เมนู

กถาว่าด้วยทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ


พึงทราบวินิจฉัยในทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำ :- หลายบทว่า อุทเก
นิกฺขิตฺตํ โหติ
ความว่า ภัณฑะที่พวกชนผู้กลัวแต่ราชภัยเป็นต้น ทำการ
ปิดเสียให้ดีในวัตถุทั้งหลายมีภาชนะทองแดง และโลหะเป็นต้นซึ่งจะไม่เสียหาย
ไปด้วยน้ำเป็นธรรมดา แล้วเก็บไว้ในน้ำนิ่ง ในสระโบกขรณีเป็นต้น. เพียง
โอกาสที่ตั้งอยู่ เป็นฐานของทรัพย์ที่ตั้งอยู่ในน้ำนั้น, น้ำทั้งหมด ไม่จัดเป็นฐาน.
หลายบทว่า คจฺฉติ วา อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เมื่อภิกษุ
เดินไปในน้ำที่ไม่ลึก เป็นทุกกฎทุก ๆ ย่างเท้า. ในน้ำลึกเมื่อทำความพยายาม
ด้วยมือ หรือด้วยเท้าก็ดี ทำความพยายามทั้งมือและเท้าก็ดีเป็นทุกกฏทุก
ประโยค. ถึงในการดำลงและผุดขึ้น เพื่อลักเอาหม้อ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.
แต่ถ้าภิกษุเห็นภัยบางอย่าง จะเป็นงูน้ำหรือปลาร้ายก็ตาม กลัวแล้วก็หนีไป
เสียในระหว่าง ไม่เป็นอาบัติ. ในอาการมีจับต้องเป็นต้น พึงทราบวินิจฉัย
โดยนัยที่กล่าวแล้วในหม้อ ซึ่งอยู่ในแผ่นดินนั่นแล. ส่วนความแปลกกันมี
ดังต่อไปนี้ :- ในภุมมัฏฐกถานั้น ภิกษุขุดลากไปบนแผ่นดิน, ในอุทกัฏฐกถานี้
ภิกษุกดให้จมลงในโคลน. ความกำหนดฐาน ย่อมมีได้ ด้วยอาการ 6 ด้วย
ประการฉะนี้. ในดอกอุบลเป็นต้น วัตถุแห่งปาราชิก จะครบในดอกใด, เมื่อ
ดอกนั้นสักว่า ภิกษุเด็ดแล้ว ต้องปาราชิก. ก็บรรดาชาติดอกบัวเหล่านี้
เปลือกบัวแม้ที่ข้าง ๆ หนึ่งแห่งอุบลชาติทั้งหลาย ยังไม่ขาดไปเพียงใด, ยัง
รักษาอยู่เพียงนั้น. ส่วนปทุมชาติเมื่อก้านขาดแล้ว ใยข้างในแม้ยังไม่ขาด
ก็รักษาไว้ไม่ได้. ดอกอุบลเป็นต้นที่เจ้าของตัดวางไว้, ดอกใด จะยังวัตถุ
ปาราชิกให้ครบได้, เมื่อดอกนั้นอันภิกษุยกขึ้นแล้ว ก็เป็นปาราชิก. ดอกอุบล

