เมนู

9. เทวธาวิตักกสูตร


เรื่องวิตก


[251] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้น
ทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

ทรงแยกวิตกเป็น 2 ส่วน


[252] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังเป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่ตรัสรู้ทีเดียว
ได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยกวิตกให้เป็น 2 ส่วน ๆ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรานั้นจึงแยก กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก นี้ออก
เป็นส่วนหนึ่ง และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออก
เป็นส่วนที่ 2. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่อง
เผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัด
อย่างนี้ว่า กามวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า มันย่อมเป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มัน
เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า

มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณา
เห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญ
ไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น
ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ได้ทำ
ให้มันหมดสิ้นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียร
เครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ พยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ วิหิงสา
วิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เรา
แล้วแล ก็แต่ว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียน
ผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ทำ
ให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ
เราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป
เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญ
ไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง
มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้
เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพานดังนี้บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น
แล้ว ๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใด ๆ มาก เธอก็
มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้น ๆ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรอง
ถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก
จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก
ยิ่งครองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่

พยาบาทวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย
มากระทำอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนในสารทสมัยเดือนท้ายแห่งปี คนเลี้ยงโคต้องคอย
ระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า เขาต้องตีต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้น ๆ
กั้นไว้ ห้ามไว้. ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนเลี้ยงโค
มองเห็นการฆ่า การถูกจำ การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน เพราะโคทั้งหลาย
เป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แล
เห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย และ
เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่อง
เผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ เนกขัมมวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบ
ชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า เนกขัมมวิตกนั้น
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อ
เบียดเบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น
เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมม
วิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้น
ได้เลย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่
ตลอดวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืน
และกลางวันก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกกขัมมวิตกนั้น
ได้เลย. ก็แต่ว่าเมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อ
ร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ
ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเรา
อย่าฟุ้งซ่านอีกเลย ดังนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความ
เพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปแล้วอยู่อย่างนี้ อัพยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น
ฯลฯ อวิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า อวิหิงสาวิตก
นี้บังเกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน
ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย [คือตนและ
บุคคลอื่น] เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไป
เพื่อพระนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้น
อยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดวันก็ดี
เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย. ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวัน
ก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย. ก็แต่ว่า
เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย
จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล
ดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้น
เพราะเหตุอะไร เพราะหมายในใจว่าจิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลยดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใด ๆ มาก เธอก็มีใจ
น้อมไปข้างวิตกนั้น ๆ มาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรอง
ถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตกเสียได้ ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียว
ให้มาก จิตของเธอนั้นก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้

ทำอัพยาบาทวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้นก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาท
วิตก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยังตรึก ยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็
จะละวิหิงสาวิตกเสียได้ ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอนั้นก็
น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน
คนเลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลาย ในที่ใกล้บ้านในทุกด้าน เมื่อเข้าไปคู่โคน
ต้นไม้หรือไปสู่ที่แจ้งจะต้องทำสติอยู่เสมอว่า นั้นฝูงโค [ของเรา] ดังนี้ ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้น ต้องทำสติอยู่เสมอว่าเหล่านี้เป็นธรรม [คือ
กุศลวิตก] ดังนี้.

ว่าด้วยวิชชา 3


[253] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียร
ไม่ย่อหย่อนแล้ว มีสติมั่นคงไม่เลอะเลือนแล้ว มีกายสงบไม่กระสับกระส่าย
แล้ว มีใจตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นอันเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล
สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติ
และสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็น
ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและ
สุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน. . . บรรลุจตุตถฌาน. . . เรานั้น เมื่อจิต
เป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นธรรมชาติ
อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป
เพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาน ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือระลึกได้ชาติ
หนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อม
ทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการฉะนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่หนึ่ง
นี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึง