เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 98. นิยตทุกะ 7. ปัญหาวาร
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ให้ผลไม่แน่นอนเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ให้
ผลแน่นอนโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ นิพพานเป็น
ปัจจัยแก่มรรคโดยอธิปติปัจจัย (2)

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[334] สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองนั้นโดย อนันตรปัจจัย ได้แก่ มรรคเป็นปัจจัยแก่ผลโดยอนันตรปัจจัย
ขันธ์ที่ให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะโดยอนันตรปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่
นอนโดยอาการทั้งสองนั้นโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ให้ผลไม่แน่นอนซึ่งเกิด
ก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ให้ผลไม่แน่นอนซึ่งเกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน ผลเป็นปัจจัยแก่ผล
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติ เนวสัญญานาสัญญายตนะของท่านผู้ออกจากนิโรธ
เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ให้
ผลแน่นอนโดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ โทมนัสที่ให้ผลไม่แน่นอนเป็นปัจจัยแก่โทมนัส
ที่ให้ผลแน่นอน มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลไม่แน่นอนเป็นปัจจัยแก่มิจฉาทิฏฐิที่ให้ผลแน่
นอนโดยอนันตรปัจจัย โคตรภูเป็นปัจจัยแก่มรรค โวทานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดย
อนันตรปัจจัย (2)

... เป็นปัจจัยโดยสมนันตรปัจจัย
... เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย มี 5 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :625 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 98. นิยตทุกะ 7. ปัญหาวาร
อุปนิสสยปัจจัย
[335] สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอน
โดยอุปนิสสยปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ มาตุฆาตกรรมเป็น
ปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ปิตุฆาตกรรม อรหันตฆาตกรรม โรหิตุปปาทกรรม
สังฆเภทกรรม และนิยตมิจฉาทิฏฐิโดยอุปนิสสยปัจจัย (พึงผูกเป็นจักกนัย)
ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ฯลฯ ทุติยมรรคเป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ฯลฯ
ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย
สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการ
ทั้งสองนั้นโดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ
และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลปลงชีวิตมารดาแล้ว ฯลฯ ทําลายสงฆ์
ประสงค์จะลบล้างกรรมชั่วนั้น จึงให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ พระอริยะ
อาศัยมรรคแล้ว ทําสมาบัติที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เข้าสมาบัติที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ
เป็นปัจจัยแก่ความเป็นผู้ฉลาดในฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย มรรคเป็น
ปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
[336] สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรม
ที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ
อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ให้ผลไม่แน่นอนแล้ว ให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ ทําฌาน ฯลฯ วิปัสสนา ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ
สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ให้ผลไม่แน่นอน ฯลฯ ปัญญา ...
ราคะ ... ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ฯลฯ เสนาสนะแล้ว
ให้ทาน ฯลฯ ทําสมาบัติให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ฆ่าชาวนิคม ฯลฯ ศรัทธาที่
ให้ผลไม่แน่นอน ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ให้ผลไม่แน่นอน ฯลฯ
ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย และผลสมาบัติโดย
อุปนิสสยปัจจัย (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :626 }