื่อว่ามีอินทรีย์กล้า ฯลฯ บุคคลผู้ปัญญาชื่อว่า ผู้เห็น ปรโลกและโทษว่า
เป็นภัย บุคคลผู้มีปัญญาทราม ชื่อว่า ไม่เห็นปรโลกและโทษว่าเป็นภัย. บทว่า
โลโก ได้แก่โลก คือขันธ์ โลกคือธาตุ โลกคืออายตนะ โลกคือสัมปัตติภพ
โลกคือสัมปัตติสมภพ โลกคือวิปัตติภพ โลกคือวิปัตติสมภพ. โลก 1 คือสัตว์
ทั้งปวง ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร. โลก 2 คือ นามและรูป. โลก 3 คือเวทนา
3 โลก 4 คืออาหาร 4 โลก 5 คืออุปาทานขันธ์ 5 โลก 6 คืออายตนะ
ภายใน 6 โลก 7 คือวิญญาณฐิติ 7 โลก 8 คือ โลกธรรม 8 โลก 9 คือ
สัตตาวาส 9 โลก 10 คือ อายตนะ 10 โลก 12 คือ อายตนะ 12 โลก 18
คือ ธาตุ 18. บทว่า วชฺชํ ความว่า กิเลสทั้งปวงจัดเป็นโทษ ทุจริตทั้งปวง
จัดเป็นโทษ อภิสังขารทั้งปวง จัดเป็นโทษ กรรมอันเป็นเหตุนำสัตว์ไปสู่ภพ
ทั้งปวงจัดเป็นโทษ ความสำคัญในโลกนี้ และในโทษนี้ว่าเป็นภัยอย่างแรงกล้า
ปรากฏแล้ว เหมือนเพชฌฆาตเงื้อดาบ พระตถาคต ย่อมรู้เห็น รู้ตัว รู้ตลอด
อินทรีย์ 5 เหล่านี้ ด้วยอาการ 50 เหล่านี้ ชื่อว่า อินทริยปโรปริยัตติญาณ
ของพระตถาคต.
บทว่า อุปฺปลิยํ แปลว่า ในป่าอุบล. แม้ในคำนอกนี้ก็นัยนี้เหมือน
กัน. บทว่า อนฺโต นิมุคฺคโปสี ได้แก่ ดอกอุบลที่อยู่ใต้น้ำที่ธรรมชาติ
เลี้ยงไว้. บทว่า อุทกํ อจฺจุคฺคมฺม ติฏฺฐนฺติ ได้แก่ โผล่น้ำตั้งอยู่. ในดอก
อุบลเหล่านี้ เหล่าใดขึ้นพ้นน้ำรออยู่ เหล่านั้น คอยรับสัมผัสแสงอาทิตย์จะ
บานในวันนี้ เหล่าใดตั้งอยู่เสมอน้ำ เหล่านั้นก็จะบานในวันพรุ่งนี้ เหล่าใดจม
อยู่ใต้น้ำ จมอยู่ในน้ำธรรมชาติเลี้ยงไว้ เหล่านั้นก็จะบาน ในวันที่ 3. ส่วน
ดอกอุบลที่อยู่ในสระเป็นต้น แม้เหล่าอื่นอยู่ใต้น้ำยังมีอยู่ เหล่าใดจักไม่บาน

เหล่านั้นก็จักเป็นภักษาของปลาและเต่าอย่างเดียว ดอกบัวเหล่านั้นท่านแสดงไว้
ยังไม่ขึ้นสู่บาลี ก็พึงแสดง. เหมือนอย่างว่า ดอกไม้ 4 อย่างเหล่านั้นฉันใด
บุคคล 4 จำพวก คือ อุคฆฏิตัญญู วิปัจจิตัญญู เนยยะ ปทปรมะ ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน. ในบุคคล 4 เหล่านั้น บุคคลใดตรัสรู้ธรรมพร้อมกับเวลายกหัวข้อ
ธรรม บุคคลนี้ท่านเรียกว่า อุคฆฏิตัญญู. บุคคลใดตรัสรู้ธรรมเมื่อท่านแจก
อรรถแห่งภาษิตสังเขปได้โดยพิสดาร บุคคลนี้ท่านเรียกว่า วิปัจจิตัญญู. บุคคล
ใดใส่ใจโดยแยบคายทั้งโดยอุเทศทั้งโดยปริปุจฉา ซ่องเสพคบหาเข้าใกล้กัลยาณ-
มิตรจึงตรัสรู้ธรรมบุคคลนี้ท่านเรียกว่า เนยยะ. บุคคลใด ฟังมากก็ดี กล่าว
มากก็ดี ทรงจำมากก็ดี สอนมากก็ดี ก็ยังไม่ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น บุคคลนี้ท่าน
เรียกว่า ปทปรมะ. บรรดาบุคคลเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดู
หมื่นโลกธาตุ ซึ่งเป็นเสมือนดอกบัวเป็นต้น ก็ได้ทรงเห็นว่าอุคฆฏิตัญญู เปรียบ
เหมือนดอกไม้บานในวันนี้ วิปัจจิตัญญู เปรียบดอกไม้บานในวันพรุ่งนี้ เนยยะ
เปรียบเหมือนดอกไม้บานในวันที่ 3 ปทปรมะ เปรียบเหมือนดอกไม้ที่เป็นภักษา
ของปลาและเต่า. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงเห็น ก็ทรงเห็นโดยอาการทุกอย่าง
อย่างนี้ว่า สัตว์มีประมาณเท่านี้ มีกิเลสธุลีในปัญญาจักษุน้อย เหล่านี้มีกิเลสธุลี
ในปัญญาจักษุมาก บรรดาสัตว์เหล่านั้น เหล่านี้เป็นอุคฆฏิตัญญู ดังนี้เป็นต้น.
พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมให้สำเร็จประโยชน์ในอัตภาพนี้
เท่านั้น แก่บุคคล 3 ประเภท ในจำนวนบุคคลเหล่านั้น ปทปมะ มีวาสนา
เพื่อประโยชน์ในอนาคตกาล. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระ-
ธรรมเทศนาจะนำประโยชน์มาให้แก่บุคคล 4ประเภทจึงทรงทำให้เกิดพระพุทธ
ประสงค์ที่จะทรงแสดงธรรม จึงทรงจำแนกเหล่าสัตว์ใน 3 ภพ ทั้งหมด อีก
สองคือ ภัพพบุคคลและอภัพพบุคคล. ท่านหมายเอาสัตว์เหล่าใด จึงกล่าวคำ
นี้ไว้ ว่าเหล่าสัตว์ผู้ประกอบด้วยการห้ามกรรมห้ามวิบาก ห้ามกิเลส ไม่มีศรัทธา

ตัดไม่ขาด ไม่มีปัญญา ไม่ควรก้าวลงสู่ความชอบในกุศลธรรมแน่นอน สัตว์
เหล่านี้นั้นจัดเป็นอภัพพะ. เหล่าสัตว์ผู้เป็นภัพพะเหล่านั้นเป็นไฉน คือเหล่าสัตว์
ผู้ไม่ประกอบด้วยการห้ามกรรมห้ามวิบาก ห้ามกิเลส ฯลฯ สัตว์เหล่านี้นั้น จัด
เป็นภัพพะ. ในสัตว์สองประเภทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงละอภัพพบุคคล
ทั้งหมด ทรงกำหนดถือเอาด้วยพระญาณ เฉพาะภัพพบุคคลเท่านั้น ทรงจำแนก
ออกเป็น 6 ส่วน คือ เหล่านี้มีราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต ศรัทธา-
จริต และพุทธิจริต. ครั้นจำแนกอย่างนี้แล้ว ก็ทรงพระดำริจักทรงแสดง
ธรรมโปรด.
บทว่า ปจฺจภาสึ แปลว่า ตรัสเฉพาะ. บทว่า อปารุตา แปลว่า
เปิด. บทว่า อมตสฺส ทฺวารา ได้แก่ อริยมรรค. จริงอยู่ อริยมรรคนั้น
เป็นประตูแห่งพระนิพพาน กล่าวคืออมติะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
อริยมรรคนั้นเราเปิดตั้งไว้แล้ว. บทว่า ปมุญฺจนตุ สทฺธึ ได้แก่ ขอสรรพ
สัตว์ จงปล่อย จงหลั่งศรัทธาของตน. ในสองบทหลังมีความดังนี้ว่า แม้เรา
เข้าใจว่าจะลำบากทางกายและวาจา จึงไม่กล่าวธรรมสูงสุดอันประณีตนี้ ที่คล่อง
แคล่ว แม้ที่เป็นไปด้วยดีของตน แต่มาบัดนี้ ขอชนทั้งปวง จงน้อมนำภาชนะ
คือศรัทธาเข้ามา เราจะทำความดำริของสัตว์เหล่านั้นให้เต็ม. บทว่า ตสฺส
มยฺหํ ภิกฺขเว เอตทโหสิ
ความว่า เราได้มีความดำริอย่างนี้ว่า เราจะพึง
แสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ความวิตกอันเกี่ยวด้วยการแสดงธรรมนี้เกิดขึ้น
แล้ว. ถามว่าก็ความวิตกนี้เกิดขึ้นเมื่อไร. ตอบว่า เมื่อเป็นพระพุทธเจ้า
สัปดาห์ที่ 8. ในข้อนั้นจะกล่าวลำดับความดังนี้
ดังได้สดับมา ในวันมหาภิเนษกรมณ์ พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็น
เรือนสนมกำนัลเปิดก็สลดพระทัย จึงตรัสเรียกนายฉันนะมาสั่งว่า นำม้ากัณฐ-
กะมาซิ มีนายฉันนะเป็นสหาย เสด็จขึ้นทรงหลังพญาม้า ออกจากพระนคร

