เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 57. เจตสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
เพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่ไม่เป็นเจตสิกให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยอธิปติปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็น
เจตสิกโดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพาน ฯลฯ
(เหมือนกับข้อความตอนต้น) บุคคลยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่เป็นเจตสิกให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ขันธ์ที่เป็นเจตสิกและจิตจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก
โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ มี 3 วาระ (มีเฉพาะ
อารัมมณาธิปติปัจจัย)

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[125] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเจตสิกซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
เจตสิกซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) ขันธ์ที่เป็นเจตสิกซึ่ง
เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
ขันธ์ที่เป็นเจตสิกซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเจตสิกและจิตที่เกิดหลัง ๆ
โดยอนันตรปัจจัย (3)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :70 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 57. เจตสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
[126] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ จิตที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่จิตที่เกิดหลัง ๆ โดย
อนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดยอนันตรปัจจัย
(โดยนัยนี้พึงเพิ่มเป็น 3 วาระ เหมือนกับข้อความตอนต้น พึงเพิ่มให้บริบูรณ์ ไม่มี
ข้อแตกต่างกัน)
สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิก
โดยอนันตรปัจจัย มี 3 วาระ (ไม่มีอาวัชชนจิตและวุฏฐานะ)
เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย มี 9 วาระ เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย
มี 9 วาระ (เหมือนกับปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี 9 วาระ
(เหมือนกับปฏิจจวาร) เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี 9 วาระ (เหมือนกับปัจจยวาร)

อุปนิสสยปัจจัย
[127] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเจตสิกโดย
อุปนิสสยปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล อุปนิสสยปัจจัย มี 3 วาระ) ขันธ์ที่เป็น
เจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล อุปนิสสยปัจจัย
มี 3 วาระ) ขันธ์ที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นเจตสิกและจิตโดย
อุปนิสสยปัจจัย (3)
[128] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :71 }