เมนู

มุสาวาทใด, เมื่อจะทรงแสดงองค์แห่งสัมปชานมุสาวาทนั้นแล้ว ผูกจักรเปยยาล
ด้วยอำนาจแห่งความพิสดารนั้นนั่นเอง และเพื่อแสดงอาการแห่งการอวด และ
ประเภทแห่งอาบัติ จึงตรัสว่า ตีหากาเรหิ ดังนี้ เป็นอาทิ.

[กถาว่าด้วยสุทธิกมหาวาร]


ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- มหาวาร 3 คือ สุทธิกวาร
(วารกำหนด้วยการอวดล้วน) 1 วัตตุกามวาร (วารกำหนดด้วยภิกษุผู้
ประสงค์จะอวด) 1 ปัจจัยปฏิสังยุตตวาร (วารกำหนดด้วยการอวดอันเกี่ยว
ด้วยปัจจัย) 1 บรรดามหาวาร 3 เหล่านั้น ในสุทธิกวาร 6 บทเหล่านี้ คือ
สมาปชฺชึ สมาปชฺชามิ สมาปนฺโน ลาภิมฺหิ วสิมฺหิ สจฺฉิกตํ มยา
ทรงประกอบบทอันหนึ่ง ๆ 5 ครั้ง อย่างนี้ว่า ด้วยอาการ 3 ด้วยอาการ 4
ด้วยอาการ 5 ด้วยอาการ 6 ด้วยอาการ 7 ในบทอันหนึ่ง ๆ ตั้งต้นแต่
ปฐมฌาน จนถึงบทว่า เปลื้องจิตจากโมหะ ตรัสชื่อว่า สุทธิกนัย. ลำดับนั้น
เมื่อทรงต่อบทอันหนึ่ง ๆ กับด้วยปฐมฌาน อย่างนี้ว่า ซึ่งปฐมฌาน ซึ่ง
ทุติยฌาน ดังนี้ ทรงต่อทุก ๆ บท ตรัสชื่อว่า ขัณฑจักร โดยอรรถอันพิสดาร
นั้นเทียว. อธิบายว่า ขัณฑจักรนั้น ตรัสว่าขัณฑจักร เพราะไม่ทรงนำมา
ประกอบกับฌานมีปฐมฌานเป็นต้นอีก. ลำดับนั้น ทรงต่อบทอันหนึ่ง ๆ กับ
ด้วยทุติยฌาน อย่างนี้ว่า ซึ่งทุติยฌาน ซึ่งตติยฌาน ดังนี้ แล้วทรงนำมา
เชื่อมกับปฐมฌานอีก ตรัสชื่อว่าพัทธจักร โดยอรรถอันพิสดารนั้นเทียว.
ลำดับนั้น ทรงต่อบทอันหนึ่ง ๆ กับด้วยฌาน มีตติยฌานเป็นต้น อย่างเดียว
กับต่อบทหนึ่งๆ กับทุติฌาน แล้วทรงนำมาเชื่อมกับฌานมีทุติยฌานเป็นต้น
อีก ตรัสพัทธจักร 29 แม้อื่น โดยอรรถอันพิสดารนั้นเทียว ให้สำเร็จเป็น
เอกมูลกนัยแล้ว

