เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 98. นิยตทุกะ 7. ปัญหาวาร
4. ปัจจยปัจจนียานุโลม

[328] อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี 3 วาระ
อธิปติปัจจัย ” มี 5 วาระ

(พึงขยายบทอนุโลมมาติกาให้พิสดาร) ฯลฯ

อวิคตปัจจัย ” มี 7 วาระ

นิยยานิกทุกะ จบ

98. นิยตทุกะ 1 - 6. ปฏิจจวารเป็นต้น
[329] สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอนอาศัยสภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอนเกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 อาศัยขันธ์ 1 ที่ให้ผลแน่นอนเกิดขึ้น ฯลฯ
อาศัยขันธ์ 2 ฯลฯ
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้นอาศัยสภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอน
เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ จิตตสมุฏฐานรูปอาศัยขันธ์ที่ให้ผลแน่นอนเกิดขึ้น (ย่อ
พึงทําเป็น 5 วาระ ปฏิจจวาร สหชาตวาร ปัจจยวาร นิสสยวาร สังสัฏฐวาร
และสัมยุตตวาร พึงทําเหมือนนิยยานิกทุกะ ไม่มีข้อแตกต่างกัน การระบุข้อความ
แตกต่างกัน)

98. นิยตทุกะ 7. ปัญหาวาร
1. ปัจจยานุโลม 1. วิภังควาร
เหตุปัจจัย
[330] สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอน
โดยเหตุปัจจัย มี 4 วาระ (เหมือนกับนิยยานิกทุกะ ไม่มีข้อแตกต่างกัน)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :622 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 98. นิยตทุกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณปัจจัย
[331] สภาวธรรมที่ให้ผลแน่นอนเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดย
อาการทั้งสองนั้น โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ พระอริยะออกจากมรรคแล้ว
พิจารณามรรค พิจารณากิเลสที่ให้ผลแน่นอนซึ่งละได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ
บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่ให้ผลแน่นอนโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ รู้จิตของบุคคลผู้มี
ความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ให้ผลแน่นอนด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์ที่ให้ผลแน่นอนเป็น
ปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังส-
ญาณและอาวัชชนจิต โดยอารัมมณปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่แน่นอน
โดยอาการทั้งสองนั้น โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษา
อุโบสถ ฯลฯ พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌานแล้วพิจารณาฌาน
ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินฌานนั้น ราคะที่ให้ผลไม่แน่
นอนจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ วิจิกิจฉา ฯลฯ อุทธัจจะ ฯลฯ โทมนัสที่ให้ผลไม่
แน่นอนจึงเกิดขึ้น พระอริยะพิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่
โคตรภู โวทาน ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะพิจารณากิเลส
ที่ให้ผลไม่แน่นอนซึ่งละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ
บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่ให้ผลไม่แน่นอนโดยเป็นสภาวะไม่
เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความ ยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น
ราคะ ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่
อาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมที่ไม่แน่นอนโดยอาการทั้งสองนั้น เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ให้ผล
แน่นอนโดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคโดยอารัมมณปัจจัย
รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่มาตุฆาตกรรม ปิตุฆาตกรรม อรหันตฆาตกรรม และ
โรหิตุปปาทกรรมโดยอารัมมณปัจจัย ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอนของ
บุคคลผู้ยึดมั่นหทัยวัตถุใดเกิดขึ้น หทัยวัตถุนั้นเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่มีสภาวะผิดและ
ให้ผลแน่นอนโดยอารัมมณปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :623 }