เมนู

กถาว่าด้วยผู้มีความประสงค์จะกล่าว


เนื้อความแห่งบทว่า ตีหากาเรหิ เป็นอาทิ และประเทศแห่งวาร
เปยยาลทั้งปวง แม้ในวัตถุกามวาร พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในสุทธิกวารนี้
แล. ก็วัตตุกามวารนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อกันโอกาสของบาปบุคคลทั้ง
หลายอย่างเดียว ผู้แสวงหาช่องอย่างนี้ว่า คำนี้ใดเล่า เราประสงค์จะกล่าวคำ
อื่น กล่าวผิดเป็นคำอื่น ; เพราะฉะนั้นอาบัติจึงไม่มีแก่เรา. เหมือนอย่างว่า
ภิกษุปรารถนาจะกล่าวว่า พุทธํ ปจฺจกฺขามิ เมื่อกล่าวบทใดบทหนึ่ง บรรดา
บทสำหรับบอกลาสิกขามีว่า ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ เป็นต้น ย่อมเป็นผู้บอก
ลาสิกขาแล้วแท้ เพราะบทเหล่านั้นหยั่งลงในเขต ฉันใดแล, ข้อนี้ก็ฉันนั้น
ภิกษุผู้ใคร่จะกล่าวบทใดบทหนึ่งบทเดียว บรรดาบทอุตริมนุสธรรมมีปฐมฌาน-
เป็นต้น แม้เมื่อกล่าวบทใดบทหนึ่งอย่างอื่นจากบทนั้น ย่อมเป็นปาราชิกที
เดียว เพราะบทนั้นหยั่งลงในเขต. แม้ถ้าเธอกล่าวแก่ผู้ใด, ผู้นั้น ย่อมรู้ความ
นั้นในขณะนั้นทันที. ก็แล ลักษณะแห่งการรู้ในการอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่
มีจริงนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในการบอกลาสิกขานั่นแล. แต่ความแปลก
กัน มีดังต่อไปนี้ :- การบอกลาสิกขา ย่อมไม่ถึงความสำเร็จด้วยหัตถมุทธา
(ไม่สำเร็จได้ด้วยการกระดิกหัวแม่มือ) การอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีจริงนี้
ย่อมหยั่งลง (สู่ความสำเร็จ) แม้ด้วยหัตถมุทธา. จริงอยู่ ภิกษุใดอวดดอุตริม-
นุสธรรมที่ไม่มีจริงด้วยความเคลื่อนไหวแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ มีหัตถวิการ
(แกว่งมือ) เป็นต้น แก่บุคคลผู้ยืนอยู่ในคลองแห่งวิญญัติ. และบุคคลนั้น
รู้ใจความนั้นได้, ภิกษุนั้น เป็นปาราชิกแท้. แต่ถ้าเธอบอกแก่ผู้ใด, ผู้นั้น
ไม่เข้าใจ หรือถึงความสงสัยว่า ภิกษุนี้ พูดอะไร ? หรือพิจารณานานจึงรู้ใน