เมนู

อรรถกถานิวาปสูตร


นิวาปสูตรเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้:-
พึงทราบวินิจฉัยในนิวาปสูตรนั้น ดังต่อไปนี้ ผู้ใดย่อมปลูกพืชคือ
หญ้าไว้ในป่าเพื่อต้องการจะจับเนื้อด้วยตั้งใจว่า เราจะจับพวกเนื้อที่มากินหญ้า
นี้ได้สะดวก ผู้นั้น ชื่อว่า เนวาปิกะ. บทว่า นิวาปํ ได้แก่ พืชที่พึงปลูก.
บทว่า นิวุตฺตํ ได้แก่ ปลูก. บทว่า มิคชาตา ได้แก่ ชุมเนื้อ. บทว่า
อนุปขชฺช แปลว่า ไม่เข้าไปเบียดเบียน. บทว่า มุจฺฉิตา ได้แก่ สยบด้วย
อำนาจตัณหา อธิบายว่า หยั่งเข้าไปสู่หทัยด้วยตัณหาแล้วให้ถึงอาการสยบ.
บทว่า มทํ อาปชฺชิสฺสนฺติ ได้แก่ จักถึงความมัวเมาด้วยอำนาจมานะ.
บทว่า ปมาทํ ได้แก่ภาวะ คือความเป็นผู้มีสติหลงลืม. บทว่า ยถากาม-
กรณียา ภวิสฺสนฺติ
ความว่า เราปรารถนาโดยประการใด จักต้องกระทำ
โดยประการนั้น. บทว่า อิมสฺมึ นิวาเป ได้แก่ ในที่เป็นที่เพาะปลูกนี้.
ได้ยินว่า ขึ้นชื่อว่าหญ้าที่เพาะปลูกไว้นี้ มีความงอกงามในฤดูแล้งก็มี. ฤดูแล้ง
ย่อมมีโดยประการใด ๆ หญ้านั้นย่อมเป็นกลุ่มทึบอันเดียวกันเหมือนหญ้าละมาน
และเหมือนกลุ่มเมฆโดยประการนั้นๆ. พวกพรานไถในที่สำราญด้วยน้ำแห่งหนึ่ง
แล้วปลูกหญ้านั้น กั้นรั้วประกอบประตูรักษาไว้. ครั้นเมื่อใดในเวลาแล้งจัด
หญ้าทุกชนิดย่อมขาว น้ำเพียงชุ่มลิ้นก็หาได้ยาก ในเวลานั้นเนื้อทั้งหลาย
พากันกินหญ้าขาวและใบไม้เก่า ๆ เที่ยวไปอย่างหวาดกลัวอยู่ ดมกลิ่นหญ้าที่
เพาะปลูกไว้ ไม่คำนึงถึงการฆ่าและการจับเป็นต้น ข้ามรั้วเข้าไป. จริงอยู่
หญ้าที่เพาะปลูกไว้ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจอย่างยิ่งของพวกเนื้อเหล่านั้น. เจ้าของ
หญ้าเห็นพวกเนื้อเหล่านั้น ทำเป็นเหมือนเผลอไป 2-3 วัน เปิดประตูไว้ใน