เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 98. นิยตทุกะ 7. ปัญหาวาร
อุปนิสสยปัจจัย
[335] สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอน
โดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ มาตุฆาตกรรมเป็น
ปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ปิตุฆาตกรรม อรหันตฆาตกรรม โรหิตุปปาทกรรม
สังฆเภทกรรม และนิยตมิจฉาทิฏฐิโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย)
ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ฯลฯ ทุติยมรรคเป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ฯลฯ
ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการ
ทั้งสองนั้นโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลปลงชีวิตมารดาแล้ว ฯลฯ ทําลายสงฆ์
ประสงค์จะลบล้างกรรมชั่วนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ พระอริยะ
อาศัยมรรคแล้ว ทําสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
เป็นปัจจัยแก่ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย มรรคเป็น
ปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
[336] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ
อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ให้ผลไม่แน่นอนแล้ว ให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ ทําฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ
สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ให้ผลไม่แน่นอน ฯลฯ ปัญญา ...
ราคะ ... ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้ว
ให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ฯลฯ ศรัทธาที่
ให้ผลไม่แน่นอน ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ให้ผลไม่แน่นอน ฯลฯ
ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :626 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 98. นิยตทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ให้ผล
แน่นอนโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยราคะที่ให้ผลไม่แน่นอนแล้ว ปลงชีวิตมารดา
ฯลฯ ทําลายสงฆ์อาศัยโทมนัสที่ให้ผลไม่แน่นอน ฯลฯ เสนาสนะแล้วปลงชีวิตมารดา
ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ราคะที่ให้ผลไม่แน่นอน โทมนัส ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่
มาตุฆาตกรรม ฯลฯ สังฆเภทกรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมปฐมมรรคเป็น
ปัจจัยแก่ปฐมมรรค ฯลฯ บริกรรมจตุตถมรรค เป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดย
อุปนิสสยปัจจัย (2)

ปุเรชาตปัจจัยเป็นต้น
[337] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณ-
ปุเรชาตะ และวัตถุปุเรชาตะ (ย่อ)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ให้ผล
แน่นอนโดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม
ปิตุฆาตกรรม อรหันตฆาตกรรม โรหิตุปปาทกรรมโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ให้ผลแน่นอนโดย
ปุเรชาตปัจจัย (2)

... เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย มี 2 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ

กัมมปัจจัย
[338] สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอน
โดยกัมมปัจจัย ได้แก่ เจตนาที่ให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
กัมมปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :627 }