อนึ่ง ปาฐะ พระองค์ก็ทรงแสดงไว้โดยสังเขป. ปาฐะนั้น อันนักศึกษา
ผู้ไม่หลงงมงาย ควรทราบโดยพิสดาร. แม้ทุมูลกนัยเป็นต้น พระองค์ก็ตรัส
เหมือนเอกมูลกนัย แล้วได้ตรัสนัย 435 นัย ซึ่งมีมลทุกอย่างเป็นที่สุด. คือ
อย่างไร ? คือ ตรัสทวิมูลกนัยไว้ 29 ตรัสติมูลกนัยไว้ 28 ตรัสจตุมูลกนัย
ไว้ 27. แม้ปัญจมูลกนัย เป็นต้น ผู้ศึกษาก็ก็ควรลดลงอย่างละหนึ่งนัย แล้ว
ทราบจนกระทั่งถึงติงสมูลกนัยอย่างนี้ แต่ในปาฐะ ท่านย่อแม้ชื่อของนัย
เหล่านั้น เข้าแล้ว แสดงเฉพาะติงสมูลกนัยอันเดียวว่า นี้เป็นมูลกนัยทั้งหมด
ก็เพราะภิกษุไม่ต่อบทสุญญาคารเข้ากับฌาน, (อาบัติ) จึงไม่ถึงที่สุด. เหตุนั้น
การประกอบความในบททั้งปวง มีบทว่าเปลื้องจิตจากโมหะเป็นที่สุด นั่นแล
พึงทราบว่า ท่านแสดงแล้ว เพราะไม่แตะต้องบทสุญญาคารนั้น. ก็แล ใน
สุทธิกมหาวารตอนหนึ่งที่ท่านพระอุบาลีกล่าวไว้ ด้วยอำนาจการแสดงเนื้อความ
นี้ว่า เมื่อภิกษุต่อก็ดี ไม่ต่อก็ดี ซึ่งปฐมฌานเป็นต้น กับทุติยฌาน เป็นต้น
ตามลำดับก็ดี ผิดลำดับก็ดี อวดอยู่ โดยนัยว่า เราเข้าแล้ว เป็นต้น อย่างนี้
ความพ้น ย่อมไม่มี ย่อมต้องปาราชิกแท้ทีเดียว นี้เป็นการพรรณนาเนื้อความ
โดยสังเขป.
บทว่า ตีหากาเรหิ คือ ด้วยเหตุ 3 อย่าง อันเป็นองค์แห่ง
สัมปชานมุสาวาท
คำว่า ปุพฺเพวสฺส โหติ ความว่า ในส่วนเบื้องต้นทีเดียว บุคคลนั้น
ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจักกล่าวเท็จ.
คำว่า ภณนฺตสฺส โหติ ความว่า บุคคลนั้น กำลังกล่าว ย่อมมี
ความรู้อย่างนี้ว่า เรากำลังกล่าวเท็จ.

คำว่า กณิตสฺส โหติ ความว่า เมื่อกล่าวคำเท็จแล้ว บุคคลนั้น
ย่อมมีความรู้อย่างนี้ว่า เรากล่าวคำเท็จแล้ว. อธิบายว่า เมื่อเธอกล่าวคำที่พึง
กล่าวนั้นแล้ว ย่อมมีความรู้อย่างนี้.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภณิตสฺส ความว่า ความรู้อย่างนั้น ย่อมมี
แก่บุคคลนั้น ผู้มีคำพูดอันพูดแล้ว คือ มีคำพูดสำเร็จแล้ว . ในองค์แห่ง
สัมปชานมุสาวาทนี้ ท่านแสดงอรรถไว้ดังนี้ว่า ภิกษุใด แม้ในเบื้องต้นก็รู้
อย่างนี้ แม้กำลังกล่าว ก็รู้อยู่, แม้ในภายหลัง ก็รู้อยู่ว่า เรากล่าวเท็จแล้ว
ภิกษุนั้น เมื่อกล่าวว่า เราเข้าปฐมฌาน ดังนี้ ย่อมต้องปาราชิก. แม้ท่าน
แสดงอรรถไว้แล้วก็จริง ถึงอย่างนั้น ในองค์แห่งสัมปชานมุสาวาทนี้ ยังมี
ความแปลกกัน ดังนี้ :-
มีคำถามก่อนว่า เบื้องต้นว่า เราจักพูดมุสา มีอยู่, ส่วนภายหลังว่า
เราจะพูดมุสาแล้ว ไม่มี, จริงอยู่ คนบางคนย่อมลืมคำพูดที่พอพูคออกไปทีเดียว
ภิกษุนั้น จะเป็นปาราชิกหรือไม่เป็น ?
คำถามนั้น ท่านแก้ไว้แล้วในอรรถกถาทั้งหลาย อย่างนี้ ว่า ภิกษุคิดว่า
เราจักพูดเท็จ ในชั้นต้น, และเมื่อพูดอย่างก็รู้ว่า เรากำลังพูดเท็จ การไม่รู้ว่า
เราพูดเท็จแล้ว ในชั้นหลัง ไม่อาจจะไม่มี ถึงหากจะไม่มี ก็เป็นปาราชิก
เหมือนกัน. เพราะ 2 องค์เบื้องต้นนั่นแลเป็นสำคัญ แม้ภิกษุใด ในชั้นต้น
ไม่มีความผูกใจว่า เราจักกล่าวเท็จ แต่เมื่อกล่าว ย่อมรู้ว่า เรากล่าวเท็จ,
แม้เมื่อกล่าวแล้ว ก็รู้อยู่ว่า เรากล่าวเท็จแล้ว ภิกษุนั้น พระวินัยธรไม่พึง
ปรับอาบัติ. เพราะส่วนเบื้องต้นสำคัญกว่า, เมื่อเบื้องต้นนั้นไม่มี ย่อมเป็นอัน
พูดเล่นหรือพูดพลั้งไปก็ได้ ดังนี้แล.
ก็แล ในคำว่า มุสา ภาณิสฺสํ เป็นต้นนี้ ควรละความมีความรู้
อันนั้นและความประชุมพร้อมแห่งความรู้เสีย.

