เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 57. เจตสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่เป็นเจตสิกให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ขันธ์ที่เป็นเจตสิกจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
โดยอธิปติปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่เป็นเจตสิกให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น จิตจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตและ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (พึงอ้างบทที่เป็นมูล)
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่เป็นเจตสิกให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ขันธ์ที่เป็นเจตสิกและจิตจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
จิต และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[124] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพาน
ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผล
โดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่ไม่เป็น
เจตสิกให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้น
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น จิตจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตและจิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพานให้
เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ (เหมือนกับข้อความตอนต้น) บุคคลยินดี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :69 }