เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสประเภทแห่งสันถตจตุกกะอย่างนั้นแล้ว
บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงประเภทนั้น (ซ้ำอีก) เพราะเหตุที่พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึก
หาใช่จะนำชนมีมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นมาในสำนักของภิกษุอย่างเดียวไม่ โดยที่แท้
ยังนำแม้ภิกษุมาในสำนักของมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นเหล่านั้น จึงทราบนำจตุกกะ
เหล่านั้นทั้งหมดมาแสดงซ้ำอีก โดยนัยมีอาทิว่า พวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกนำภิกษุ
มาในสำนักของมนุษย์ผู้หญิง ดังนี้. ในจตุกกะเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัย
โดยนัยดังที่กล่าวมาแล้วนั่นเทียวแล.
จบการพรรณนาความต่างแห่งจตุกกะ ด้วยอำนาจภิกษุผู้เป็นข้าศึก

เรื่องพระราชาและโจรผู้เป็นข้าศึกต่อภิกษุเป็นต้น


ก็เพราะพวกภิกษุผู้เป็นข้าศึกย่อมกระทำอย่างที่กล่าวมาแล้วอย่างนี้
นั่นแล แม้อิสรชนมีพระราชาผู้เป็นข้าศึกเป็นต้น ก็ทรงกระทำ เพราะเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงประเภทนั้น จึงตรัสคำว่า ราชปจฺจตฺถิกา
เป็นต้น.
ในคำว่า ราชปจฺจตฺถิกา เป็นต้นนั้น มีวินิจฉัยดังนี้ :- ข้าศึก
ทั้งหลาย คือ พระราชา ชื่อว่าราชปัจจัตถิกา (พระราชาผู้เป็นข้าศึก) ก็พระราชา
เหล่านั้น ทรงนำมาเองบ้าง ให้คนเหล่าอื่นนำมาบ้าง (ซึ่งมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้น)
พึงทราบว่า ทรงนำมาทั้งนั้น. ข้าศึกทั้งหลาย คือโจร ชื่อว่า โจรปัจจัตถิกา
(โจรผู้เป็นข้าศึก).

ชนชาวเมืองและบุรุษผู้ทำการหลอกลวง ซึ่งขวนขวายในการเล่นเนื่อง
ด้วยเมถุนก็ดี นักเลงหญิงและนักเลงสุราเป็นต้นก็ดี ชื่อว่า นักเลง. ข้าศึก
ทั้งหลาย คือ นักเลงชื่อว่า ธุตตปัจจัตถิกา (นักเลงผู้เป็นข้าศึก).
หทัย ท่านเรียกว่า คันธ.* พวกข้าศึกที่ชื่อว่า อุปปลคันธะ เพราะ
อรรถว่า ชำแหละหทัยนั้น. ข้าศึกทั้งหลาย คือ ผู้ตัดหัวใจ ชื่อว่า อุปปล-
คันธปัจจัตถิกา.

[ข้าศึกสังหารภิกษุเซ่นไหว้เทวดาเพื่อสำเร็จการงาน]


ได้ยินว่า ข้าศึกผู้ตัดหัวใจเหล่านั้น หาได้เป็นอยู่ด้วยกสิกรรม และ
พาณิชยกรรมเป็นต้นไม่ พากันทำโจรกรรมมีการปล้นคนเดินทางเป็นต้น
เลี้ยงบุตรและภรรยา. เขาเหล่านั้น เมื่อต้องการความสำเร็จแห่งการงานได้
เซ่นไหว้ต่อเหล่าเทวดาไว้ จึงได้ชำแหละหทัยของพวกมนุษย์ไป เพื่อบวงสรวง
แก่เทวดาเหล่านั้น. ก็พวกมนุษย์ เป็นผู้หาได้ยากตลอดกาลทุกเมื่อ ส่วนพวก
ภิกษุผู้พำนักอยู่ในป่า ย่อมหาได้ง่าย. เหล่านั้นจับเอาภิกษุผู้มีศีลแล้ว ได้
สำนึกอยู่ว่า ชื่อว่าการฆ่าผู้มีศีล ย่อมเป็นของหนัก เพื่อจะทำลายศีลของภิกษุ
นั้น ให้พินาศไป จึงนำมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นมา หรือนำภิกษุนั้นไปในสำนัก
ของมนุษย์ผู้หญิงเป็นต้นนั้น.
ในเรื่องว่าด้วยพระราชาผู้เป็นข้าศึกเป็นต้นนี้ มีความแปลกกันเท่านี้.
เรื่องที่เหลือพึงทราบโดยนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. และพึงทราบจตุกกะ
ทั้งหลายในวาระแม้ทั้ง 4 เหล่านี้ โดยนัยดังที่กล่าวแล้วในภิกขุปัจจัตถิกาวาระ
นั่นเอง. แต่ในพระบาลี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วโดยย่อ.

จบกถาว่าด้วยประเภทแห่งจตุกกะ โดยอาการทั้งปวง.


* ฟุตโน้ต ปฐมปาราชิกวณฺณนา หน้า 321 ว่า อุปฺปลนฺติ วุจฺจติ หทยํ หทัยเรียกว่า อุบล.