เมนู

ดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ ในวิภังค์เฉพาะแห่งสองคำนี้ว่า
โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ในปฏิสัมภิทาว่า ภิกษุ ย่อมเป็น
ผู้อบรมสติ โดยอาการ 32 อย่าง คือ สติของภิกษุผู้รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว
ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว ย่อมตั้งมั่น, เธอชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติ
ด้วยสตินั่น ด้วยญาณนั้น, สติของภิกษุผู้รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน
ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ย่อมตั้งมั่น, เธอชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น
ด้วยญาณนั้น ฯ ล ฯ สติของภิกษุผู้รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วย
อำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า . . . ด้วยอำนาจความ
เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก ย่อมตั้งมั่น, เธอชื่อว่าเป็นผู้
อบรมสติด้วยสตินั้นด้วยญาณนั้น.1

[มติลมหายใจเข้าและออกตามอรรถกถาวินัยและพระสูตร]


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ได้แก่
เมื่อให้ลมหายใจเข้ายาวเป็นไปอยู่. ในอรรถกถาวินัย ท่านกล่าวไว้ว่า ลมที่
ออกไปข้างนอก ชื่อว่า อัสสาสะ คือลมหายใจออก2 ลมที่เข้าไปข้างใน ชื่อว่า
ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า.3 ส่วนในอรรถกถาแห่งพระสูตรทั้งหลาย มาโดย
กลับลำดับกัน.

//1. ขุ. ปฎิ. 31 /264-5. 2.-3. ศัพท์ว่า อสฺสาโส และ ปสฺสาโส หรือ อสฺสสติ และ
//ปสฺสสติ ทั้ง 2 ศัพท์นี้ บางท่าน แปล อสฺสาโส หรือ อสฺสสติ ว่า หายใจออก ปาสฺสาโส
//หรือ ปสฺสสติ ว่า หายใจเข้า, ส่วนในหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่ต้นมาได้แปล อสฺสาโส หรือ อสฺสสติ
//ว่า หายใจเข้า, ปสฺสาโส หรือ ปสฺสสติ ว่า หายใจออก, ที่แปลเช่นนี้ ก็เพราะอาศัยนัยอรรถกถา
//แห่งพระสูตรเป็นหลัก เช่นอรรถกถามหาหัตถิปโทปมสูตรในปัญจสูทนี ทุติยภาคหน้า 308
//เป็นต้น ซึ่งท่านอธิบายไว้ดังนี้ คือ:- อสฺสาโสติ อนฺโต ปวิสนนาสิกวาโต ลมที่จมูกเข้าไป
//ข้างใน ชื่อว่า อัสสาสะ คือลมหายใจเข้า, ปสฺสาโสติ พหิ นิกฺขมนนาสิกวาโต ลมที่ออกไป
//ภายนอก ชื่อว่า ปัสสาสะ คือลมหายใจออก, ส่วนในอรรถกถาวินัย ท่านก็อธิบายไว้กลับกัน