ทรงแสดงเจติยสถานที่ให้ม้ากัณฐกะกลับ ทรงละราชสมบัติ ทรงผนวชใกล้ฝั่ง
แม่น้ำอโนมานที เสด็จจาริกไปตามลำดับเที่ยวแสวงหาอาหารในกรุงราชคฤห์
ประทับนั่ง ณ ปัณฑวบรรพต ถูกพระเจ้าพิมพิสารตรัสถามถึงนามและโคตร
ตรัสขอให้ทรงรับราชสมบัติ แต่ทูลว่า อย่าเลยมหาบพิตร อาตมภาพไม่ต้องการ
ราชสมบัติ อาตมภาพละราชสมบัติ มาประกอบความเพียร เพื่อต้องการเกื้อกูล
แก่โลก ออกบวชด้วยหมายจักเป็นพระพุทธเจ้าตัดความหมุนเวียนในโลก ทรง
รับปฏิญาณของพระเจ้าพิมพิสารที่ว่า ถ้าอย่างนั้น พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า
แล้ว โปรดเสด็จมาแคว้นหม่อมฉันก่อนดังนี้ แล้วเสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบส
กาลามโคตร และอุททกดาบสรามบุตร เมื่อไม่พบสาระแห่งธรรมเทศนาของ
ดาบสทั้ง 2 นั้น จึงหลีกออกไปบำเพ็ญทุกกรกิริยาถึง 6 ปีที่อุรุเวลา เมื่อ
ไม่อาจแทงตลอดอมตธรรม ทำพระกายให้เอิบอิ่มด้วยการเสวยอาหารหยาบ ๆ.
ครั้งนั้น ธิดากุฏุมพี ชื่อว่า สุชาดาในอุรุเวลคาม ตั้งความปรารถนา ณ ต้น
นิโครธต้นหนึ่งว่า ถ้าเราแต่งงานกับคนมีชาติเสมอกัน ได้บุตรชายท้องแรก
จักกระทำการบวงสรวง. นางสำเร็จความปรารถนานั้นแล้ว. วันวิสาขปุรณมี
นางตระเตรียมข้าวมธุปายาสอย่างดีเวลาใกล้รุ่งราตรี ด้วยหมายจะทำการบวง-
สรวงแต่เช้าตรู่. เนื้อกำลังหุงข้าวมธุปายาสอยู่นั้น ฟองข้าวมธุปายาสฟองใหญ่ๆ
ผุดขึ้นวนเวียนไปทางขวา. แม้ส่วนที่ถูกสัมผัสอย่างหนึ่ง ก็ไม่กระเด็นออกไป
ข้างนอก. ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร. ท้าวโลกบาลทั้ง 4 ถือพระขรรค์อารักขา.
ท้าวสักกะ รวบรวมไม้แห้ง (ฟืน) มาติดไฟ. เทวดาใน 4 ทวีป ก็รวบ
รวมโอชะมาใส่ลงในมธุปายาสนั้น. พระโพธิสัตว์ คอยเวลาภิกษาจารเสด็จไป
แต่เช้าตรู่ ประทับนั่ง ณ โคนไม้. แม่นมนาเพื่อแผ้วถางโคนไม้ บอกแก่นาง
สุชาดาว่า เทวดามานั่งอยู่โคนไม้แล้ว. นางสุชาดาประดับเครื่องประดับทั้งปวง
แล้ว บรรจงจัดข้าวมธุปายาสใส่ลงในถาดทองมีค่า 100,000 ปิดด้วยถาดทอง

อีกถาดหนึ่ง แล้วยกขึ้นเดินไป เห็นพระมหาบุรุษ จึงวางไว้ในมือพร้อมกับ
ถาดนั่นแหละ ไหว้แล้วกล่าวว่า มโนรถของดิฉัน สำเร็จแล้วฉันใด ขอ
มโนรถแม้ของท่านก็จงสำเร็จ ฉันนั้นเทอญ แล้วก็กลับไป.
พระโพธิสัตว์เสด็จไปยังริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา แล้ววางถาดทองไว้
ริมฝั่งลงสรงน้ำเสด็จขึ้นแล้ว ทรงปั้นข้าวมธุปายาส จำนวน 49 ก้อน เสวย
ข้าวมธุปายาสแล้ว ทรงเสี่ยงทายว่า ถ้าเราจะเป็นพระพุทธเจ้าวันนี้ ขอถาด
จงลอยทวนกระแสน้ำ ดังนี้แล้ว ทรงเหวี่ยงถาดไป. ถาดก็ลอยทวนกระแสน้ำ
แล้วหยุดหน่อยหนึ่ง เข้าไปสู่ภพของท้าวกาฬนาคราช วางทับถาดของพระ-
พุทธเจ้า 3 พระองค์. พระมหาสัตว์ประทับพักกลางวัน ณ แนวป่า ตกเวลา
เย็น ทรงรับหญ้า 8 กำที่โสตถิยพราหมณ์ถวาย แล้วเสด็จขึ้นสู่โพธิมัณฑสถาน
ประทับยืน ณ ส่วนทิศใต้. ประเทศนั้น ได้ไหว เหมือนหยาดน้ำในใบปทุม.
พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า ตรงนี้ไม่อาจทรงคุณของเราได้ ก็เสด็จไปส่วนทิศ
ตะวันตก. แม้ที่นั้นก็ไหวเหมือนอย่างนั้น. ได้เสด็จไปส่วนทิศเหนือ. แม้ที่นั้น
ก็ไหวเหมือนกัน จึงเสด็จไปส่วนทิศตะวันออก ณ ที่นั้นฐานที่ทำเป็นบัลลังก์
ไม่ไหวเลยเหมือนเสาหลักที่ปักไว้ดีแล้ว. พระมหาสัตว์ทรงดำริว่า ที่นี้เป็น
สถานที่รื้อบัญชรกิเลส ของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ทรงจับยอดหญ้าเหล่านั้น
เขย่า ยอดหญ้าเหล่านั้น ก็ได้เป็นเหมือนช่างจิตรกรรม วาดด้วยปลายนุ่น.
พระโพธิสัตว์ทรงเข้าประชิดต้นโพธิ ทรงอฐิษฐานความเพียรมีองค์ 4 ว่าจัก
ไม่ทรงทำลายบัลลังก์นี้ แล้วประทับนั่งขัดสมาธิ.
ทันใดนั้นเอง มารเนรมิตแขน 1,000 ขึ้น ช้างชื่อคิริเมขละสูง 150
โยชน์ พาพลมาร 9 โยชน์ มองดูครึ่งดวงตา เข้าประชิด ประหนึ่งภูเขา.
พระมหาสัตว์ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า เรากำลังบำเพ็ญบารมี 10 ไม่มีสมณะ
พราหมณ์เทวดามารหรือพรหมเป็นพยาน แต่ในอัตตภาพที่เป็นพระเวสสันดร