เป็นต้น เป็นของที่เขามัดเป็นกำ ๆ ไว้, วัตถุปาราชิกจะครบในกำใด, เมื่อ
กำนั้น อันภิกษุยกขึ้น ต้องปาราชิก. ดอกอุบลเป็นต้น เป็นของเนื่องด้วย
ภาระ*, เมื่อภิกษุให้ภาระนั้นเคลื่อนจากฐาน ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง
แห่งอาการ 6 ต้องปาราชิก ตามนัยที่กล่าวแล้วในหม้อที่ตั้งอยู่บนแผ่นดิน
ดอกอุบลเป็นต้น มีก้านยาวที่เขามัดที่ดอกหรือที่ก้านให้เป็นกำ ลาดหญ้าบน
เชือกบนหลังน้ำ วาง ไว้ หรือล่ามไว้, กำหนดการให้เคลื่อนจากฐานแห่งดอก
อุบลเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบโดยอาการ 6 อย่าง คือ ด้านยาว กำหนด
ด้วยปลายดอกและที่สุดก้าน ด้านขวาง กำหนดด้วยที่สุดสองข้าง เบื้องล่าง
กำหนดด้วยโอกาสที่จด เบื้องบนกำหนดด้วยหลังแห่งดอกที่อยู่ข้างบน. แม้
ภิกษุใด ทำน้ำให้กระเพื่อม ให้คลื่นเกิดขึ้น ยังกำดอกไม้ที่เขาวางไว้บนหลังน้ำ
ให้เคลื่อนจากฐานที่ตั้งเดิม แม้เพียงปลายเส้นผม, ภิกษุนั้นต้องปาราชิก.
แต่ถ้าเธอกำหนดหมายไว้ว่า ถึงที่นี่แล้วเราจักถือเอา ดังนี้ ยังรักษาอยู่ก่อน.
เมื่อเธอยกขึ้นในที่ซึ่งกำดอกไม้ลอยไปถึงแล้ว เป็นปาราชิก. น้ำทั้งสิ้น เป็น
ฐานของดอกไม้ที่ขึ้นพ้นน้ำแล้ว. เมื่อภิกษุถอนดอกไม้นั้นยกขึ้นตรง ๆ เมื่อที่
สุดของก้านห่างจากน้ำเพียงปลายเส้นผม เป็นปาราชิก.ภิกษุจับดอกไม้ผลักไป
แล้วเหนี่ยวมาข้าง ๆ จึงถอนขึ้น, น้ำไม่เป็นฐาน; เมื่อดอกไม้นั้นสักว่า ภิกษุ
ถอนขึ้นแล้ว ก็เป็นปาราชิก. ในอรรถกถามหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าว 2
คำนี้ไว้ว่า ดอกไม้ที่มัดเป็นกำ ๆ เขาผูกตั้งไว้ในที่น้ำหรือที่ต้นไม้ หรือที่กอไม้,
เมื่อภิกษุไม่แก้เครื่องผูกออก ทำไห้ลอยไปข้างโน้นและข้างนี้ เป็นถุลลัจจัย,
//* คือ หาบ คอน แบก ตะพาย.

เมื่อเครื่องผูกสักว่าหลุดออก ต้องปาราชิก. ภิกษุแก้เครื่องผูกก่อนแล้วนำไป
ทีหลัง, ในดอกไม้ที่เขาผูกไว้นี้ กำหนดฐานโดยอาการ* 6 อย่าง.
สำหรับภิกษุผู้ใคร่จะถือเอาดอกปทุมในกอปทุมพร้อมทั้งกอ พึงทราบ
กำหนดฐานเบื้องบนและด้านกว้าง ด้วยอำนาจแห่งน้ำที่ก้านดอก และก้านใบ
ถูก. และเมื่อเธอยังไม่ได้ถอนกอปทุมนั้นขึ้น แต่เหนี่ยวดอกหรือใบมาเฉพาะ
หน้าตน เป็นถุลลัจจัย. พอถอนขึ้น ต้องปาราชิก. เมื่อเธอแม้ไม่ยังก้านดอก
และก้านใบให้เคลื่อนจากฐาน ถอนกอปทุมขึ้นก่อน เป็นถุลลัจจัย. เมื่อก้าน
แห่งดอกและใบเธอให้เคลื่อนจากฐาน ในภายหลัง ต้องปาราชิก. ส่วนภิกษุ
ผู้ถือเอาดอกในกอปทุม ที่เขาถอนขึ้นไว้แล้ว พึงให้ตีราคาภัณฑะปรับอาบัติ.
แม้ในดอกที่กองไว้ที่มัดไว้เป็นกำ ๆ และที่เนื่องในภาระ ซึ่งวางไว้นอกสระ
มีนัยเหมือนกันนี้. เหง้าบัวหรือรากบัว วัตถุปาราชิกจะครบ ด้วยเหง้าหรือ
รากอันใด, เมื่อภิกษุถอนเหง้าหรือรากอันนั้นขึ้น ต้องปาราชิก. ก็ในเหง้า
และรากบัวนี้ พึงกำหนดฐานด้วยอำนาจโอกาสที่เปือกตมถูก. ในมหาอรรถกถา
นั่นเอง ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุถอนเหง้าหรือรากบัวเหล่านั้นขึ้น แม้ราก
ฝอยที่ละเอียด ยังไม่ขาด ก็ยังรักษาอยู่ก่อน, ใบก็ดี ดอกก็ดี เกิดที่ข้อเหง้าบัว
มีอยู่, แม้ใบและดอกนั้น ก็ยังรักษาอยู่ ดังนี้. ก็แล ที่หัวเหง้าบัว เป็นของ
มีหนาม เหมือนตุ่มสิวที่ใบหน้าของพวกคนกำลังแตกเนื้อหนุ่มสาว ฉะนั้น
หนามนี้รักษาไม่ได้ เพราะไม่ใช่เป็นของยาว. คำที่เหลือนัยดังกล่าวไว้แล้ว
ในดอกอุบล เป็นต้นนั่นเอง. น้ำทั้งสิ้น ในชลาลัยทั้งหลาย มีบึงเป็นต้น
//* คำว่า 2 คำนี้ ในสารัตถทีปนี. 2/218 ท่านอธิบายไว้ว่า คำว่า เมื่อภิกษุไม่แก้เครื่องผูก
//ออก แต่ทำให้ลอยไปข้างโน้นและข้างนี้ เป็นถุลลัจจัย, เมื่อเครื่องผูกสักว่าหลุดแล้ว ก็เป็น
//ปาราชิก นี้เป็นคำที่ 1 คำว่า ภิกษุแก้เครื่องผูกออกก่อนแล้ว จึงนำไปทีหลัง, ในดอกไม้ที่เขา
//ผูกไว้นี้ กำหนดฐานโดยอาการ 6 นี้เป็นคำที่ 2.

