เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 95. อรูปาวจรทุกะ 7. ปัญหาวาร
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เหตุที่เป็นอรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เหตุที่เป็นอรูปาวจรเป็น
ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยเหตุปัจจัย (3)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจรโดย
เหตุปัจจัย ได้แก่ เหตุที่ไม่เป็นอรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สัปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูป
โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ (1)

อารัมมณปัจจัย
[280] สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร
โดยอารัมมณปัจจัย ได้แก่ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ
โดยอารัมมณปัจจัย อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดย
อารัมมณปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจรโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลพิจารณาอากาสานัญจายตนะ พิจารณาวิญญาณัญ-
จายตนะ พิจารณาอากิญจัญญายตนะ พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ
เห็นแจ้งขันธ์ที่เป็นอรูปาวจรโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น
บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่เป็นอรูปาวจรด้วยเจโตปริยญาณ
ขันธ์ที่เป็นอรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (2)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร เป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจรโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว พิจารณา
กุศลนั้น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้น ราคะ ฯลฯ
โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลพิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้ว ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ
พระอริยะออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน
นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผล และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย
พระอริยะพิจารณากิเลสที่ละได้แล้ว พิจารณากิเลสที่ข่มได้แล้ว ฯลฯ รู้กิเลสที่เคย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :592 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 95. อรูปาวจรทุกะ 7. ปัญหาวาร
เกิดขึ้น ฯลฯ เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ และขันธ์ที่ไม่เป็นอรูปาวจร โดย
เป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียง
ด้วยทิพพโสตธาตุ รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่เป็นอรูปาวจร
ด้วยเจโตปริยญาณ รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ ขันธ์ที่ไม่เป็นอรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ
เจโตปริยญาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ยถากัมมูปคญาณ อนาคตังสญาณ
และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย (1)

อธิปติปัจจัย
[281] สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจร
โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอรูปาวจร
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นอรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจรโดย
อธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลพิจารณาอากาสานัญจายตนะให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่เป็นอรูปาวจรให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความ
ยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นอรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยอธิปติปัจจัย (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) อธิบดีธรรมที่เป็นอรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่
สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[282] สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นอรูปาวจร
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทำความ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :593 }