เมนู

อย่างนั้น คือ กรรมเป็นเหตุประทุษร้ายคนเดินทาง ปล้นสดมภ์ชาวบ้านที่ตั้ง
อยู่ชายแดน เป็นบุรุษผู้ถึงความเจริญไพบูลย์ขึ้นแล้ว ทำบ้านมิไห้เป็นบ้านบ้าง
ทำชนบทมิให้เป็นชนบทบ้าง ฆ่าเอง ให้ผู้อื่นฆ่า ตัดเอง ให้ผู้อื่นตัด เผา-
ผลาญเอง ให้ผู้อื่นเผาผลาญ.

[มหาโจรในพระศาสนาเที่ยวย่ำยีสิกขาบทน้อยใหญ่]


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงโจรภายนอกอย่างนี้แล้ว จึงตรัส
พระดำรัสว่า เอวเมว โข เป็นต้น เพื่อทรงแสดงมหาโจร 5 จำพวกใน
พระศาสนา ผู้เช่นกับโจรภายนอกนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปภิกฺขุโน ความว่า ในที่อื่นๆ
ภิกษุผู้ต้องปาราชิก มีมูลขาดแล้ว ท่านเรียกว่า ภิกษุผู้เลวทราม. ส่วนใน
สิกขาบทนี้ ภิกษุผู้มิได้ต้องปาราชิก แต่ตั้งอยู่ในอิจฉาจารเที่ยวย่ำยีสิกขาบท
น้อยใหญ่ ท่านประสงค์เอาว่า ภิกษุผู้เลวทราม ความปรารถนาในส่วนเบื้อง
ต้น ย่อมเกิดขึ้น แม้แก่ภิกษุผู้เลวทรามนั้น เหมือนเกิดขึ้นแก่มหาโจรภายนอก
อย่างนี้ว่า เมื่อไรหนอ ? เราจงจักเป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง
แวดล้อมแล้ว เที่ยวจารึกไปในคามนิคมและราชธานี อันคฤหัสถ์
และบรรพชิตสักการะ เคารพนับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณ -
ฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช ปริขาร. *

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกโต ได้แก่ ผู้ประสบสักการะ.
บทว่า ครุกโต ได้แก่ ผู้ได้รับความเคารพ.
บทว่า มานิโต ได้แก่ ผู้อันเขารักด้วยน้ำใจ.
บทว่า ปูชิโต ได้แก่ ผู้อันเขาบูชาแล้ว ด้วยการบูชา คือนำมา
เฉพาะซึ่งปัจจัยทั้ง 4.
//* วิ. มหา. 1/14.169 - 170

บทว่า อปจิโต ได้แก่ ผู้ลุถึงความยำเกรง. บรรดาบุคคลเหล่านั้น
ชนทั้งหลายสักการะปัจจัย 4 คือ ทำปัจจัย 4 ที่ตกแต่งไว้อย่างดีให้ประณีต ๆ
แล้ว จึงถวายแก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้น ชื่อว่า อันเขาสักการะแล้ว. ชนทั้งหลาย
ให้ความเคารพเข้าไปตั้งอยู่เฉพาะในท่านผู้ใด แล้วจึงถวาย , ท่านผู้นั้น ชื่อว่า
อันเขาเคารพแล้ว. ชนทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ท่านผู้ใด ด้วยน้ำใจ. ท่านผู้นั้น
ชื่อว่าอันเขานับถือแล้ว. ชนทั้งหลาย ย่อมทำกิจ มีการสักการะเป็นต้นนั้นแม้
ทั้งหมด แก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้น ชื่อว่า อันเขาบูชาแล้ว. ชนทั้งหลายย่อม
ทำความนบนอบอย่างยิ่ง ด้วยอำนาจแห่งกิจ มีการกราบไหว้ลุกรับ และ
ประนมมือไหว้เป็นต้น แก่ท่านผู้ใด, ท่านผู้นั้น ชื่อว่า อันเขายำเกรงแล้ว.
ก็ความปรารถนาอย่างนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เลวทราม ผู้ปรารถนาอยู่ ซึ่งโลกามิส
แม้ทั้งหมดนี้.
ข้อว่า โส อปเรน สมเยน มีความว่า ภิกษุผู้เลวทรามนั้น
ครั้นคิดในส่วนเบื้องต้น อย่างนั้น แล้ว สงเคราะห์พวกภิกษุเลวทรามผู้ไม่มี
ความเคารพกล้าในสิกขา ฟุ้งซ่าน จองหอง หลุกหลิก ปากจัด พูดพร่ำเพรื่อ
หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีอินทรีย์เปิด (ผู้ไม่สำรวมอินทรีย์) ที่พระ
อาจารย์และอุปัชฌาย์สละทิ้งแล้ว ผู้หนักในลาภ โดยลำดับ แล้วให้สำเหนียก
ธรรมเนียมของคนหลอกลวงทั้งหลาย มีการวางกิริยาท่าทางเป็นต้น เป็นผู้มี
คุณอันพวกภิกษุเลวทราม ผู้ทำความสั่งสม ในนิทานชาดกเป็นต้น สมบูรณ์
ด้วยกระแสเสียง สามารถเพื่อลวงต้มชาวโลก สรรเสริญอยู่ ด้วยอุบายทั้งหลาย
มีการพรรณนาถึงเสนาสนะที่ชาวโลกสมมุติเป็นต้น อย่างนั้นว่า พระเถระรูปนี้
เข้าจำพรรษาอยู่ในเสนาสนะชื่อโน้น บำเพ็ญวัตรปฏิบัติอยู่ออกพรรษาแล้ว
ก็จะออกไป เป็นผู้อันภิกษุร้อยหนึ่ง หรือพันหนึ่งแวดล้อม เที่ยวจาริกไปใน

