เมนู

บทว่า โส สนิกํ คจฺเฉยฺย คือว่า ครั้นเขาคิดอย่างนั้นแล้ว
จึงค่อย ๆ เดิน. ในคำทั้งปวงก็นัยนี้แหละ.
บัณฑิตพึงทราบความในข้อนั้นว่า เวลาเกิดขึ้นแห่งวิตกของภิกษุนี้
เปรียบเหมือนการเดินเร็วของบุรุษ. เวลากำหนดการเที่ยวไปแห่งวิตกของภิกษุ
นี้ เปรียบเหมือน การค่อย ๆ เดินไปในที่นั้น. กาลที่ภิกษุนี้กำหนดการเที่ยว
ไปของวิตกได้แล้ว นำวิตกมาสู่มูลกรรมฐาน เปรียบเหมือการตรึกของบุรุษ
นั้น. กาลที่ภิกษุนี้ ยังวิปัสสนาให้เจริญแล้วบรรลุพระอรหัต เปรียบเหมือน
กาลที่บุรุษนั้นนั่งลงแล้ว. กาลที่ภิกษุนี้ให้เวลาผ่านไปตลอดวันด้วยผลสมาบัติ
ซึ่งมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ เปรียบเหมือน กาลที่บุรุษนั้นนอนแล้ว.
ในข้อว่า วิตกเหล่านี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย ความว่า
การเที่ยวไปของวิตก ย่อมเป็นของเบาบางแล้วแก่ผู้ถึงเหตุและมิใช่เหตุของวิตก
ทั้งหลาย เมื่อวิตกนั้นเป็นของเบาบางถึงที่สุดแล้ว ก็ย่อมดับไปโดยประการทั้ง
ปวง. บัณฑิตพึงแสดงข้อความนี้ด้วยทุททุภชาดก (คือเรื่องกระต่ายตื่นตูม).

เรื่องกระต่ายตื่นตูม


ได้ยินว่า กระต่ายตัวหนึ่งนอนหลับอยู่ที่ใกล้ต้นมะตูม ลูกมะตูมสุก
หลุดจากขั้วหล่นลงมาใกล้หูของกระต่าย. กระต่ายนั้นก็ผลุดลุกขึ้นหนีไปโดย
เร็วด้วยสำคัญว่า แผ่นดินถล่ม เพราะเสียงดังของลูกมะตูมนั้น. สัตว์จตุ-
บาท (4 เท้า) ทั้งหลายแม้อื่น ๆ ข้างหน้าเห็นกระต่ายวิ่งมาโดยเร็ว ก็พากัน
วิ่งหนีไปด้วย. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ของเราเกิดเป็นราชสีห์. ราชสีห์นั้น
คิดว่า ธรรมดาว่าแผ่นดินนี้จะถล่มพินาศไปก็เพราะกัปพินาศ ชื่อว่าการที่
แผ่นดินนี้จะแตกทำลายไปในระหว่างมิได้มี เราจะต้องไปสืบดูต้นเหตุให้ได้
ดังนี้. ราชสีห์ จึงเริ่มถามสัตว์ทั้งหลายตั้งแต่ช้างใหญ่ไปจนถึงกระต่ายตัวนั้น