เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 94. รูปาวจรทุกะ 7. ปัญหาวาร
รู้จิตของบุคคลผู้มีความพรั่งพร้อมด้วยจิตที่ไม่เป็นรูปาวจรด้วยเจโตปริยญาณ ขันธ์
ที่ไม่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ เจโตปริยาณ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ
ยถากัมมูปคญาณ และอนาคตังสญาณโดยอารัมมณปัจจัย (2)

อธิปติปัจจัย
[248] สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรโดย
อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นรูปาวจร
เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดยอธิปติปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจรโดยอธิปติ-
ปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลพิจารณาปฐมฌานให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินฌานนั้นให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ บุคคลพิจารณาจตุตถฌาน ฯลฯ
ทิพพจักขุ ฯลฯ ทิพพโสตธาตุ ฯลฯ อิทธิวิธญาณ ฯลฯ เจโตปริยญาณ ฯลฯ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ อนาคตังสญาณให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินจตุตถฌาน
เป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน
ขันธ์ที่เป็นรูปาวจรให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินขันธ์
นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป
โดยอธิปติปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรและที่ไม่เป็น
รูปาวจรโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่
เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[249] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :572 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 94. รูปาวจรทุกะ 7. ปัญหาวาร
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถแล้ว
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะทำความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น พระอริยะออกจากมรรคแล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น พิจารณาผล ฯลฯ พิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดี
เพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ ทหัยวัตถุ และขันธ์ที่ไม่เป็นรูปาวจรให้เป็นอารมณ์อย่าง
หนักแน่น เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น บุคคลพิจารณาอากาสานัญจายตนะให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ฯลฯ พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[250] สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรโดย
อนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นรูปาวจรซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็น
รูปาวจรซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย
สภาวธรรมที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจรโดยอนันตร-
ปัจจัย ได้แก่ จุติจิตที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่ไม่เป็นรูปาวจรโดย
อนันตรปัจจัย ภวังคจิตที่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่อาวัชชนจิต ขันธ์ที่เป็น
รูปาวจรเป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่ไม่เป็นรูปาวจรโดยอนันตรปัจจัย (2)
[251] สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปาวจร
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่ไม่เป็นรูปาวจรซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
ไม่เป็นรูปาวจรซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ
เนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติโดยอนันตรปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :573 }