เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 93. กามาวจรทุกะ 7. ปัญหาวาร
นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน และอาวัชชนจิตโดยอารัมมณปัจจัย
บุคคลพิจารณาอากาสานัญจายตนะ พิจารณาวิญญาณัญจายตนะ พิจารณา
อากิญจัญญายตนะ พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ พิจารณาทิพพจักขุ
พิจารณาทิพพโสตธาตุ พิจารณาอิทธิวิธญาณ พิจารณาเจโตปริยญาณ ฯลฯ
ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมูปคญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณ
บุคคลเห็นแจ้งขันธ์ที่ไม่เป็นกามาวจรโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัสจึง
เกิดขึ้น (2)

อธิปติปัจจัย
[209] สภาวธรรมที่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ฯลฯ
พิจารณากุศลที่เคยสั่งสมไว้ดีแล้วให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น พระเสขะพิจารณาโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณา
โวทาน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ
และขันธ์ที่เป็นกามาวจรให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทําความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ
จึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์
และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
[210] สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจร
โดยอธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ และสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ นิพพานเป็นปัจจัยแก่มรรคและผลโดยอธิปติปัจจัย
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต-
ขันธ์โดยอธิปติปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :547 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 93. กามาวจรทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกามาวจรโดย
อธิปติปัจจัย มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลออกจากฌานแล้วพิจารณาฌานให้เป็นอารมณ์
อย่างหนักแน่น ยินดีเพลิดเพลิน เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินฌานนั้นให้เป็น
อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น พระอริยะออกจากมรรค
แล้วพิจารณามรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาผล ฯลฯ พิจารณา
นิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู และโวทาน
โดยอธิปติปัจจัย บุคคลพิจารณาอากาสานัญจายตนะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
พิจารณาวิญญาณัญจายตนะ ฯลฯ อากิญจัญญายตนะ ฯลฯ เนวสัญญานา-
สัญญายตนะให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น พิจารณาทิพพจักขุ ฯลฯ ทิพพโสตธาตุ
ฯลฯ อิทธิวิธญาณ ฯลฯ อนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น บุคคล
ยินดีเพลิดเพลินขันธ์ที่ไม่เป็นกามาวจรให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เพราะทํา
ความยินดีเพลิดเพลินขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิ
จึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยแก่จิตต-
สมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย
สภาวธรรมที่ไม่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกามาวจรและที่ไม่
เป็นกามาวจรโดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรม
ที่ไม่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)

อนันตรปัจจัยเป็นต้น
[211] สภาวธรรมที่เป็นกามาวจรเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่เป็นกามาวจร
โดยอนันตรปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ที่เป็นกามาวจรซึ่งเกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่
เป็นกามาวจรซึ่งเกิดหลัง ๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โคตรภู
อนุโลมเป็นปัจจัยแก่โวทาน อาวัชชนจิตเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ที่เป็นกามาวจรโดย
อนันตรปัจจัย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :548 }