มหาปฐพีได้เป็นพยานของเรา ใน 7 ฐานะ แม้บัดนี้ มหาปฐพีที่ไม่มีใจ
และอุปมาด้วยท่อนไม้ ก็เป็นสักขีพยาน. ทันทีนั่นเอง มหาปฐพีก็เปล่งเสียง
ร้อง ร้อยครั้งพันครั้ง เหมือนกังสดาลที่ถูกดีด้วยท่อนเหล็ก แล้วกลิ้งม้วน
เอาพลมารไปกองไว้ที่ขอบปากจักรวาล. เมื่อดวงอาทิตย์ดำรงอยู่นั่นแล พระ-
มหาสัตว์ ก็ทรงกำจัดพลมารได้ ทรงชำระปุพเพนิวาสญาณ ในปฐมยาม
ทิพย์จักษุญาณในมัชฌิมยาม ทรงหยั่งญาณลงในปฏิจจสมุปบาทในปัจฉิมยาม
ทรงพิจารณาวัฏฏและวิวัฏฏะ เวลารุ่งอรุณ ก็เป็นพระพุทธเจ้า ทรงดำริว่า
เราทำความพยายาม เพื่อบัลลังก์นี้มาตลอดหลายแสนโกฏิกัลป์ ดังนี้แล้ว
ประทับนั่งขัดสมาธิท่าเดียวตลอดสัปดาห์.
ต่อมาเทวดาบางเหล่าเกิดสงสัยว่า ยังมีธรรมที่ทำความเป็นพระพุทธเจ้า
อยู่อีกหรือ. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงออกจากสมาบัติในวันที่ 8
ทรงทราบความสงสัยของเหล่าเทวดา จึงเสด็จเหาะแสดงยมกปาฏิหารย์เพื่อ
กำจัดความสงสัย ครั้นทรงกำจัดความสงสัย ของเทวดาเหล่านั้นแล้ว ประทับ
ยืนที่ส่วนทิศเหนือเยื้องทิศตะวันออกจากบัลลังก์หน่อยหนึ่ง ทรงสำรวจสถานที่
บรรลุผลแห่งพระบารมีที่ทรงบำเพ็ญมาตลอด 4 อสงไขยกำไรแสนกัปป์ พระ-
บัลลังก์และโพธิพฤกษ์ ด้วยดวงพระเนตรที่ไม่กระพริบ ล่วงไปสัปดาห์หนึ่ง.
สถานที่นั้น ชื่อว่า อนิมมิสเจดีย์. ต่อมาเสด็จจงกรม ณ รัตนจงกรมที่ต่อจาก
ทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ในระหว่างพระบัลลังก์และสถานที่ประทับยืน
ล่วงไปสัปดาห์หนึ่ง. สถานที่นั้น ชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์. ต่อนั้น เหล่า
เทวดาในส่วนทิศตะวันตก เนรมิตเรือนทำด้วยแก้วไว้. ประทับนั่งขัดสมาธิ
ณ เรือนนั้น ทรงเฟ้นอภิธรรมปิฎก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมันตปัฏฐานอนันตนัย
ในอภิธรรมนั้น ล่วงไปสัปดาห์หนึ่ง. สถานที่นั้น ชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์. ณ ที่
ใกล้โพธิมัณฑสถานนั่นเอง ล่วงไป 4 สัปดาห์ ด้วยอาการอย่างนี้ ในสัปดาห์