ข้อว่า ควรละความมีความรู้อันนั้นเสีย ได้แก่ พึงละความมีความรู้
อันนั้นนี้ว่า ย่อมรู้ได้ใน 3 ขณะ ด้วยจิตดวงเดียวเท่านั้น อย่างนี้ว่า ภิกษุรู้
อยู่ว่า เราจักกล่าวเท็จ ดังนี้ ด้วยจิตดวงใด ย่อมรู้ว่า เรากำลังกล่าวเท็จ และว่า
เรากล่าวเท็จแล้ว ดังนี้ ด้วยจิตดวงนั้นนั่นแล. จริงอยู่ ใคร ๆ ไม่อาจจะรู้
จิตด้วยจิตดวงนั้นนั่นเองได้ เหมือนบุคคลไม่อาจเอาดาบเล่มนั้นตัดดาบเล่มนั้น
นั่นเองได้ ฉะนั้นแล. ก็จิตรดวงที่เกิดขึ้นก่อน ๆ เป็นปัจจัยแห่งความเกิดขึ้น
อย่างนั้น ของจิตดวงหลัง ๆ แล้วย่อมดับไป. ด้วยเหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าว
คำนี้ไว้ว่า
ส่วนเบื้องต้นเท่านั้น เป็นประมาณ
เมื่อส่วนเบื้องต้นนั้นมีอยู่ คำว่า สองบท
ที่เหลือ จักไม่มี ดังนี้นั้น ย่อมไม่มี; เพราะ
ฉะนั้น วาจา จงชื่อว่ามีองค์ 3.

ข้อว่า ควรละความประชุมพร้อมแห่งความรู้ ความว่า จิต 3 ดวง
เหล่านี้ ไม่ควรถือเอาว่า เกิดขึ้นในขณะเดียวกัน. จริงอยู่ ธรรมดาจิตนี้
ย่อมปรากฏเหมือนเป็นดวงเดียว
เพราะเกิดขึ้นติดต่อกัน เมื่อดวงแรกยังไม่ดับ
ดวงหลังก็ยังไม่เกิดขึ้น ดังนี้แล.

