เมนู

แต่โรคที่เกิดขึ้นเพราะหลุมพราง เป็นของมีกำลังกว่า, แม้เมื่อผู้นั้นตายเพราะ
โรคที่เกิดขึ้นนั้น ภิกษุขุดหลุมพราง ย่อมไม่พ้น. ถ้าโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง
เป็นของมีกำลังไซร้, เมื่อผู้นั้นตายเพราะโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง เธอรอดตัว.
เมื่อผู้นั้นตายด้วยโรคทั้ง 2 ชนิด ไม่พ้น. มนุษย์ผู้ผุดเกิด ในหลุมพราง ครั้น
เกิดแล้ว ไม่สามารถจะขึ้นได้ ก็ตายไป, เป็นปาราชิกเหมือนกัน.

[มติพระเถระสองรูปในการขุดหลุมพราง]


พระอุปติสสเถระ กล่าวว่า เมื่อยักษ์เป็นต้น ตกไปตายในหลุม
พรางที่ภิกษุขุดไว้เจาะจงมนุษย์ ไม่เป็นอาบัติ. ในมนุษย์เป็นต้นแม้ตายอยู่ใน
หลุมพราง ที่ภิกษุขุดไว้เจาะจงยักษ์เป็นต้น ก็นัยนั่นแล. แต่เป็นทุกกฏทีเดียว
แก่ภิกษุผู้ขุดเจาะจงยักษ์เป็นต้น เพราะการขุดบ้าง เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่
ยักษ์เป็นต้นเหล่านั้นบ้าง. เพราะ (ยักษ์เป็นต้น) ตายเป็นถุลลัจจัยหรือปาจิตตีย์
ตามอำนาจแห่งวัตถุทีเดียว. สัตว์ตกลงในหลุมพรางที่ภิกษุขุดไว้มิได้เจาะจง
โดยรูปยักษ์ หรือรูปเปรตตายไป โดยรูปสัตว์ดิรัจฉาน, ก็รูปที่ตกไป ย่อม
เป็นประมาณ; เพราะฉะนั้น จึงเป็นถุลลัจจัย.
พระปุสสเทวเถระ กล่าวว่า รูปที่ตายเป็นประมาณ; เพราะฉะนั้น จึง
เป็นปาจิตตีย์. แม้ในสัตว์ตกไปด้วยรูปสัตว์ดิรัจฉาน แล้วตายด้วยรูปยักษ์และ
รูปเปรต ก็นัยนั่นเหมือนกัน. ภิกษุผู้ขุดหลุมพรางขายหรือให้เปล่าซึ่งหลุมพราง
แก่ภิกษุอื่น, ภิกษุนั้นแลยังต้องอาบัติ และมีข้อผูกพันทางกรรม เพราะมีผู้ตก
ตายเป็นปัจจัย, ผู้ที่ได้หลุมพรางไป ไม่มีโทษแล. ภิกษุผู้ได้ไปแล้วคิดว่า
หลุมอย่างนี้ สัตว์ผู้ตกไปยังอาจขึ้นได้ จักไม่พินาศ จักทรงตัวขึ้นได้ง่าย จึง
ทำหลุมพรางนั้นให้ลึกลงไป หรือให้ตื้นขึ้น ให้ยาวออกไป หรือให้สั้นเข้า
ให้กว้างออกไป หรือให้แคบเข้า ต้องอาบัติ และมีข้อผูกพันทางกรรมด้วยกัน