ที่ 5 เสด็จออกจากโคนโพธิพฤกษ์ เสด็จเข้าไปยัง อชปาลนิโครธ. ทรงเฟ้น
ธรรมแม้ในที่นั้น ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขอยู่. เมื่อทรงเฟ้นธรรม ก็ทรง
พิจารณาเพียงนัยแห่งอภิธรรมในธรรมนั้นคือ คัมภีร์แรก ชื่อธัมมสังคณีปกรณ์
ต่อนั้น ก็วิภังคปกรณ์ ธาตุกถาปกรณ์ บุคคลบัญญัติปกรณ์ กถาวัตถุปกรณ์
ยมกปกรณ์ ต่อนั้น มหาปกรณ์ ชื่อปัฏฐาน.
เมื่อจิตของพระองค์หยั่งลงในปัฏฐานอันละเอียดสุขุม ในพระอภิธรรม
นั้น ปีติก็เกิดขึ้น. เมื่อปีติเกิดขึ้นพระโลหิตก็ใส เมื่อพระโลหิตใส พระฉวี
ก็สดใส เมื่อพระฉวีสดใส พระรัศมีขนาดเท่าเรือนยอดเป็นต้นก็ผุดขึ้นจาก
พระกายส่วนหน้า แล่นไปตลอดอนันตจักรวาล ทางทิศตะวันออก เหมือน
โขลงพญาฉัททันต์แล่นไปในอากาศ. พระรัศมีผุดขึ้นจากพระกายส่วนพระ-
ปฤษฏางค์ ก็แล่นไปทางทิศตะวันตก ผุดขึ้นจากปลายพระอังสาเบื้องขวา ก็
แล่นไปทางทิศใต้ ผุดขึ้นจากปลายพระอังสาเบื้องซ้าย แล่นไปตลอดอนันต-
จักรวาลทางทิศเหนือ. พระรัศมีมีวรรณะดังหน่อแก้วประพาฬก็ออกจากพื้น
พระบาททะลุมหาปฐพี แหวกน้ำเป็นสองส่วน ทำลายกองลม แล่นไปตลอด
อัชฎากาส เกลียวพระรัศมีสีเขียว เหมือนพวงแก้วมณีหมุนเป็นเกลียวผุด
ขึ้นจากพระเศียร ทะลุเทวโลก 6 ชั้น เลยพรหมโลก 9 ชั้น แล่นไปตลอด
อชฎากาส วันนั้น เหล่าสัตว์ไม่มี ประมาณในจักรวาลที่หาประมาณมิได้ ก็
พากันมีวรรณะดังทองไปหมด. ก็แลวันนั้น พระรัศมีเหล่านั้นที่สร้างออก
จากพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยังดำเนินไปอยู่ตลอดอนันตโลกธาตุ
แม้กระทั่งทุกวันนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นประทับนั่ง ณ อชปาลนิโครธ ล่วงไป
สัปดาห์หนึ่ง ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว ต่อแต่นั้น ก็ประทับนั่ง ณ มุจจลินท์
อีกสัปดาห์หนึ่ง. พอพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นประทับนั่งเท่านั้น มหาเมฆซึ่ง

มิใช่ฤดูกาล ก็เกิดตกทำให้ห้องสกุลจักรวาลเต็มเปี่ยมไป. เล่าว่า มหาเมฆเช่นนั้น
ตกในกาลทั้งสองเท่านั้น คือเมื่อพระเจ้าจักรพรรดิ หรือพระพุทธเจ้าอุบัติ
มหาเมฆนั้นเกิดในพุทธกาลนี้. ก็เมื่อมหาเมฆนั้นเกิดขึ้นแล้ว พญานาค ชื่อ
มุจจลินท์ ก็ดำริว่า เมฆนี้เกิดขึ้นเมื่อพระศาสดาเสด็จเข้ามายังภพเรา พระองค์
ควรจะได้อาคารบังฝน. พญานาคนั้นยังดำริว่า ถึงจะสามารถเนรมิตปราสาท
เป็นรัตนะ 7 ประการ เมื่อทำอย่างนั้นแล้ว ก็จักไม่มีผลใหญ่ จำเราจัก
ทำความขวนขวาย ด้วยการถวายแด่พระทศพล แล้วจึงขยายอัตภาพให้ใหญ่
เอาขนดล้อมรอบพระศาสดาไว้ 7 ชั้น กั้นพังพานไว้ข้างบน. โอกาสภายในขนด
เบื้องล่างมีขนาดเท่าโลหะปราสาท. พญานาคมีอัธยาศรัย น้อมไปว่า พระ-
ศาสดาจักประทับอยู่ตามอิริยาบถที่ทรงต้องการ. เพราะฉะนั้นจึงล้อมโอกาสที่
ใหญ่ไว้อย่างนี้. ตกแต่งรัตนบัลลังก์ไว้ตรงกลาง มีเพดานผ้ามีพวงของหอม
พวงดอกไม้พรั่งพร้อม วิจิตรด้วยดาวทอง อยู่เบื้องบน. ประทีปน้ำมันหอม
สว่างทั้ง 4 มุม ตั้งกล่องจันทน์เปิดไว้ 4 ทิศ. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ
ณ มุจจลินท์นั้น ล่วงไปสัปดาห์หนึ่งด้วยอาการอย่างนั้น ต่อแต่นั้น ประทับนั่ง
ณ ราชายตนพฤกษ์อีกสัปดาห์หนึ่ง. สัปดาห์ที่ 8 ต่อจากราชายตนพฤกษ์
ทรงเคี้ยวไม้สีฟันและสมอยาที่ท้าวสักกะจอมเทพนำมาถวาย ทรงบ้วนพระโอฐ
แล้ว เมื่อท้าวจตุโลกบาลน้อมบาตรศิลามีค่าพิเศษถวาย ก็เสวยบิณฑบาตของ
ตปุสสะและภัลลิกะสองพาณิชแล้วเสด็จกลับมาประทับนั่ง ณ อชปาลนิโครธอีก
ทรงเกิดปริวิตกนี้ที้พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ก็ทรงเคยปริวิตกกันมาแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความ
เป็นบัณฑิต. บทว่า พยตฺโต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความฉลาด. บทว่า
เมธาวี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญาขั้นมูลฐาน. บทว่า อปฺปรชกฺชชาติโก
คือสัตว์บริสุทธิ์หมดกิเลส เหตุข่มไว้ได้ด้วยสมาบัติ. บทว่า อาชานิสฺสติ

