เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 57. เจตสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยอุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะและจิต
แล้วให้ทาน ฯลฯ ทําลายสงฆ์ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะและจิตเป็น
ปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย
... ทุกข์ทางกาย ... มรรคและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ
ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยอุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะและจิต
แล้วให้ทาน ฯลฯ (มี 3 วาระ เหมือนกับข้อความตอนต้น ไม่มีข้อแตกต่างกัน)
สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ

ปุเรชาตปัจจัย
[129] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็น
ต้นนั้น จิตจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่
กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดยปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :72 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 57. เจตสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็นสภาวะ
ไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสต-
ธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ
ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเจตสิกโดยปุเรชาต-
ปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็น
เจตสิกโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุ
เป็นต้นนั้น จิตและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียง
ด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์
ฯลฯ กายายตนะ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตและสัมปยุตตขันธ์โดยปุเรชาต-
ปัจจัย (3)

ปัจฉาชาตปัจจัยและอาเสวนปัจจัย
[130] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกโดย
ปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกโดยปัจฉาชาต-
ปัจจัย (ย่อ)
สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็น
เจตสิกโดยปัจฉาชาตปัจจัย (ย่อ)
สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดยอาเสวน-
ปัจจัย (ย่อ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :73 }