เมนู

มุสาวาทใด, เมื่อจะทรงแสดงองค์แห่งสัมปชานมุสาวาทนั้นแล้ว ผูกจักรเปยยาล
ด้วยอำนาจแห่งความพิสดารนั้นนั่นเอง และเพื่อแสดงอาการแห่งการอวด และ
ประเภทแห่งอาบัติ จึงตรัสว่า ตีหากาเรหิ ดังนี้ เป็นอาทิ.

[กถาว่าด้วยสุทธิกมหาวาร]


ในคำนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- มหาวาร 3 คือ สุทธิกวาร
(วารกำหนด้วยการอวดล้วน) 1 วัตตุกามวาร (วารกำหนดด้วยภิกษุผู้
ประสงค์จะอวด) 1 ปัจจัยปฏิสังยุตตวาร (วารกำหนดด้วยการอวดอันเกี่ยว
ด้วยปัจจัย) 1 บรรดามหาวาร 3 เหล่านั้น ในสุทธิกวาร 6 บทเหล่านี้ คือ
สมาปชฺชึ สมาปชฺชามิ สมาปนฺโน ลาภิมฺหิ วสิมฺหิ สจฺฉิกตํ มยา
ทรงประกอบบทอันหนึ่ง ๆ 5 ครั้ง อย่างนี้ว่า ด้วยอาการ 3 ด้วยอาการ 4
ด้วยอาการ 5 ด้วยอาการ 6 ด้วยอาการ 7 ในบทอันหนึ่ง ๆ ตั้งต้นแต่
ปฐมฌาน จนถึงบทว่า เปลื้องจิตจากโมหะ ตรัสชื่อว่า สุทธิกนัย. ลำดับนั้น
เมื่อทรงต่อบทอันหนึ่ง ๆ กับด้วยปฐมฌาน อย่างนี้ว่า ซึ่งปฐมฌาน ซึ่ง
ทุติยฌาน ดังนี้ ทรงต่อทุก ๆ บท ตรัสชื่อว่า ขัณฑจักร โดยอรรถอันพิสดาร
นั้นเทียว. อธิบายว่า ขัณฑจักรนั้น ตรัสว่าขัณฑจักร เพราะไม่ทรงนำมา
ประกอบกับฌานมีปฐมฌานเป็นต้นอีก. ลำดับนั้น ทรงต่อบทอันหนึ่ง ๆ กับ
ด้วยทุติยฌาน อย่างนี้ว่า ซึ่งทุติยฌาน ซึ่งตติยฌาน ดังนี้ แล้วทรงนำมา
เชื่อมกับปฐมฌานอีก ตรัสชื่อว่าพัทธจักร โดยอรรถอันพิสดารนั้นเทียว.
ลำดับนั้น ทรงต่อบทอันหนึ่ง ๆ กับด้วยฌาน มีตติยฌานเป็นต้น อย่างเดียว
กับต่อบทหนึ่งๆ กับทุติฌาน แล้วทรงนำมาเชื่อมกับฌานมีทุติยฌานเป็นต้น
อีก ตรัสพัทธจักร 29 แม้อื่น โดยอรรถอันพิสดารนั้นเทียว ให้สำเร็จเป็น
เอกมูลกนัยแล้ว