คือ กำหนดรู้ แทงตลอด. บทว่า ญาณญฺจ ปน เม ได้แก่ พระสัพพัญ-
ญุตญาณเกิดขึ้นแม้แก่เรา. นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตกลงพระทัยตาม
ถ้อยคำที่เทวดาทูลเท่านั้น ทรงตรวจดูด้วยพระองค์เอง ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ
ก็ทรงทราบว่า อาฬารดาบสกาลามโคตร ทำกาละ (มรณภาพ) ได้ 7 วัน นับ
แต่วันนี้ บังเกิดในอากิญจัญญายตนภพแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึง
ข้อนั้น จึงตรัสว่า ญาณญฺจ ปน เม ทสฺสนํ อุทปาทิ ดังนี้. บทว่า
มหาชานิโย คือ ชื่อว่ามหาชานิยะ เพราะมีความเสื่อมใหญ่ เหตุเป็นผู้เสื่อม
จากมรรคผล ที่พึงบรรลุระหว่าง 7 วัน. อาฬารดาบส กาสามโคตรนั้น ก็
ไม่มีโสตประสาทที่จะฟังธรรมแม้ที่พระองค์เสด็จไปแสดงโปรด เพราะท่านบังเกิด
ในอขณะ (อสมัย เวลาที่ยังไม่ควรจะตรัสรู้) แม้บทที่จะชักมาเป็นฐานแห่ง
พระธรรมเทศนานี้ก็ไม่มี ด้วยเหตุนี้ จึงทรงแสดงว่า มหาชานิโย ชาโต
เกิดเสื่อมใหญ่ ดังนี้. บทว่า อภิโทสกาลกโต คือกระทำกาละ เสียแล้ว
เมื่อเที่ยงคืน. บทว่า ญาณญฺจ ปน เม ได้แก่ พระสัพพัญญุตญาณ ก็เกิด
ขึ้นแล้วแม้แก่เรา. นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงตกลงพระทัยตามคำของ
เทวดา ทรงตรวจดูด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ก็ทรงเห็นว่า อุททกดาบส
รามบุตร กระทำกาละเสียเมื่อเที่ยงคืนวานนี้ บังเกิดในเนวสัญญานาสัญญายตน
ภพ. เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนี้. คำที่เหลือก็เหมือนนัยแรกนั่นแหละ. บทว่า
พหุการา แปลว่า มีอุปการะมาก. บทว่า ปธานปหิตตฺตํ อุปฏฺฐหึสุ
ความว่า เหล่าภิกษุปัญจวัคคีย์บำรุงเราผู้ตั้งความมุ่งมาดเพื่อทำความเพียร ด้วย
การปัดกวาดบริเวณที่อยู่ ด้วยถือบาตรจีวรติดตามไป และด้วยการให้น้ำ
บ้วนปากไม้สีฟันเป็นต้น.
ก็ใครที่ชื่อปัญจวัคคีย์นั้น. คือพราหมณ์ 8 คน ผู้ทำนายพระสุบิน
และทำนายพระลักษณะในเวลาที่พระโพธิสัตว์เกิด ตามคาถาประพันธ์ว่า

ราโม ธโช ลกฺขโณ โชติมนฺตี
ยญฺโญ สุโภโช สุยาโม สุทตฺโต
เอเต ตทา อฏฺฐ อเหสุ พฺราหฺมณา
ฉฬงฺควา มนฺต วิยากรึสุ
ครั้งนั้น ได้มีพราหมณ์ 8 คนเหล่านี้
คือ รามะ ธชะ ลักษณะ โชติมันติ ยัญญะ
สุโภชะ สุยามะ สุทัตตะ ใช้ฉฬังควมนต์
พยากรณ์ (พระลักษณะ).

บรรดาพราหมณ์ 8 คนนั้น 3 คน พยากรณ์เป็น 2 คติว่า ผู้ประกอบด้วย
ลักษณะเหล่านี้ อยู่ครองเรือน ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ออกบวชก็จะเป็น
พระพุทธเจ้า. พราหมณ์ 5 คน พยากรณ์คติเดียวว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะ
เหล่านี้ จะไม่ครองเรือน จะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว. บรรดาพราหมณ์
เหล่านั้น 3 คนแรก ถือตามบทมนต์. ส่วน 5 คนนี้ ก้าวล่วงบทมนต์. พวก
เขาจึงสละของรางวัลเต็มภาชนะที่ตนได้มาแก่เหล่าญาติ หมดความสงสัยว่า
พระมหาบุรุษนี้ จักไม่อยู่ครองเรือน จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว จึง
บวชเป็นสมณะอุทิศพระโพธิสัตว์. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พวกที่บวชเป็น
บุตรของพราหมณ์เหล่านี้ดังนี้ก็มี. คำนั้นอรรถกถาค้านี้. เล่ากันว่า พราหมณ์ 5
คนนั้น เวลายังหนุ่มรู้มนต์มาก เพราะฉะนั้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงอยู่ในฐานะ
อาจารย์. ภายหลัง พราหมณ์เหล่านั้น คิดกันว่า พวกเราไม่อาจตัดคนที่เป็นบุตร
ภรรยาบวชได้ จึงบวชเสียในเวลาที่ยังเป็นหนุ่มทีเดียว ใช้สอยเสนาสนะที่น่า
รื่นรมย์เที่ยวกันไป. แต่ต่อ ๆ มา ถามกันว่า ผู้เจริญ พระมหาบุรุษออกบวช
แล้วหรือ. ผู้คนทั้งหลายกล่าวว่า พวกท่านจักพบพระมหาบุรุษได้ที่ไหน ท่าน
เสวยสมบัติอย่างกะเทวดา ท่ามกลางนางรำ 3 ประเภท บนปราสาท 3 ฤดู.

