เมนู

[ผู้เจริญอานาปานัสสติกรรมฐานย่อมได้ความปราโมทย์เป็นต้น]


ในลมหายใจเข้าและออกนั้น ภิกษุนั้นเมื่อหายใจเข้าและหายใจออก-
ยาว โดยอาการ 9 อย่าง ย่อมรู้ชัดว่า เราหายใจเข้าหายใจออกยาว. ก็เมื่อ
เธอรู้ชัดอยู่อย่างนี้ พึงทราบว่า การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ย่อมสำเร็จ
ด้วยอาการอันหนึ่ง เหมือนอย่างที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้
ในปฏิสัมภิทาว่า ถามว่าภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว1
ฯลฯ เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น อย่างไร2 ?
แก้ว่า ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว
เมื่อหายใจออกยาว ย่อมหายใจออกในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจเข้าและหาย
ใจออกยาว ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับว่ายาว ฉันทะย่อม
เกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจเข้าและหายใจออกยาว หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง
ในขณะที่นับว่ายาว ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ
ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วย
อำนาจฉันทะ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจเข้าและหายใจออก
ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง ใน
ขณะที่นับว่ายาว ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ผู้เมื่อหายใจเข้าและหาย
ใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง
ในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความ
ปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่า
นั้น ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับว่ายาว ฯ ล ฯ เมื่อ
หายใจเข้าและหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ย่อม
หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง ในขณะที่นับว่ายาว จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจ
//1. ขุ. ปฏิ. 31/65 2. ขุ. ปฏิ. 31/274.

เข้าและหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความปราโมทย์ หายใจเข้า
บ้าง หายใจออกบ้าง ในขณะที่นับว่ายาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจเข้าและ
หายใจออกยาว อุเบกขาย่อมดำรงอยู่. กายคือลมหายใจเข้าและหายใจออกยาว
ด้วยอาการ 9 อย่างเหล่านั้นย่อมปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่
ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย; ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วย
สตินั้น ด้วยญาณนั้น; เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า การเจริญสติ-
ปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย* ดังนี้.
แม้ในบทที่กำหนดด้วยลมสั้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนความแปลกกัน
มีดังต่อไปนี้:- ในบทที่กำหนดาด้วยลมยาวนั่น ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อหายใจ
เข้ายาว ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว ดังนี้ ฉันใด ในบทที่กำหนด
ด้วยลมสั้นนี้ ก็มีคำที่มาในบาลีว่า เมื่อหายใจเข้าสั้น ย่อมหายใจเข้าในขณะ
นับว่าเล็กน้อย ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น พึงประกอบด้วยสามารถแห่งบทที่
กำหนดว่าสั้นนั้น จนถึงคำว่า เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า การเจริญสติ-
ปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นกายในกาย. ภิกษุนี้ เมื่อรู้ชัดลมหายใจเข้าและ
หายใจออกโดยอาการ 9 อย่างเหล่านี้ ด้วยอำนาจกาลยาวและด้วยอำนาจกาล
นิดหน่อยดังพรรณนามาฉะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ย่อม
รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว ฯ ล ฯ หรือเมื่อหายใจออกสั้น ย่อมรู้ชัดว่า เราหาย
ใจออกสั้น ดังนี้. อนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นรู้อยู่อย่างนั้น.
วรรณะ (คืออาการ) ทั้ง 4 คือ ลม
ทายใจเข้ายาวและสั้น แม้ลมหายใจออกก็
เช่นนั้น ย่อมเป็นไปเฉพาะที่ปลายจมูกของ
ภิกษุ ฉะนี้แล.

//* ขุ. ปฏิ. 31/265 - 274.

