เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลมปัจจนียะ [ติกปัฏฐาน] 3.วิปากติกะ 7.ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากโดย
อารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มิใช่ไม่เป็นวิบาก
และไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและ
ที่มิใช่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เกิด
วิบากและที่มิใช่ไม่เป็นวิบากไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและ
ที่ไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอารัมมณปัจจัย (6)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
มิใช่ไม่เป็นวิบากและไม่เป็นเหตุให้เกิดวิบากโดยอารัมมณปัจจัย ฯลฯ มี 6 วาระ (ย่อ)

[25] เหตุปัจจัย มี 13 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 18 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 17 วาระ
อนันตรปัจจัย มี 16 วาระ ฯลฯ
สหชาตปัจจัย มี 23 วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี 13 วาระ
นิสสยปัจจัย มี 26 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี 18 วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี 6 วาระ
ปัจฉาชาตปัจจัย มี 9 วาระ
อาเสวนปัจจัย มี 6 วาระ
กัมมปัจจัย มี 14 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 45 หน้า :225 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลมปัจจนียะ [ติกปัฏฐาน] 4.อุปาทินนติกะ 1.ปฏิจจวาร

วิปากปัจจัย มี 5 วาระ
อาหารปัจจัย มี 13 วาระ
อินทรียปัจจัย มี 18 วาระ
ฌานปัจจัย มี 13 วาระ
มัคคปัจจัย มี 13 วาระ
สัมปยุตตปัจจัย มี 9 วาระ ฯลฯ
วิปปยุตตปัจจัย มี 12 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 26 วาระ

(พึงขยายปัญหาวารให้พิสดาร)

4. อุปาทินนติกะ 1. ปฏิจจวาร
ปัจจยจตุกกนัย-เหตุปัจจัย
[26] สภาวธรรมที่ไม่ใช่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
สภาวธรรมที่มิใช่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
สภาวธรรมที่มิใช่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
สภาวธรรมที่มิใช่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นอารมณ์
ของอุปาทานและที่ไม่ใช่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็น
อารมณ์ของอุปาทานเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 45 หน้า :226 }