พราหมณ์ทั้ง 5 คน คิดว่า ญาณของพระมหาบุรุษ ยังไม่แก่กล้า แล้วพากัน
ขวนขวายน้อยอยู่.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปัญจวัคคีย์มี
อุปการะแก่เรามาก พระองค์จะทรงแสดงธรรมแก่เหล่าคนที่มีอุปการะเท่านั้น
ไม่ทรงแสดงธรรมแก่พวกคนที่ไม่มีอุปการะหรือ. ตอบว่า มิใช่ไม่ทรงแสดง
ธรรม ความจริง พระองค์ทรงตรวจดูอาฬารดาบสกาลามโคตรและอุททก-
ดาบสรามบุตร โดยการสั่งสมบารมี แต่เว้นท่านพระอัญญาโกณทัญญะเสีย
ก็ไม่มีผู้สามารถกระทำให้แจ้งธรรมได้ก่อน ในพุทธเขตนี้. เพราะเหตุไร.
เพราะท่านพระอัญญาโกณทัญญะมีอุปนิสสัย 3 อย่าง. เล่ากันว่า ในชาติก่อน
มีพี่น้องสองคน ในเวลาทำบุญ. ผู้พี่คิดจะถวายทานข้าวอย่างเลิศ 9 ครั้ง ใน
ฤดูข้าวฤดูหนึ่ง. เขาก็ถวายทานเมล็ดข้าวอย่างเลิศในเวลาหว่าน เวลาข้าวตั้งท้อง
ก็ปรึกษากับผู้น้องว่า น้องเอ๋ย เวลาข้าวตั้งท้องพี่จะผ่าท้องข้าวถวายทาน. ผู้น้อง
บอกว่า พี่ต้องการจะทำข้าวอ่อนให้เสียหรือ. ผู้พี่รู้ว่า น้องไม่ยินยอม ก็แบ่ง
นากัน ผ่าท้องข้าวจากนาส่วนของตน คั้นน้ำนมปรุงกับเนยใสและน้ำอ้อย
ถวายทาน. เวลาเป็นข้าวเม่า ก็ให้ทำข้าวเม่าอย่างเลิศถวายทาน เวลาเก็บเกี่ยว
ก็ให้ทำข้าวที่เก็บเกี่ยวอย่างเลิศถวายทาน เวลาทำคะเน็ด ก็ให้ทำข้าวคะเน็ด
อย่างเลิศถวายทาน เวลาทำกำเป็นต้นก็ให้ถวายทานอันเลิศเวลาทำกำ ทานอัน
เลิศเวลาขนข้าวเช้าลาน ทานอันเลิศเวลานวด ทานอันเลิศ เวลาข้าวเช้ายุ้ง
ถวายทานอันเลิศ 9 ครั้ง ในฤดูข้าวฤดูหนึ่ง ดังกล่าวมานี้. ส่วนผู้น้องของเขา
หมดฤดูข้าวแล้ว จึงถวายทาน. ทั้งสองคนนั้น ผู้พี่ก็คือท่านพระอัญญาโกณ-
ฑัญญะ ผู้น้องก็คือ สุภัททปริพาชก. เว้นพระเถระเสียก็ไม่มีตนอื่น ๆ ที่จะ
สามารถทำให้แจ้งธรรมได้ก่อนเพราะท่านถวายทานอันเลิศ 9 ครั้ง ในฤดูข้าว