ข้อว่า สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติ ฯ เป ฯ ปสฺสสิสฺ-
สามีติ สิกฺขติ
มีอธิบายว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำเบื้องต้น ท่าม
กลาง และที่สุด แห่งกองลมหายใจเข้าทั้งสิ้น ให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหาย
ใจเข้า (และ) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำเบื้องต้นท่ามกลาง และที่สุด แห่ง
กองลมหายใจออกทั้งสิ้นให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหายใจออก. เมื่อเธอทำให้
รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏด้วยอาการอย่างนั้น ย่อมหายใจเข้าและหายใจออก ด้วย
จิตที่สัมปยุตด้วยญาณ; เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า เรา
จักหายใจเข้า จักหายใจออก.
จริงอยู่ เบื้องต้นในกองลมหายใจเข้าหรือในกองลมหายใจออกที่แล่น
ไปอย่างละเอียด* ย่อมปรากฏแก่ภิกษุรูปหนึ่ง แต่ท่ามกลางและที่สุดไม่ปรากฏ
เธอสามารถกำหนดได้เฉพาะเบื้องต้น เท่านั้น ย่อมลำบากในท่ามกลางและที่สุด.
อีกรูปหนึ่ง ย่อมปรากฏแต่ทามกลาง เบื้องต้น และที่สุด ไม่ปรากฏ เธอ
สามารถกำหนดได้เฉพาะท่ามกลางเท่านั้น ย่อมลำบากในเบื้องต้นและที่สุด อีก
รูปหนึ่ง ย่อมปรากฏแต่ที่สุด เบื้องต้นและท่ามกลางไม่ปรากฏ เธอสามารถ
กำหนดได้เฉพาะที่สุดเท่านั้น ย่อมลำบากในเบื้องต้นและท่ามกลาง. อีกรูปหนึ่ง
ย่อมปรากฏได้แม้ทั้งหมด เธอสามารถกำหนดได้แม้ทั้งหมด ย่อมไม่ลำบากใน
ส่วนไหน ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงชี้ว่า อันภิกษุพึงเป็นผู้เช่นนั้น
จึงตรัสว่า ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหาย
ใจเข้า; ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้ง ปวงหายใจออก

ดังนี้.
//* วิสุทธิมรรค. 2/61 เป็น จุณฺณวิสเฎ, สารัตถทีปนี 2/295 แก้ว่า จุณฺณวิคเตติ อเนก
//กลาปตาย จุณฺณวิจณฺเณภาเวน วิสเฏ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิกฺขติ ความว่า ย่อมพากเพียร คือ
พยายามอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า สิกฺขติ นี้ พึงเห็นใจความอย่างนี้
ว่า ความสำรวมของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้น นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา. ในอธิการว่าด้วย
อานาปานัสสติภาวนานี้ สมาธิของเธอ ผู้เป็นอย่างนั้น นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา
ปัญญาของเธอผู้เป็นอย่างนั้น นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา เธอย่อมสำเหนียก
คือย่อมซ่องเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งสิกขา 3 อย่าง ดังพรรณนามานี้
ด้วยสตินั้น ด้วยมนสิการนั้น ในอารมณ์นั้น. เพราะว่า โดยนัยก่อน บรรดา
สองนัยนั้น ภิกษุพึงหายใจเข้าและหายใจออกอย่างเดียวเท่านั้นไม่ต้องทำกิจ
อะไร ๆ อื่น แต่จำเดิมแต่เวลาที่รู้ชัดลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ไป ควร
ทำความพากเพียรในอาการที่ให้ญาณเกิดขึ้นเป็นต้น; เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา
พึงทราบว่า ในนัยก่อนนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบาลีไว้ด้วยอำนาจเป็น
วัตตมานาวิภัตติว่า ย่อมรู้ชัดว่า เราหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่า เราหายใจ
ออก เท่านั้น แล้วยกพระบาลีขึ้นด้วยอำนาจคำที่เป็นอนาคตกาล โดยนัยมี
อาทิว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้ง ซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจ
เข้า ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงอาการที่ให้ญาณเกิดขึ้นเป็นต้นซึ่งควรทำจำเดิมแต่
กาลนี้ไป.

[ภิกษุกำหนดกรรมฐานแล้ว ถายสังขารจึงสงบ]


ข้อว่า ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติ ฯ เป ฯ ปสฺส-
สิสฺสามีติ สิกฺขติ
ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้สงบคือ
ระงับ คับ ได้แก่ให้กายสังขารที่หยาบสงบไป หายใจเข้าหายใจออก. ในคำ
ว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขารที่หยาบ นั้นพึงทราบความที่ลมเป็นของหยาบและ
ละเอียด และความระงับอย่างนี้ คือ :- ก็ในกาลก่อนคือในเวลาที่ภิกษุนี้ ยัง