เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 57. เจตสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกโดยเหตุปัจจัย
ได้แก่ เหตุที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตและจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (2)
สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็น
เจตสิกโดยเหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ จิต และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (3)

อารัมมณปัจจัย
[120] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่เป็นเจตสิก ขันธ์ที่เป็นเจตสิกจึงเกิดขึ้น
(พึงอ้างบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่เป็นเจตสิก จิตจึงเกิดขึ้น (พึงอ้างบทที่
เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่เป็นเจตสิก ขันธ์ที่เป็นเจตสิกและจิตจึงเกิดขึ้น (3)
[121] สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิก
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณาผล พิจารณา
นิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดย
อารัมมณปัจจัย บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่ไม่เป็นเจตสิก
โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลิน
จักษุเป็นต้นนั้น จิตจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสต-
ธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่เป็นเจตสิกด้วยเจโตปริยญาณ
อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่
จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่
เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดยอารัมมณ-
ปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพาน (เหมือนกับข้อความ
ตอนต้น) บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุและขันธ์ที่ไม่เป็นเจตสิกโดยเป็นสภาวะ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :67 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 57. เจตสิกทุกะ 7. ปัญหาวาร
ไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพ-
โสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่เป็นเจตสิกด้วยเจโตปริยญาณ
อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่สหรคตด้วยกายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัย
แก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และ
อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็น
เจตสิกโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรค ฯลฯ พิจารณานิพพาน
(เหมือนกับข้อความตอนต้น) บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่ไม่เป็น
เจตสิกโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น จิตและสัมปยุตตขันธ์จึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วย
ทิพพจักขุ ฯลฯ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณและสัมปยุตตขันธ์โดย
อารัมมณปัจจัย ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณและสัมปยุตต-
ขันธ์ ฯลฯ ขันธ์ ที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (3)
[122] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกและที่ไม่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่เป็นเจตสิกโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่เป็นเจตสิกและจิต ขันธ์
ที่เป็นเจตสิกจึงเกิดขึ้น (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่เป็นเจตสิกและจิต
จิตจึงเกิดขึ้น (พึงอ้างบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่เป็นเจตสิกและจิต ขันธ์ที่เป็น
เจตสิกและจิตจึงเกิดขึ้น (3)

อธิปติปัจจัย
[123] สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นเจตสิกโดย
อธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :68 }