เมนู

นัยที่พ้นจากบาลี มีดังต่อไปนี้ :- บัณฑิตพึงทราบความต่างแห่ง
อาบัติของภิกษุผู้ส่งแม้ยักษ์ที่ร้ายไปสู่สำนักของภิกษุ เหมือนอย่างภิกษุส่งภิกษุ
ไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุร้าย ฉะนั้น. ในเรื่องทั้งหลายนี้ ทางกันดารด้วยสัตว์
ร้ายเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ ในเรื่องทางกันดารมีสัตว์ร้ายเป็นต้น
นี้ มีเพียงใจความเฉพาะบทอย่างเดียวเท่านั้นเป็นชื่อ. (ที่ต่างกัน) อย่างนี้ คือ
ทางกันดารที่มีพวกมฤคที่ดุร้าย หรือมีทีฆชาติอยู่ ชื่อวาฬกันดาร, ทางกันดาร
ที่มีพวกโจรอยู่ชื่อโจรกันดาร. อันธรรมดาว่า มนุสสวิคคหปาราชิกนี้ละเอียด
ย่อมไม่พ้นด้วยปริยายกถา (กถาโดยทางอ้อม). เพราะฉะนั้น ภิกษุใดพึงกล่าว
ว่า ผู้ใดตัดศีรษะของโจร ผู้นั่งอยู่ในโอกาสชื่อโน้นแล้วนำมา, ผู้นั้นย่อมได้
สักการะวิเศษจากพระราชา ดังนี้. ถ้ามีใครได้ฟังคำของภิกษุนั้นแล้วไปฆ่าโจร
นั้นเสีย, ภิกษุนี้ย่อมเป็นปาราชิกแล.

[เรื่องสำคัญว่าเป็นภิกษุคู่เวรแน่จึงฆ่าเสีย]


ในคำมีอาทิว่า ตํ มณฺญมาโน มีวินิจฉัยดังนี้:- ได้ยินว่าภิกษุนั้น
ใคร่จะฆ่าภิกษุผู้มีเวรของตน จึงคิดว่า การที่เราจะฆ่าภิกษุผู้คู่เวรนี้ในกลางวัน
หนีไปโดยความปลอดภัย ไม่พึงเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย เราจักฆ่าภิกษุนั้นใน
กลางคืน, ครั้น กำหนดไว้แล้ว มาในกลางคืนสำคัญว่าภิกษุผู้คู่เวรนั้นแน่ ใน
สถานที่ภิกษุมากรูปจำวัด จึงปลงภิกษุรูปนั้นนั่นเองจากชีวิต, อีกรูปหนึ่ง
สำคัญว่าภิกษุผู้คู่เวรนั้นแน่ แต่ปลงภิกษุรูปอื่นจากชีวิต, อีกรูปหนึ่ง สำคัญว่า
ภิกษุอื่นแน่ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้นนั่น เอง แต่ก็ปลงภิกษุผู้คู่เวรนั้น
จากชีวิต, อีกรูปหนึ่ง สำคัญว่า ภิกษุอื่นแน่ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้น
นั่นเอง แต่ก็ปลงภิกษุอื่น ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้นนั่นแลจากชีวิต;
เป็นปาราชิกแก่เธอทั้งหมดเหมือนกัน.

[เรื่องผีเข้าสิงภิกษุ]


ในเรื่องของภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิง

มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุอีกรูปหนึ่ง
ได้ให้การประหาร (แก่ภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิ่งนั้น ) ด้วยคิดว่า จักขับไล่ยักษ์ให้
หนีไป. ภิกษุนอกจากนี้ คิดว่า คราวนี้ ยักษ์นี้ ไม่สามารถจะทำพิรุธได้,
เราจักฆ่ามันเสีย ได้ให้การประหาร. และในเรื่องของภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิงเรื่อง
แรกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีความประสงค์
จะให้ตาย เพราะเหตุนั้น ด้วยพระพุทธดำรัสเพียงเท่านี้นั่นแล ภิกษุจึงไม่ควร
ให้การประหารแก่ภิกษุผู้ถูกผีสิง, แต่พึงเอาใบตาลหรือเส้นด้ายพระปริตรผูกไว้
ที่มือหรือเท้า. พึงสวดพระปริตรทั้งหลาย มีรัตนสูตรเป็นต้น พึงทำธรรมกถา
ว่า ท่านอย่าเบียดเบียนภิกษุผู้มีศีล ดังนี้.
เรื่องพรรณนาสวรรค์เป็นต้น มีเนื้อความชัดเจนแล้ว. ก็คำที่พึง
กล่าวในเรื่องพรรณนาสวรรค์เป็นต้นนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วแล.

[เรื่องภิกษุตัดต้นไม้]


เรื่องตัดต้นไม้ ก็เช่นเดียวกับเรื่องผูกร่างร้าน. แต่มีความแปลกกัน
ดังต่อไปนี้:- ภิกษุใด แม้ถูกต้นไม้ล้มทับแล้ว ยังไม่มรณภาพ และเธอ
สามารถจะตัดต้นไม้หรือขุดแผ่นดินแล้วออกไปโดยข้าง ๆ หนึ่งได้, และในมือ
ของเธอก็มีมีดและจอบ *อยู่ ภิกษุแม้นั้นควรสละชีวิตเสีย. และไม่ควรตัดต้นไม้
หรือไม่ควรขุดดิน. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่า ภิกษุเมื่อทำอย่างนั้น ย่อม
ต้องปาจิตตีย์ ย่อมหักรานเสียซึ่งพุทธอาณา ย่อมไม่ทำศีลให้มีชีวิตเป็นทีสุด;
เพราะเหตุนั้น ถึงแม้ชีวิตก็ควรสละเสีย แต่ไม่ควรสละศีล; ครั้นภิกษุคำนวณ
ได้รอบคอบดังกล่าวมาแล้วนี้ ไม่พึงทำ (การตัดต้นไม้และขุดดิน) ด้วยอาการ
//* กธารี ผึ่งถากไม้, ขวานโยน, จอบ.