เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 93. กามาวจรทุกะ 7. ปัญหาวาร
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นกามาวจรแล้วให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ ทําวิปัสสนาให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัยศีล
ที่เป็นกามาวจร ฯลฯ ปัญญา ฯลฯ ราคะ ฯลฯ ความปรารถนา ฯลฯ สุขทางกาย
ฯลฯ ทุกข์ทางกาย ฯลฯ อุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะแล้วให้ทาน ฯลฯ
ทําวิปัสสนาให้เกิดขึ้น ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทําลายสงฆ์ ศรัทธาที่เป็นกามาวจร ฯลฯ
เสนาสนะเป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นกามาวจร ฯลฯ ความปรารถนา ... สุขทางกาย
และทุกข์ทางกายโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจรโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ และปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่เป็นกามาวจรแล้วทําฌานที่ไม่เป็น
กามาวจรให้เกิดขึ้น ทำมรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยศีล
ที่เป็นกามาวจร ฯลฯ เสนาสนะแล้วทําฌานที่ไม่เป็นกามาวจรให้เกิดขึ้น ทำมรรค
ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่เป็นกามาวจร ฯลฯ เสนาสนะ
เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่ไม่เป็นกามาวจร ฯลฯ ปัญญา ... มรรค และผลสมาบัติ
โดยอุปนิสสยปัจจัย บริกรรมปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ปฐมฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน
ฯลฯ อากาสานัญจายตนะ ฯลฯ ปฐมมรรค ฯลฯ บริกรรมจตุตถมรรคเป็น
ปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย (2)
[214] สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร
โดยอุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่เป็นกามาวจรแล้วทําฌานให้
เกิดขึ้น ทำมรรค ฯลฯ อภิญญา ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น อาศัยศีลที่ไม่เป็นกามาวจร
ฯลฯ ปัญญาแล้วทําฌานที่ไม่เป็นกามาวจรให้เกิดขึ้น ฯลฯ ทำมรรค ฯลฯ อภิญญา
ฯลฯ สมาบัติให้เกิดขึ้น ศรัทธาที่ไม่เป็นกามาวจร ฯลฯ ปัญญาเป็นปัจจัยแก่
ศรัทธาที่ไม่เป็นกามาวจร ฯลฯ ปัญญา ... มรรค และผลสมาบัติ โดยอุปนิสสย-
ปัจจัย ปฐมฌานเป็นปัจจัยแก่ทุติยฌานโดยอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :550 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 93. กามาวจรทุกะ 7. ปัญหาวาร
จตุตถฌาน ฯลฯ อากาสานัญจายตนะเป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ
อากิญจัญญายตนะเป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะโดยอุปนิสสยปัจจัย
ปฐมมรรคเป็นปัจจัยแก่ทุติยมรรค ฯลฯ ทุติยมรรคเป็นปัจจัยแก่ตติยมรรค ฯลฯ
ตติยมรรคเป็นปัจจัยแก่จตุตถมรรคโดยอุปนิสสยปัจจัย มรรคเป็นปัจจัยแก่
ผลสมาบัติโดยอุปนิสสยปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกามาวจรโดย
อุปนิสสยปัจจัย มี 3 อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ
ปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลอาศัยศรัทธาที่ไม่เป็นกามาวจรแล้ว ให้ทาน
สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ ทําวิปัสสนาให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ อาศัย
ศีลที่ไม่เป็นกามาวจร ฯลฯ ปัญญาแล้ว ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
ทําวิปัสสนาให้เกิดขึ้น มีมานะ ถือทิฏฐิ ศรัทธาที่ไม่เป็นกามาวจร ฯลฯ ปัญญา
เป็นปัจจัยแก่ศรัทธาที่เป็นกามาวจร ฯลฯ ปัญญา ... ราคะ ... ความปรารถนา ...
สุขทางกาย และทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย พระอริยะอาศัยมรรคแล้วเห็น
แจ้งสังขารโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ มรรคของพระอริยะเป็นปัจจัยแก่อัตถปฏิสัมภิทา
ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา และความเป็นผู้ฉลาดใน
ฐานะและมิใช่ฐานะโดยอุปนิสสยปัจจัย ผลสมาบัติเป็นปัจจัยแก่สุขทางกายโดย
อุปนิสสยปัจจัย (2)

ปุเรชาตปัจจัยเป็นต้น
[215] สภาวธรรมที่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร
โดยปุเรชาตปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาตะและวัตถุปุเรชาตะ
อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่ บุคคลเห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยเป็น
สภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึงเกิดขึ้น รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ
โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :551 }