เป็นฐานของปลาและเต่าที่มีเจ้าของ. เพราะเหตุนั้น ภิกษุใด เอาเบ็ดก็ดี ข่าย
ก็ดี ไซก็ดี มือก็ดี จับเอาปลาที่มีเจ้าของ ในที่ที่เขายังรักษา, วัตถุปาราชิก
จะครบด้วยปลาตัวใด, เมื่อปลาตัวนั้น สักว่าภิกษุยกขึ้นจากน้ำแม้เพียงปลาย
เส้นผม ภิกษุนั้น ต้องปาราชิก. ปลาบางตัวเมื่อถูกจับ วิ่งไปทางโน้นและทางนี้
กระโดดขึ้นไปยังอากาศ ตกลงไปที่ตลิ่ง, แม้เมื่อภิกษุจับเอาปลาตัวที่อยู่ใน
อากาศหรือที่ตกไปที่ตลิ่งนั้น ก็เป็นปาราชิกเหมือนกัน. เมื่อภิกษุจับเอาแม้เต่า
ตัวที่คลานไปหาอาหารกินภายนอกขอบสระ ก็มีนัยเหมือนกันนี้. ก็เมื่อภิกษุ
ให้สัตว์น้ำพ้นจากน้ำ เป็นปาราชิก.

[

สมัยหลังพุทธกาลพวกชนขุดบ่อน้ำใช้เลี้ยงปลา

]
ชนทั้งหลายในชนบทนั้นๆ อาศัยลำราง สำหรับไขน้ำของสระใหญ่ที่
ทั่วไปแก่ชนทั้งปวง ชุดห้วงน้ำเช่นกับแม่น้ำน้อยอันทั่วไปแก่ชนทั้งปวงเหมือน
กัน. พวกเขาได้ชักลำรางเล็กๆ จากห้วงน้ำ คล้ายกับแม่น้ำนั้นไป แล้วขุดเป็น
บ่อไว้เพื่อประโยชน์แก่การใช้สอยของตนๆ ที่ปลายราง. และชนเหล่านั้นมี
ความต้องการน้ำในเวลาใด ในเวลานั้นจึงชำระลำรางเล็กในบ่อ และห้วงน้ำ
ให้สะอาด แล้วลอกลำรางสำหรับไขน้ำไป. ปลายทั้งหลายออกจากสระใหญ่นั้น
พร้อมกับน้ำ ไปถึงบ่อโดยลำดับแล้วอยู่. ชนทั้งหลายไม่ห้ามผู้ที่จับปลาในสระ
และห้วงน้ำนั้น. แต่ไม่ยอม คือ ห้ามมิให้จับปลาทั้งหลายที่เข้าไปในลำรางและ
บ่อน้ำเล็ก ๆ ของตน ๆ.

[

ภิกษุจับเอาปลาที่เขาเลี้ยงปรับอาบัติตามราคาปลา

]
ภิกษุใดจับปลาในที่เหล่านั้น ในสระหรือในลำรางสำหรับไขน้ำ หรือ
ในห้วงน้ำ, ภิกษุนั้น อันพระวินัยธรพึงไห้ปรับอาบัติด้วยอวหาร. แต่เมื่อ