ฤดูเดียว. ก็คำว่า พหุการา โข เม ปญฺจวคฺคิยา นี้ ตรัสโดยเพียงทรงระลึก
ถึงอุปการะเท่านั้น.
บทว่า อิสิปตเน มิคทาเย ความว่า นัยว่า ณ ประเทศที่นั้น
เมื่อยังไม่เกิดพุทธุปบาทกาล พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ยับยั้งอยู่ด้วย
นิโรธสมาบัติตลอดสัปดาห์ ณ คันธมาทนบรรพต ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว
เคี้ยวไม้ชำระฟันชื่อนาคลดา บ้วนปากที่สระอโนดาดถีอบาตรจีวรเหาะไปแล้ว
ลงห่มจีวรในที่นั้นแล้วเที่ยวไปบิณบาตในพระนคร ฉันเสร็จแล้วถึงเวลาก็เหาะ
จากที่นั้นไป. ดังนั้นฤษีทั้งหลายลงและเข้าไปในที่นั้น เหตุนั้น ที่นั้นจึงนับว่า
อิสิปตน ส่วนที่เรียกว่า มิคทายะ เพราะให้อภัยแก่เนื้อทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น
ท่านจึงเรียกว่า อิสิปตเน มิคทาเย. บทว่า อนฺตรา จ คยํ อนุตรา จ
โพธึ
ได้แก่ ในสถานระหว่าง 3 คาวุต ในช่วงของตำบลคยา และโพธิพฤกษ์.
ตั้งแต่โพธิมัณฑสถานถึงตำบลคยา 3 คาวุต กรุงพาราณสี 18 โยชน์. อุปกา
ชีวก ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าระหว่างโพธิสถานและตำบลคยา. แต่เพราะ
ประกอบด้วยอันตราศัพท์ ท่านจึงทำเป็นทุติยาวิภัติ. แต่ในที่นี้นักอักษรศาสตร์
ประกอบอันตราศัพท์อย่างเดียวเท่านั้นว่า อนฺตรา คามญฺจ นทิญฺจ ยาติ
ไประหว่างบ้านและแม่น้ำ อันตราศัพท์นั้นก็ประกอบแม้ด้วยบทที่ 2 เมื่อไม่
ประกอบ ก็ไม่ถึงทุติยาวิภัติ แต่ในที่นี้ ท่านประกอบแล้วจึงได้กล่าวอย่างนี้.
บทว่า อทฺธานมคฺคปฏิปนฺนํ ความว่า เดินทางที่นับว่าไกล อธิบาย
ว่าเดินทางยาว. จริงอยู่ สมัยที่เดินทางไกลแม้กึ่งโยชน์ ก็ชื่อว่า ทางไกล
เพราะพระบาลีในวิภังค์เป็นต้นว่า พึงฉันเสียด้วยคิดจะเดินทางกึ่งโยชน์. ตั้งแต่
โพธิมัณฑสถานถึงตำบลคยา ทาง 3 คาวุต. บทว่า สพฺพาภิภู ได้แก่
ครอบงำทางที่เป็นไปในภูมิ 3 ทั้งหมดตั้งอยู่. บทว่า สพฺพวิทู ความว่าได้รู้
ได้แก่ ตรัสรู้ทั่วถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ 4 ทั้งหมด. บทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ

อนูปลิตฺโต ได้แก่ ไม่ติดอยู่เพราะสิ้นกิเลสในธรรมอันไปในภูมิ 3 ทั้งหมด.
บทว่า สพฺพญฺชโห ได้แก่ ละธรรมที่เป็นไปในภูมิ 3 ทั้งหมดตั้งอยู่. บทว่า
ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต ได้แก่ พ้นจากอารมณ์ในพระนิพพาน เป็นที่สิ้นตัณหา.
บทว่า สยํ อภิญฺญาย ได้แก่ รู้ธรรมที่เป็นไปในภูมิ 4 ทั้งหมดด้วยตนเอง.
บทว่า กมุทฺทิเสยฺยํ ความว่า เราจะพึงยกใครอื่นว่า ผู้นี้เป็นอาจารย์ของเรา.
บทว่า น เม อาจริโย อตฺถิ ความว่า เราไม่มีอาจารย์ในโลกุตตรธรรม. บทว่า
นตฺถิ เม ปฏิปุคฺคโล ความว่า ไม่มีบุคคลที่จะเทียบเรา. บทว่า สมฺมา-
สมฺพุทฺโธ
ได้แก่ ตรัสรู้เองซึ่งสัจจะ 4 โดยชอบ โดยเหตุ โดยนัยทีเดียว.
บทว่า สีติภูโต ชื่อว่า เป็นผู้เย็นเพราะดับไฟคือกิเลสหมดสิ้น ชื่อว่า ดับ
เพราะกิเกสทั้งหลายดับไป. บทว่า กาสีนํ ปุรํ ได้แก่ นครในแคว้นกาสี.
บทว่า อาหญฺญึ อมตทุนฺทุภึ ความว่า เดินทางหมายจะตีอมตเภรี เพื่อให้
สัตว์ได้ดวงตาเห็นธรรม. บทว่า อรหสิ อนนฺตชิโน ได้แก่. ท่านควรจะ
เป็นอนันตชินหรือ. บทว่า หุเวยฺยาวุโส ความว่า อุปกาชีวกกล่าวว่า ผู้มี
อายุ จะพึงมีชื่ออย่างนั้นหรือ. บทว่า ปกฺกามิ ได้แก่ ได้ไปยังชนบทชื่อว่า
วังกหาร.

เรื่องอุปกาชีวก


ในชนบทนั้น อุปกาชีวกอาศัยหมู่บ้านพรานล่าเนื้ออยู่. หัวหน้าพราน
บำรุงเขาไว้. ในชนบทนั้น มีชาวประมงดุร้าย ให้เขาอยู่ด้วยภาชนะใบเดียว.
พรานล่าเนื้อ จะไปล่าเนื้อในที่ไกล จึงสั่งธิดาชื่อ นาวา ว่าอย่าประมาทใน
พระอรหันต์ของพวกเรา แล้วไปกับเหล่าบุตรผู้เป็นพี่ ๆ. ก็ธิดาของพรานนั้น
มีรูปโฉมน่าชม สมบูรณ์ด้วยส่วนสัด. วันรุ่งขึ้น อุปกะมาเรือนพบหญิงรุ่นนั้น
เข้ามาเลี้ยงดูทำการปรนนิบัติทุกอย่าง เกิดรักอย่างแรง ไม่อาจแม้แต่จะกินถือ