คานนิคม และราชธานี อันคฤหัสถ์และบรรพชิต สักการะ เคารพ นับถือ
บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาตเสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร.

[มหาโจรในพระศาสนามี 5 จำพวก]


ข้อว่า อยํ ภิกฺขเว ปฐโม มหาโจโร มีความว่า ภิกษุผู้เลวทราม
เป็นเหมือนโจรผู้ตัดที่ต่อเป็นต้น นี้ พึงทราบว่า เป็นมหาโจรจำพวกที่ 1
เพราะมิใช่จะหลอกลวงตระกูลหนึ่ง หรือสองตระกูลเท่านั้นก็หาไม่ , โดยที่แท้
ยังหลอกลวงมหาชน ถือเอาปัจจัย 4 ด้วย. ส่วนภิกษุเหล่าใด ผู้เชี่ยวชาญใน
พระสูตร เชี่ยวชาญในพระอภิธรรม หรือทรงพระวินัย เมื่อภิกษาจารไม่สมบูรณ์
เที่ยวจาริกไปตามชนบทบอกบาลี กล่าวอรรถกถา ยังชาวโลกให้เลื่อมใสด้วย
อนุโมทนาด้วยธรรมกถา และด้วยความเรียบร้อยแห่งกิริยาท่าทาง , ภิกษุเหล่านั้น
เขาสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรงแล้ว พึงทราบว่า เป็นผู้ยังพระ-
ศาสนาให้รุ่งเรื่อง สืบต่อแบบแผนและประเพณีไว้.
บทว่า ตถาคตปฺปเวทิตํ ความว่า อันพระตถาคตแทงตลอดแล้ว
คือ กระทำให้ประจักษ์แล้ว หรือยังผู้อื่นให้รู้แล้ว.
สองบทว่า อตฺตโน ทหติ มีความว่า ภิกษุผู้เลวทราม เทียบเคียง
บาลีและอรรถกถา อยู่ในท่ามกลางบริษัท กล่าวพระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความ
เลื่อมใส ด้วยเสียงอันไพเราะ ถูกวิญญูชนผู้เกิดมีความอัศจรรย์ใจไต่ถามในที่สุด
แห่งธรรมกถาว่า โอ ! ท่านผู้เจริญ บาลีและอรรถกถา บริสุทธิ์ , พระคุณเจ้า
เรียนเอาในสำนักของ ใคร ? ดังนี้ กล่าวว่า ใครจะสามารถให้คนเช่นเราเรียน
แล้วไม่แสดงอาจารย์ประกาศธรรมวินัยที่ตนแทงตลอดเอง คือ ที่คนได้บรรลุ
ด้วยสยัมภูญาณ. ภิกษุผู้ขโมยธรรมที่พระตถาคตทรงบำเพ็ญบารมี สิ้น 4 อสงไขย
ยิ่งด้วยแสนกัป ได้ตรัสรู้โดยแสนยากลำบาก นี้ จัดเป็นมหาโจรจำพวกที่ 2.