เมนู

ให้มั่นคง ; เธอทั้ง 2 รูปไม่พ้น ถ้าเมื่อเกิดความเดือดร้อนขึ้น เธอจึงรูดบ่วง
ให้หลุดออกแล้ว ไปเสีย. คนเหล่าอื่น พบเห็นบ่วงที่รูดออกแล้วนั้น เอา
ไว้อีก สัตว์ทั้งหลายที่ติด (บ่วง) แล้ว ๆ ตายไป; ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม ไม่
พ้นไปได้. แต่ถ้าคันบ่วง อันเธอผู้เป็นต้นเดิมนั้นไม่ได้ทำไว้เอง แต่วางไว้.
ในที่ ๆ ตนรับมา ย่อมพ้น. เธอตัดไม้คันบ่วงซึ่งเกิดอยู่ในสถานที่นั้นเสีย ย่อม
พ้น. แต่แม้เมื่อเธอเก็บรักษาไม้คันบ่วงที่คนทำเองไว้ ย่อมไม่พ้น. จริงอยู่
ถ้าภิกษุรูปอื่น ถือเอาไม้คันบ่วงนั้น ไปดักบ่วงไว้อีกไซร้, เมื่อสัตว์ทั้งหลาย
ตายไป เพราะมีการดักบ่วงนั้นเป็นปัจจัย ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม ย่อมพ้น,
ถ้าเธอเผาคันบ่วงนั้น ทำให้เป็นดุ้นไฟแล้วทิ้งเสีย, แม้เมื่อสัตว์ทั้งหลาย ได้
การประหารด้วยดุ้นไฟนั้นตายไปย่อมไม่พ้น. แต่เผาหรือทำให้เสียหายไปโดย
ประการทั้งปวง ย่อมพ้น. เธอวางแม้เชือกบ่วงที่คนเหล่าอื่นฟั่นเสร็จแล้วใน
ที่ ๆ ตนรับมา ย่อมพ้น. เธอได้เชือกมาแล้ว คลี่เกลียวที่เขาฟั่นไว้ออกเสียเอง
(หรือ) ทำเชือกที่ตนได้ปอมาแล้วฟั่นไว้ ให้เป็นชิ้นน้อยและชิ้นใหญ่ ย่อมพ้น.
แต่แม้เมื่อเธอเก็บรักษาเชือกที่ตนเองนำปอมาจากป่าฟั่นไว้ย่อมไม่พ้น, แต่เผา
หรือทำให้เสียหายไปโดยประการทั้งปวง ย่อมพ้น.

[ว่าด้วยการใช้ฟ้าถล่มดักสัตว์ของภิกษุ]


ภิกษุเมื่อจัดแจงฟ้าถล่ม วางเตียงฟ้าถล่มไว้บนเท้าทั้ง 4 ยกหินขึ้น
เป็นทุกกฏ ทุก ๆ ประโยค. เมื่อทำการตระเตรียมทุกอย่างแล้ว พอฟ้าถล่ม
พ้นไปจากมือ พึงทราบว่าเป็นปาราชิกเป็นต้น ตามสมควรแก่ประโยคที่ทำ
เจาะจงและไม่เจาะจง ด้วยอำนาจแห่งพวกสัตว์ที่จะพึงถูกทับแน่นอน. แม้เมื่อ
ภิกษุจำหน่ายฟ้าถล่ม ด้วยมูลค่าหรือให้เปล่าก็ตาม ข้อผูกพันทางกรรม ย่อม
มีแก่ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมทีเดียว. ถ้าภิกษุผู้ได้ฟ้าถล่มไป ยกฟ้าถล่มที่ตกขึ้นไว้

หรือยกหินแม้ก้อนอื่นขึ้นทำให้มีน้ำหนักกว่า หรือเห็นพวกสัตว์เดินไปข้าง ๆ
ทำรั้วกั้นไว้ต้อนสัตว์ให้เข้าไปที่ฟ้าถล่ม, เธอทั้ง 2 รูป ย่อมไม่พ้น. ถ้าเมื่อ
เกิดความเดือดร้อนขึ้น เธอจึงทำฟ้าถล่มให้ตกแล้ว ไปเสีย, ภิกษุรูปอื่นพบ
เห็นฟ้าถล่มที่ตกแล้วนั้น ก็ทั้งดักไว้อีก, ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมไม่พ้น. ภิกษุวาง
ก้อนหินไว้ในที่ ๆ ตนรับมา และวางขาฟ้าถล่มไว้ในที่ ๆ ตนรับมา หรือเผา
โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในคันบ่วงย่อมพ้น.
แม้เมื่อภิกษุปักหลาว พอทำการตระเตรียมทุกอย่างเสร็จแล้ว พ้นจาก
มือ พึงทราบว่า เป็นปาราชิกเป็นต้น โดยสมควรแก่ประโยคที่ทำเจาะจง
ด้วยอำนาจแห่งพวกสัตว์ที่จะตกไปตามบนคมหลาวแน่นอน. แม้เมื่อภิกษุ
จำหน่ายหลาว ด้วยมุค่า หรือให้เปล่าก็ตาม ข้อผูกพันทางกรรม ย่อมมีแก่
ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมเช่นกัน. ถ้าภิกษุผู้ได้หลาวไปแต่งหลาวให้คมกริบ ด้วยติด
ว่า สัตว์ทั้งหลาย จักตายด้วยการประหารครั้งเดียวเท่านั้น หรือแต่งหลาวให้
ทื่อเข้า ด้วยคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย จักตายเป็นทุกข์ หรือกำหนดว่าหลาวสูงไป
ปักให้ต่ำลง หรือกำหนดว่า หลาวต่ำไป ปักให้สูงขึ้นอีก หรือดัดที่คดให้ตรง
หรือดัดที่ตรงเกินไปให้โค้งนิดหน่อย ; เธอทั้ง 2 รูป ไม่พ้น. ก็ถ้าเธอเห็นว่า
ไว้ในที่ไม่เหมาะ แล้วเอาไปปักไว้ในที่อื่น ถ้าหลาวนั้น ย่อมเป็นของที่เธอ
แสวงหามาทำไว้ตั้งแต่ต้น เพื่อต้องการฆ่าให้ตาย ; ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม ไม่พ้น.
แต่เมื่อมิได้แสวงหาได้ของที่เขาทำไว้แล้วนั่นแล ยกขึ้นไว้, ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม
ย่อมพ้น. เมื่อเกิดความเดือดร้อนขึ้น เธอวางหลาวไว้ในที่ ๆ ตนรับมาหรือ
เผาเสีย โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในคันบ่วง ย่อมพ้น.

[ลอบวางศัสตราไว้ในวัตถุสำหรับพิง]


ในคำว่า อปสฺเสเน สตฺถํ วา นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ชื่อว่า ที่พิง
ได้แก่ เตียง หรือตั่ง หรือกระดานสำหรับพิง ทีใช้เป็นนิจ หรือเสาสำหรับพิง