เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 57. เจตสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
[126] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จิตที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดยอนันตรปัจจัย
(โดยนัยนี้พึงเพิ่มเป็น 3 วาระ เหมือนกับข้อความตอนต้น พึงเพิ่มให้บริบูรณ์ ไม่มี
ข้อแตกต่างกัน)
สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก
โดยอนันตรปัจจัย มี 3 วาระ (ไม่มีอาวัชชนจิตและวุฏฐานะ)
เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย มี 9 วาระ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย
มี 9 วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ
(เหมือนกับปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ (เหมือนกับปัจจยวาร)

อุปนิสสยปัจจัย
[127] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเจตสิกโดย
อุปนิสสยปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล อุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ) ขันธ์ที่เป็น
เจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล อุปนิสสยปัจจัย
มี 3 วาระ) ขันธ์ที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเจตสิกและจิตโดย
อุปนิสสยปัจจัย (3)
[128] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :71 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 57. เจตสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยอุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะและจิต
แล้วให้ทาน ฯลฯ ทําลายสงฆ์ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะและจิตเป็น
ปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย
... ทุกข์ทางกาย ... มรรคและผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ
ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยอุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะและจิต
แล้วให้ทาน ฯลฯ (มี 3 วาระ เหมือนกับข้อความตอนต้น ไม่มีข้อแตกต่างกัน)
สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ

ปุเรชาตปัจจัย
[129] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็น
ต้นนั้น จิตจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ
รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่
กายวิญญาณ ฯลฯ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่จิตโดยปุเรชาตปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดยปุเรชาตปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :72 }