เมนู

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในยาน


พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในยาน :- พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ
จะทรงแสดงยานก่อน จึงตรัสว่า ยานํ นาม วยฺหํ เป็นต้น. ในคำว่า วยฺหํ
เป็นต้นนั้นมีวินิจฉัยดังนี้ :-
ยานที่ปิดบังด้วยไม้เลียบไว้เบื้องบน คล้ายกับมณฑปก็ตาม ที่เขาทำ
ปิดคลุมไว้ทั้งหมดก็ตาม ชื่อว่า คานหาม. เตียงที่เขาใส่กลอนซึ่งสำเร็จด้วนทอง
และเงินเป็นต้นไว้ที่ข้างทั้งสอง และทำไว้โดยนัยดังปีกครุฑ ชื่อว่า เตียงหาม,
รถและเกวียนปรากฏชัดแล้วแล. ภัณฑะที่มีวิญญาณหรือไม่มีวิญญาณ ซึ่งเขา
เก็บไว้ด้วยอำนาจเป็นกองเป็นต้น ในบรรดาคานหามเป็นต้นเหล่านั้น แห่งใด
แห่งหนึ่ง เมื่อภิกษุให้เคลื่อนจากฐานด้วยไถยจิต พึงทราบว่า เป็นปาราชิก
โดยนัยดังที่กล่าวไว้แล้วในภัณฑะที่ตั้งอยู่ในเรือและที่ตั้งอยู่บนบก. ส่วนความ
แปลกกัน มีดังต่อไปนี้ :- เมื่อภิกษุเอาตะกร้ารับเอาสิ่งของมีข้าวสารเป็นต้น
ที่ตั้งอยู่ในยาน แม้เมื่อไม่ยกตะกร้าขึ้น ครั้นตบตะกร้า ทำให้วัตถุมีข้าวสาร
เป็นต้น ซึ่งเนื่องเป็นอันเดียวกัน กระจายไป เป็นปาราชิก. นัยนี้ ย่อมใช้ได้
แม้ในสิ่งของที่ตั้งอยู่บนบกเป็นต้น. กิจทั้งหลายมีการเที่ยวหาเพื่อนเป็นต้น
ในคำว่า เราจักลักยาน มีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ก็ในคำว่า ฐานา จาเวติ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ :- สำหรับยาน
ที่เทียมด้วยโคคู่ มี 10 ฐาน คือ เท้าทั้ง 8 ของโคทั้ง 2 และล้อ 2. เมื่อ
ภิกษุมีไถยจิตขึ้นเกวียนนั้น นั่งบนทูบขับไป เป็นถุลลัจจัย ในเมื่อโคทั้ง 2
ยกเท้าขึ้น, และเมื่อโอกาสเพียงปลายเส้นผมล่วงเลยไปจากประเทศที่ล้อทั้ง 2
จดแผ่นดิน เป็นปาราชิก. แต่ถ้าโคทั้ง 2 รู้ว่า ผู้นี้มิใช่เจ้าของ ๆ เรา แล้ว