เมนู

โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอัน
เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้ง
มั่นในภายในนั่นแล.

ความเป็นผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก


[262] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการ
นิมิตใดอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ
บ้าง ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล
วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อัน
เธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศล
เหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน
นั้นแล. เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล
ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึง
ความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่
ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล. เมื่อภิกษุนั้นถึง
ความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย
ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่
ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสัณฐานแห่ง
วิตก สังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง
โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะ
ละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุด
ขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล. เมื่อภิกษุนั้นกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น

ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะ
บ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้
เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรม
เอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า
เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนงวิตกใด ก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จัก
ไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลายสังโยชน์
ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะตรัสรู้ได้โดยชอบ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจ
ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วแล.
จบ วิตักกสัณฐานสูตร ที่ 10
จบ สีหนาทวรรค ที่ 2

อรรถกถาวิตักกสัณฐานสูตร


วิตักกสัณฐานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้.
พึงทราบวินิจฉัยในบทเหล่านั้น บทว่า อธิจิตฺตมนุยุตฺเตน ความว่า
จิตที่เกิดขึ้น ด้วยกุศลกรรมบถ 10 อย่าง เป็นจิตเท่านั้น จิตในสมาบัติ 8 มี
วิปัสสนาเป็นบาท เป็นจิตยิ่งกว่าจิตนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสเรียกจิตนั้นว่า อธิจิต.
บทว่า อนุยุตฺเตน ได้แก่ หมั่นประกอบอธิจิตนั้น อธิบายว่า
ประกอบแล้ว ขวนขวายแล้วในอธิจิต. ในข้อนั้นภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตใน
เวลาปุเรภัต กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต แล้วถือเอาผ้านิสีทนะออก
ไปด้วยคิดว่า เราจักทำสมณธรรมที่โคนต้นไม้โน้น หรือที่ไพรสณฑ์ หรือว่า
ที่เชิงเขา หรือว่าที่เงื้อมเขา ดังนี้ แล้วก็นำหญ้าใบไม้ออกจากที่สำหรับ
ประกอบอธิจิต ก็ครั้นเธอล้างมือและเท้าแล้วก็มานั่งคู้บัลลังก์ ถือเอามูลกรรม
ฐาน ประกอบเนือง ๆ อยู่ซึ่งอธิจิตนั่นแหละ.
คำว่า นิมิต ได้แก่ การณะ (คือ เหตุ).
คำว่า ตามกาลเวลาอันสมควร ได้แก่ ตามสมัยอันสมควร.
ถามว่า ก็ธรรมดาว่า กรรมฐานนั้นพระโยคีมิได้ทอดทิ้งแม้สักครู่
หนึ่ง คือ มนสิการติดต่อกัน ไป มิใช่หรือ เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสคำว่า ตามกาลเวลาอันสมควร ดังนี้.
ตอบว่า ก็เพราะพระบาลีจำแนกกรรมฐานไว้ 38 ในกรรมฐานเหล่า
นั้น ภิกษุผู้นั่งปฏิบัติกรรมฐาน จำเดิมแต่อุปกิเลสอะไร ๆ ยังมิได้เกิดขึ้น
กิจที่จะต้องมนสิการด้วยนิมิตอื่น ๆ ยังมิได้มีก่อน แต่เมื่อใดกิเลสเกิดขึ้น เธอ