เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 58. จิตตสัมปยุตตทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
สัมปยุตด้วยจิตโดยอินทรียปัจจัย ได้แก่ จักขุนทรีย์และอุเปกขินทรีย์เป็นปัจจัยแก่
ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณโดยอินทรียปัจจัย ฯลฯ กายินทรีย์และสุขินทรีย์
ฯลฯ กายินทรีย์และทุกขินทรีย์เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณโดย
อินทรียปัจจัย (1)
... เป็นปัจจัยโดยฌานปัจจัย มี 3 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยมัคคปัจจัย มี 3 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยสัมปยุตตปัจจัย มี 1 วาระ

วิปปยุตตปัจจัย
[175] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจาก
จิตโดยวิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตโดย
วิปปยุตตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วย
จิตโดยวิปปยุตตปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณโดย
วิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุต
ด้วยจิตโดยวิปปยุตตปัจจัย (1)

อัตถิปัจจัย
[176] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วย
จิตโดยอัตถิปัจจัย มี 1 วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร) (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตโดย
อัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปัจฉาชาตะ (ย่อ) (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :98 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 58. จิตตสัมปยุตตทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่
วิปปยุตจากจิตโดยอัตถิปัจจัย (เหมือนกับปฏิจจวาร) (3)
[177] สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิต
โดยอัตถิปัจจัย มี 3 อย่าง คือ สหชาตะ อาหาระ และอินทรียะ (ย่อ) (1)
สภาวธรรมที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตโดย
อัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต
โดยอัตถิปัจจัย
ปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง
ฯลฯ (ปัจจัยนี้เหมือนกับปุเรชาตปัจจัย) (2)
[178] สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาว-
ธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตโดยอัตถิปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและปุเรชาตะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณและจักขายตนะเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ฯลฯ ขันธ์ 1 ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณและกายายตนะเป็น
ปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ฯลฯ ขันธ์ 1 ที่สัมปยุตด้วยจิตและหทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2
ฯลฯ ขันธ์ 2 ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)
สภาวธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตและที่วิปปยุตจากจิตเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่
วิปปยุตจากจิตโดยอัตถิปัจจัย มี 4 อย่าง คือ สหชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และอินทรียะ
สหชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิตและมหาภูตรูปเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิตและกวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่
กายนี้โดยอัตถิปัจจัย
ปัจฉาชาตะ ได้แก่ ขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิตและรูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่
กฏัตตารูปโดยอัตถิปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :99 }