เมนู

สมุฏฐานที่เกิดแห่งอาบัติ มี 6 อย่าง


อนึ่ง เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสิกขาบทนี้ พึงทราบปกิณกะนี้ว่า
สมุฏฐาน 1 กิริยา 1 สัญญา 1 สจิตตกะ 1
โลกวัชชะ 1 กรรมและกุศลพร้อมด้วยเจตนา 1.

ในปกิณกะเหล่านั้น ที่ชื่อว่าสมุฏฐานนั้น ได้แก่สมุฏฐานแห่ง
สิกขาบทมี 6 ด้วยอำนาจประมวลทั้งหมด. สมุฏฐานเหล่านั้น จักมีแจ้งใน
คัมภีร์บริวาร. แต่เมื่อกล่าวโดยย่อแล้ว ขึ้นชื่อว่าสิกขาบทมีสมุฏฐาน 6 ก็มี
มีสมุฏฐาน 4 ก็มี มีสมุฏฐาน 3 ก็มี มีสมุฏฐานอย่างกฐินสิกขาบทก็มี มี
สมุฏฐานอย่างเอฬกโลกสิกขาบทก็มี มีสมุฏฐานอย่างธุรนิกเขปสิกขาบทก็มี.
แม้ในสิกขาบทนั้นเล่า บางสิกขาบท เกิดเพราะทำ บางสิกขาบท
เกิดเพราะไม่ทำ บางสิกขาบท เกิดเพราะทำและไม่ทำ บางสิกขาบท บาง
คราวเกิดเพราะทำ บางคราวเกิดเพราะไม่ทำ บางสิกขาบท บางคราวเกิด
เพราะทำ บางคราวเกิดเพราะทั้งทำและไม่ทำ.

[อธิบายสิกขาบทที่เป็นสจิตตกะและอจิตตกะ]


แม้บรรดาสิกขาบทเหล่านั้น สิกขาบทที่เป็นสัญญาวิโมกข์ก็มี ที่เป็น
โนสัญญาวิโมกข์ก็มี. ในสิกขาบทที่เป็นสัญญาวิโมกข์และโนสัญญาวิโมกข์
เหล่านั้น สิกขาบทใด ได้องค์คือจิตด้วย. สิกขาบทนั้น เป็นสัญญาวิโมกข์,
นอกนี้ เป็นโนสัญญาวิโมกข์. สิกขาบทที่เป็นอจิตตกะก็มี ที่เป็นสจิตตกะก็มี
อีก. สิกขาบทใด ต้องพร้อมด้วยจิตเท่านั่น สิกขาบทนั้น เป็นจิตตกะ.
สิกขาบทใด แม้เว้นจากจิตก็ต้อง, สิกขาบทนั้น เป็นอจิตตกะ. สิกขาบทนั้น





แม้ทั้งหมดเป็น 2 อย่างคือ เป็นโลกวัชชะ 1 เป็นปัณณัตติวัชชะ 1 ลักษณะ
แห่งสิกขาบทที่เป็นโลกวัชชะและปัณณัตติวัชชะนั้น ได้กล่าวแล้ว.

[อธิบายสิกขาบทที่เป็นกายกรรมเป็น]


อนึ่ง เมื่อว่าแม้ด้วยอำนาจกรรม กุศลและเวทนาแล้ว บรรดา
สิกขาบทเหล่านี้ สิกขาบทที่เป็นกายกรรมก็มี ที่เป็นวจีกรรมก็มี. ในกายกรรม
และวจีกรรมเหล่านั้น สิกขาบทใด เป็นไปทางกายทวาร สิกขาบทนั้น พึง
ทราบว่า เป็นกายกรรม, สิกขาบทใด เป็นไปทางวจีทวาร สิกขาบทนั้น
พึงทราบว่า เป็นวจีกรรม.
อนึ่ง สิกขาบทที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยากฤตก็มี.
จริงอยู่ จิตที่ให้เกิดอาบัติมา 32 ดวงเท่านั้น คือ กามาวจรกุศลจิต 8 อกุศล
จิต 12 กามาวจรกิริยาจิต 10 อภิญญาจิต 2 โดยกุศลและกิริยา. ในจิต
เหล่านั้น สิกขาบทใด ต้องด้วยกุศลจิต สิกขาบทนั้นเป็นกุศล, สิกขาบทใด
ต้องด้วยจิตนอกนี้ สิกขาบทนั้น เป็นฝ่ายนอกจากนี้.
อนึ่ง สิกขาบทมีเวทนา 3 ก็มี มีเวทนา 2 ก็มี มีเวทนาเดียวก็มี.
ในสิกขาบทเหล่านั้น เมื่อต้องสิกขาบทใด เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยบรรดาเวทนา
3 อย่างใดอย่างหนึ่ง จึงต้อง, สิกขาบทนั้น พึงทราบว่ามีเวทนา 3. เมื่อ
ภิกษุจะต้องสิกขาบทใด เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยสุข หรือเป็นผู้พร้อมเพรียง
ด้วยอุเบกขา จึงต้อง, สิกขาบทนั้น พึงทราบว่า มีเวทนา 2. เมื่อภิกษุจะ
ต้องสิกขาบทใด เป็นผู้พร้อมเพรียงด้วยทุกขเวทนาเท่านั้น จึงต้อง สิกขาบท
นั้น พึงทราบว่า มีเวทนาเดียว. ครั้นได้ทราบปกิณกะนี้ คือ