เมนู

มีวิตกเป็นต้นครอบงำ. ส่วนในตติยฌานนี้ ฌานุเบกขานี้ เกิดมีกิจปรากฏชัด
เป็นดุจยกศีรษะขึ้นได้แล้ว เพราะวิตกวิจารและปีติครอบงำไม่ได้ เพราะฉะนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสฌานุเบกขานั้นไว้แล.
การพรรณนาอรรถ โดยประการทั้งปวงแห่งบทว่า อุเปกฺขโก จ
วิหาสึ นี้ จบแล้ว.

[อธิบายลักษณะแห่งสติและสัมปชัญญะ]


บัดนี้จะวินิจฉัยในบาลีนี้ว่า สโต จ สมฺปชาโน. ชื่อว่าสโต เพราะ
อรรถว่า ระลึกได้, ชื่อว่าสัมปชาโน เพราะอรรถว่า รู้ชัดโดยชอบ สติและ
สัมปชัญญะตรัสโดยบุคคล. ในสติและสัมปชัญญะนั้น สติมีความระลึกได้เป็น
เครื่องกำหนด มีความไม่หลงลืมเป็นกิจ มีการควบคุมเป็นเหตุเครื่องปรากฏ.
สัมปชัญญะ มีความไม่หลงเป็นเครื่องกำหนด มีความพิจารณาเป็นกิจ มีความ
สอดส่องเป็นเครื่องปรากฏ. ก็สติและสัมปชัญญะนี้ พึงทราบโดยพิสดาร ตาม
นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในวรรณนาแห่งสติปัฏฐานสูตร ในอรรถกถา-
มัชฌิมนิกายนั่นแล.
บรรดาธรรมในตติยฌานนั้น สติและสัมปชัญญะนี้มีอยู่แม้ในฌาน
ก่อน ๆ โดยแท้ เพราะว่า แม้คุณชาติเพียงอุปจาร ย่อมไม่สำเร็จแก่พระโยคาวจร
ผู้มีสติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ, จะกล่าวไปไยถึงอัปปนา. ถึงกระนั้น เพราะ
ความฌานเหล่านั้นหยาบ การดำเนินไปของจิตจึงมีความสะดวก เหมือนการ
ดำเนินไปบนภาคพื้นของบุรุษฉะนั้น กิจแห่งสติและสัมปชัญญะในฌานเหล่านั้น
จึงยังไม่ปรากฏชัด. ก็เพราะความที่ฌานนี้ละเอียด เพราะละองค์ที่หยาบได้
การดำเนินไปของจิต อันกิจแห่งสติและสัมปชัญญะกำกับแล้วทีเดียว
จำปรารถนา เหมือนการเดินใกล้คมมีดโกนของบุรุษฉะนั้น เพราะเหตุนี้

จึงตรัสไว้ในตติยฌานนี้ทีเดียว. ยังมีข้อที่จะถึงกล่าวเพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อย.
นักปราชญ์พึงทราบสันนิษฐานว่า คำนี้ว่า สโต จ สมฺปชาโน ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสไว้ในตติยฌานนี้เท่านั้น ก็เพื่อแสดงเนื้อความพิเศษแม้นี้ว่า
ลูกโคที่ยังติดแม่โค ถูกพรากจากแม่โค เมื่อไม่คอยควบคุมไว้ ย่อมเข้าหา
แม่โคอีกนั่นเองฉันใด ความสุขในตติยฌานนี้ก็ฉันนั้น ถูกพรากจากปีติแล้ว
ความสุขนั้นเมื่อไม่คอยควบคุมด้วยเครื่องควบคุมคือสติและสัมปชัญญะ พึง
เข้าหาปีติอีกทีเดียว พึงเป็นสุขที่สัมปยุตด้วยปีตินั้นเอง. ถึงแม้ว่าสัตว์ทั้งหลาย
ย่อมกำหนัดนักในความสุข และความสุขนี้ก็เป็นสุขหวานยิ่งนัก เพราะไม่มี
สุขยิ่งไปกว่านั้น แต่ความไม่กำหนัดนักในความสุข ย่อมมีในตติยฌานนี้ ด้วย
อานุภาพแห่งสติและสัมปชัญญะ มิใช่มีด้วยประการอื่นดังนี้.
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทสึ
นี้ต่อไป :-
พระโยคีผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌาน ไม่มีความรำพึงในการเสวยความ
สุข แม้ก็จริง ถึงเมื่อเป็นเช่นนั้น พระโยคีนั้น แม้ออกจากฌานแล้ว ก็พึง
เสวยสุขได้ เพราะเหตุที่รูปกายของท่าน อันรูปที่ประณีตยิ่ง ซึ่งมีความสุขที่
สัมปยุตด้วยนามกายของท่าน หรือความสุขที่ประกอบนามกายนั้นเป็นสมุฏฐาน
ถูกต้อง ซึมซาบแล้ว.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น
จึงตรัสว่า สุขญฺจ กายเยน ปฏิสํเวเทสึ ดังนี้.
บัดนี้ จะวินิจฉัยในคำว่า ยนฺตํ อริยา อาจิกฺขนฺติ อุเปกฺขโก
สติมา สุขวิหารี
นี้ต่อไป :-

พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมบอก คือย่อมแสดง
ย่อมบัญญัติ ย่อมแต่งตั้ง ย่อมเปิดเผย ย่อมจำแนก ย่อมกระทำให้ตื่น,
อธิบายว่า ย่อมประกาศ คือย่อมสรรเสริญ ซึ่งบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียง
ด้วยตติยฌานนั้น เพราะเหตุแห่งฌานใด คือพระฌานใดเป็นเหตุ. ย่อม
สรรเสริญว่า อย่างไร ? ย่อมสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข
ดังนี้. เราเข้าถึงตติยฌานนั้นอยู่แล้ว, โยชนาในคำว่า ยนฺตํ อริยา เป็นดังนี้
พึงทราบดังพรรณนามาอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.
ถามว่า ก็เพราะเหตุใด พระอริยเจ้าเหล่านั้น จึงสรรเสริญบุคคล
ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌานนั้นไว้อย่างนั้น ?
แก้ว่า เพราะเป็นผู้มีความสรรเสริญ.
จริงอยู่ เพราะพระโยคีนี้ เป็นผู้มีความวางเฉยในตติยฌาน ซึ่งมี
ความสุขอันหวานใจยิ่งนัก ที่ถึงฝั่งแห่งความสุขแล้วก็ตาม หาถูกความใคร่ใน
สุขคร่าไปในตติยฌานนั้นได้ไม่ และชื่อว่าเป็นผู้มีสติเพราะเป็นผู้มีสติตั้งมั่น
โดยอาการที่ปีติจะเกิดขึ้นไม่ได้. และเพราะท่านได้เสวยความสุขอันไม่เศร้า
หมอง ที่เป็นอริยกันต์ และอันอริยชนช่องเสพแล้วนั่นเอง ด้วยนามกาย
ฉะนั้น จึงเป็นผู้ที่ควรสรรเสริญ.
พึงทราบสันนิษฐานว่า เพราะเป็นผู้ที่ควรสรรเสริญ พระอริยเจ้า
ทั้งหลาย เมื่อจะประกาศคุณที่เป็นเหตุอันควรสรรเสริญเหล่านั้น จึงสรรเสริญ
บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วยตติยฌานนั้น อย่างนี้ว่าเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ
อยู่เป็นสุข ดังพรรณนามาฉะนี้.
บทว่า ตติยํ คือเป็นที่ 3 ตามลำดับแห่งการคำนวณ. ฌานนี้
ชื่อว่าที่ 3 เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุครั้งที่ 3 ดังนี้บ้าง.

[ทุติยฌานมีองค์ 4 ตติยฌานมีองค์ 5]


ในคำว่า ฌานํ นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ทุติยฌานมีองค์ 4 ด้วย
องค์ทั้งหลายมีสัมปสาทะเป็นต้น ฉันใด. ตติยฌานนี้ก็มีองค์ 5 ด้วยองค์
ทั้งหลายมีอุเบกขาเป็นต้น ฉันนั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
ว่า อุเบกขา (ความวางเฉย) สติ (ความระลึกได้) สัมปชัญญะ (ความรู้ตัว)
สุข (ความสบายใจ) เอกัคคตาแห่งจิต (ความที่จิตมีอารมณ์เดียว) ชื่อว่า
ฌาน* ดังนี้. อันนั่น เป็นนัยทางอ้อมเท่านั้น. แต่โดยนัยทางตรง ตติยฌาน
นั้น เว้นองค์ คือ อุเบกขา สติ และสัมปชัญญะเสีย ย่อมประกอบด้วย
องค์ 2 เท่านั้น. เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ฌานมีองค์ 2 คือ
สุข และเอกัคคตาแห่งจิต มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน ? คำที่เหลือ มีนัย
ดังกล่าวมาแล้วนั้น
กถาว่าด้วยตติยฌาน จบ.
* อภิ. วิ. 35 / 351