ก็แล ข้าพเจ้าจักกล่าวคำ ที่ถัดจากนี้ต่อไป :- บุคคลนี้ใดย่อมกล่าว
สัมปชานมุสาวาทว่า ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌาน บุคคลนั้น ย่อมเป็นผู้มีความเห็น
อย่างนี้ว่า ปฐมฌานของเรา ย่อมไม่มี, จริงอยู่ ลัทธินี้ ของบุคคลนั้น มีอยู่แท้.
อนึ่ง ลัทธิอย่างนี้ว่า ปฐมฌานของเรา ย่อมไม่มี ดังนี้ ย่อมพอใจ และ
ชอบใจแก่บุคคลนั้น, และบุคคลนั้น มีจิตมีสภาพอย่างนี้นั่นเทียวว่า ปฐมฌาน

ของเรา ย่อมไม่มี, ก็แล ในกาลใด ตนเป็นผู้ใคร่จะกล่าวเท็จ, ในกาลนั้น
บุคคลนั้นละ คือ ทิ้ง ปิดบังความเห็นนั้น หรือความพอใจกับความเห็น ความ
พอใจกับความเห็นและความพอใจ หรือความเป็นกับความเห็นความพอใจ
และความชอบใจ แล้วกล่าวทำให้เป็นคำเท็จ ; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า จตูหิ อากาเรหิ เป็นอาทิ เพื่อแสดงความต่างแห่งองค์
ด้วยอำนาจความเห็นเป็นต้นแม้เหล่านั้น. ก็เพราะในคัมภีร์ปริวาร ท่านกล่าวว่า
มุสาวาทมีองค์ 8 ในอธิการนี้ จึงควรประกอบนัยอันหนึ่งว่า อฏฺฐหากาเรหิ
เป็นอีกนัยหนึ่งผสมกับสัญญาที่ท่านประสงค์ ในคัมภีร์ปริวารนั้น.
ก็แล บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า วินิธาย ทิฏฺฐึ ตรัสด้วยอำนาจ
การละธรรมอันมีกำลังเสีย.
บทว่า วินิธาย ขนฺตึ เป็นอาทิ ตรัสด้วยอำนาจการละธรรมทั้งหลาย
ที่ทรามกำลัง และที่หย่อนกำลังกว่าธรรมที่มีกำลังนั้น.
ส่วนบทว่า วินิธาย สญฺญํ นี้ ชื่อว่าแม้เป็นเพียงสัญญาที่เป็นไป
ด้วยอำนาจการละธรรมที่ทรามกำลังกว่าธรรมทั้งปวงในที่นี้ .
ฐานะว่า ไม่ละ จักกล่าวสัมปชานมุสาวาท นี้จะไม่มี. ก็เพราะไม่เป็น
ปาราชิก ด้วยคำที่บ่งอนาคต เป็นต้นว่า ข้าพเจ้าจักเข้า เหตุฉะนั้น บทที่บ่ง
อดีต และปัจจุบันว่า ข้าพเจ้าเข้าแล้ว เป็นต้นเท่านั้น พึงทราบว่า ตรัสไว้
ในพระบาลี.
เบื้องหน้าแต่นี้ไป คำแม้ทั้งหมดในสุทธิกมหาวารนี้ มีเนื้อความตื้น
ทั้งนั้น. จริงอยู่ ในสุทธิกมหาวารนี้ ไม่มีคำที่ไม่อาจรู้ได้ด้วยวินิจฉัยนี้ เว้น
แต่เนื้อความแห่งบทว่า ราโค เม จตฺโต วนฺโต เป็นต้น ในบทภาชนะ
แห่งบทว่า การละกิเลส. เนื้อความนี้นั้น ข้าพเจ้าจักกล่าวต่อไป :-

