เมนู

เมื่อภิกษุพรรณนาคุณความตายแล้ว ภิกษุใดไม่ทำความพยายามอะไร ๆ เพราะ
การพรรณนานั้น มรณภาพไปตามธรรมดาของตนตามอายุ และตามความ
สืบต่อ (แห่งอายุ), ภิกษุผู้พรรณนา อันพระวินัยธรไม่ควรปรับอาบัติ เพราะ
ความตายของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ฉะนี้แล.

[เรื่องภิกษุนั่งทับเด็กตาย]


ในคำว่า น จ ภิกฺขเว อปฏิเวกฺขิตฺวา เป็นต้น (ซึ่งมีอยู่)
ในเรื่องที่ 2 มีวินิจฉัยดังนี้:-
ถามว่า อาสนะ เช่นไรต้องพิจารณา เช่นไรไม่ต้องพิจารณา ?
แก้ว่า อาสนะล้วน ๆ ไม่มีเครื่องปูลาดข้างบน และอาสนะที่เขาปูลาด
ต่อหน้าพวกภิกษุผู้มายืนดูอยู่ ไม่ต้องพิจารณา, ควรนั่งได้. แม้บนอาสนะที่
ชาวบ้านเขาเอามือปรบ ๆ เองแล้วถวายว่า ขอนิมนต์นั่งบนอาสนะนี้เถิด ขอรับ !
ดังนี้ ก็ควรนั่งได้. ถ้าแม้นว่า ภิกษุหลายรูปมานั่งอยู่ก่อนแล้วแล. ภายหลัง
จึงขยับขึ้นไปข้างบนหรือถอยร่นลงมาข้างล่าง, ไม่มีกิจที่จะต้องพิจารณา. แม้
บนอาสนะที่เขาเอาผ้าบาง ๆ คลุมไว้ให้มองเห็นพื้น (อาสนะ) ได้ ไม่มีกิจที่
จะต้องพิจารณา. ส่วนอาสนะใด ซึ่งเป็นของที่เขาเอาผ้าปาวารและผ้าโกเชาว์
เป็นต้น ปูลาดไว้ก่อนทีเดียว, ภิกษุควรเอามือลูบคลำกำหนดดูอาสนะนั้นเสีย
ก่อนจึงนั่ง. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ในอาสนะใด แม้ที่เขาเอาผ้า
สาฎกที่หนาปูลาดไว้ รอยย่นย่อมไม่ปรากฏ, อาสนะนั้น ไม่ต้องพิจารณา.

[เรื่องภิกษุทำสากล้มฟาดถูกเด็กตาย]


ในเรื่องสาก มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า อสญฺจิจฺโจ ได้แก่ ผู้ไม่มี
เจตนาจะฆ่า. จริงอยู่ ภิกษุนั้นมีความประกอบผิดพลาดไป; เพราะฉะนั้น เธอ
จึงกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ามิได้แกล้ง เรื่องครกมีเนื้อความชัดเจนแล้วแล.

[เรื่องภิกษุผู้บุตรผลักภิกษุผู้บิดาล้มตาย]


ในเรื่องแรก (ซึ่งมีอยู่) ในเรื่องพวกพระขรัวตา มีวินิจฉัยดังนี้:-
(ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดา) ว่า ท่านอย่าได้ทำให้ภิกษุสงฆ์เป็นกังวล
ดังนี้ จึงผลัก (ภิกษุผู้บิดา) ไป.
ในเรื่องที่ 2 มีวินิจฉัยดังนี้:- (ภิกษุผู้บุตรถูกเพื่อนพรหมจารี)
กล่าวล้อเลียนอยู่ทั้งในท่ามกลางสงฆ์บ้าง ในท่ามกลางคณะบ้างว่า บุตรของ
พระเถระแก่ อึดอัดอยู่ด้วยคำพูดนั้นจึงได้ผลัก (ภิกษุผู้บิดา) ไปด้วยคิดว่า
พระขรัวตานี้ จงตายเสียเถิด.
ในเรื่องที่ 3 มีวินิจฉัยดังนี้:- เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้บุตร เพราะ
ก่อทุกข์ให้เกิดแก่ภิกษุผู้บิดานั้น. 3 เรื่องถัดจากนั้นไป มีเนื้อความชัดเจน
ทั้งนั้น.

[เรื่องภิกษุฉันบิณฑบาตเจือยาพิษตาย]


ในเรื่องบิณฑบาตเจือด้วยยาพิษ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุผู้บำเพ็ญ
สาราณียธรรมนั้น ถวายบิณฑบาตส่วนเลิศแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายเสียก่อน
จึงฉัน. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า ได้ถวายบิณฑบาต
นั้น ทำให้เป็นต้นส่วนเลิศ.
บทว่า อคฺคการิกํ ได้แก่ บิณฑบาตที่ตนได้มาครั้งแรก ซึ่งทำให้
เป็นส่วนเลิศ, อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า บิณฑบาตที่ยอดเยี่ยมคือที่ประณีต ๆ.
ก็กิริยาที่ทำให้เป็นส่วนเลิศ กล่าวคือการให้ของภิกษุ นั้นใคร ๆ ไม่อาจถวาย
ได้. จริงอยู่ถึงบิณฑบาต (ตามปกติ) เธอก็ได้ถวายตั้งต้นแต่อาสนะพระเถระ
ลงไป.