เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกทุกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 1. เหตุทุกะ
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือเป็นอารมณ์ของ
อุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
เป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (1)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 44 หน้า :496 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกทุกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 1. เหตุทุกะ
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
แต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานและที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือไม่เป็น
อารมณ์ของอุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (1)
[60] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิ
ยึดถือและเป็นอารมณ์ของอุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่
ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของอุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุอาศัยสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทานซึ่งไม่เป็นเหตุเกิดขึ้นเพราะอารัมมณปัจจัย (1) (ย่อ)

[61] เหตุปัจจัย มี 9 วาระ
อารัมมณปัจจัย มี 3 วาระ
อธิปติปัจจัย มี 5 วาระ
อนันตรปัจจัย มี 3 วาระ
สมนันตรปัจจัย มี 3 วาระ
สหชาตปัจจัย มี 9 วาระ
อัญญมัญญปัจจัย มี 3 วาระ
นิสสยปัจจัย มี 9 วาระ
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ
ปุเรชาตปัจจัย มี 3 วาระ
อาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ
กัมมปัจจัย มี 9 วาระ
วิปากปัจจัย มี 9 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 9 วาระ (ย่อ)


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 44 หน้า :497 }