ก็บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า จตฺโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสด้วย
อำนาจการสละภาวะแห่งตน
บทว่า วนฺโต นี้ ตรัสด้วยอำนาจแสดงภาวะที่ราคะยึดถือไม่ได้อีก.
บทว่า มุตฺโต นี้ ตรัสด้วยอำนาจความพ้นจากสันตติ.
บทว่า ปหีโน นี้ ตรัสด้วยอำนาจแสดงความตั้งลงไม่ได้ ในที่ไหนๆ
แม้แห่งราคะที่หลุดไปแล้ว.
บทว่า ปฏินิสฺสฏฺโฐ นี้ ตรัสด้วยอำนาจแสดงความสละคืนราคะที่
เคยยึดถือไว้ในหนหลังเสีย.
บทว่า อุกฺเขฏิโต นี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจแสดงภาวะที่กลับแอบแนบ
ไม่ได้อีก เพราะถูกอริยมรรคถอนขึ้นเสียแล้ว . เนื้อความนี้นั้น ผู้ศึกษาทั้งหลาย
พึงค้น ดูจากคัมภีร์ศัพทศาสตร์.
บทว่า สมุกฺเขฏิโต นี้ ตรัสไว้ด้วยอำนาจแสดงภาวะที่กลับแอบ
แนบไม่ได้อีก แม้แห่งราคะที่สหรคตเพียงเล็กน้อย เพราะถอนขึ้นเด็ดขาด
ด้วยประการฉะนี้.
สุทธิกวารกถา จบ

กถาว่าด้วยผู้มีความประสงค์จะกล่าว


เนื้อความแห่งบทว่า ตีหากาเรหิ เป็นอาทิ และประเทศแห่งวาร
เปยยาลทั้งปวง แม้ในวัตถุกามวาร พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในสุทธิกวารนี้
แล. ก็วัตตุกามวารนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้เพื่อกันโอกาสของบาปบุคคลทั้ง
หลายอย่างเดียว ผู้แสวงหาช่องอย่างนี้ว่า คำนี้ใดเล่า เราประสงค์จะกล่าวคำ
อื่น กล่าวผิดเป็นคำอื่น ; เพราะฉะนั้นอาบัติจึงไม่มีแก่เรา. เหมือนอย่างว่า
ภิกษุปรารถนาจะกล่าวว่า พุทธํ ปจฺจกฺขามิ เมื่อกล่าวบทใดบทหนึ่ง บรรดา
บทสำหรับบอกลาสิกขามีว่า ธมฺมํ ปจฺจกฺขามิ เป็นต้น ย่อมเป็นผู้บอก
ลาสิกขาแล้วแท้ เพราะบทเหล่านั้นหยั่งลงในเขต ฉันใดแล, ข้อนี้ก็ฉันนั้น
ภิกษุผู้ใคร่จะกล่าวบทใดบทหนึ่งบทเดียว บรรดาบทอุตริมนุสธรรมมีปฐมฌาน-
เป็นต้น แม้เมื่อกล่าวบทใดบทหนึ่งอย่างอื่นจากบทนั้น ย่อมเป็นปาราชิกที
เดียว เพราะบทนั้นหยั่งลงในเขต. แม้ถ้าเธอกล่าวแก่ผู้ใด, ผู้นั้น ย่อมรู้ความ
นั้นในขณะนั้นทันที. ก็แล ลักษณะแห่งการรู้ในการอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่
มีจริงนี้ พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในการบอกลาสิกขานั่นแล. แต่ความแปลก
กัน มีดังต่อไปนี้ :- การบอกลาสิกขา ย่อมไม่ถึงความสำเร็จด้วยหัตถมุทธา
(ไม่สำเร็จได้ด้วยการกระดิกหัวแม่มือ) การอวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีจริงนี้
ย่อมหยั่งลง (สู่ความสำเร็จ) แม้ด้วยหัตถมุทธา. จริงอยู่ ภิกษุใดอวดดอุตริม-
นุสธรรมที่ไม่มีจริงด้วยความเคลื่อนไหวแห่งอวัยวะน้อยใหญ่ มีหัตถวิการ
(แกว่งมือ) เป็นต้น แก่บุคคลผู้ยืนอยู่ในคลองแห่งวิญญัติ. และบุคคลนั้น
รู้ใจความนั้นได้, ภิกษุนั้น เป็นปาราชิกแท้. แต่ถ้าเธอบอกแก่ผู้ใด, ผู้นั้น
ไม่เข้าใจ หรือถึงความสงสัยว่า ภิกษุนี้ พูดอะไร ? หรือพิจารณานานจึงรู้ใน