เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 94. รูปาวจรทุกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นรูปาวจรแล้ว ให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําฌานที่เป็นรูปาวจร ฯลฯ ทำวิปัสสนา ฯลฯ มรรค
ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่เป็นรูปาวจร
ฯลฯ ปัญญาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ ศรัทธาที่เป็นรูปาวจร ฯลฯ
ปัญญาเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ไม่เป็นรูปาวจร ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ
ความปรารถนา ... สุขทางกาย ... ทุกข์ทางกาย ... มรรคและผลสมาบัติโดย
อุปนิสสยปัจจัย (2)
[253] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่เป็นรูปาวจรแล้วให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ทําฌานที่ไม่เป็นรูปาวจร ฯลฯ ทำวิปัสสนา ฯลฯ มรรค
ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีลที่ไม่เป็นรูปาวจร
ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ มีมานะ ถือทิฏฐิ ศรัทธาที่ไม่
เป็นรูปาวจร ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ไม่เป็นรูปาวจร ฯลฯ ปัญญา
ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ มรรค
และผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะและปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่เป็นรูปาวจรแล้วทําฌานที่เป็น
รูปาวจร ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยศีลที่ไม่เป็นรูปาวจร ฯลฯ
เสนาสนะแล้วทําฌานที่เป็นรูปาวจร ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น
ศรัทธาที่ไม่เป็นรูปาวจร ฯลฯ เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นรูปาวจร ฯลฯ
ปัญญาโดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌานโดยอุปนิสสย-
ปัจจัย ฯลฯ บริกรรมจตุตถฌาน ฯลฯ ทิพพจักขุ ฯลฯ ทิพพโสตธาตุ ฯลฯ
อิทธิวิธญาณ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ
ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ บริกรรมอนาคตังสญาณเป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณโดย
อุปนิสสยปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :575 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 94. รูปาวจรทุกะ 7. ปัญหาวาร
ปุเรชาตปัจจัยเป็นต้น
[254] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุโดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณโดยปุเรชาตปัจจัย
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ จักขายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ กายายตนะ
เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปาวจรโดย
ปุเรชาตปัจจัย
สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรโดยปุเรชาต-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วย
ทิพพโสตธาตุ
วัตถุปุเรชาตะ ได้แก่ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นรูปาวจรโดยปุเรชาต-
ปัจจัย (2)

... เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย มี 2 วาระ
... เป็นปัจจัยโดยอาเสวนปัจจัย มี 3 วาระ

กัมมปัจจัยเป็นต้น
[255] สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรโดย
กัมมปัจจัย มี 2 อย่าง คือ สหชาตะและนานาขณิกะ
สหชาตะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยกัมมปัจจัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ
นานาขณิกะ ได้แก่ เจตนาที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นวิบากซึ่งเป็น
รูปาวจรโดยกัมมปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :576 }